เมษายน SMEs ส่งออกขาดดุลเฉียด 5 หมื่นล้าน

นายชาวันย์ สวัสดิ์-ชูโต รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยถึงสถานการณ์ SMEs ประจำเดือนเมษายน 2556 ว่า ในด้านการส่งออกและนำเข้าของ SMEs พบว่า ขาดดุลการค้าคิดเป็นมูลค่า 49,609.02 ล้านบาท เช่นเดียวกับเดือนมีนาคม 2556 ที่ขาดดุลการค้าคิดเป็นมูลค่า 30,789.31 ล้านบาท

 


นายชาวันย์ สวัสดิ์-ชูโต รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยถึงสถานการณ์ SMEs ประจำเดือนเมษายน 2556 ว่า ในด้านการส่งออกและนำเข้าของ SMEs พบว่า ขาดดุลการค้าคิดเป็นมูลค่า 49,609.02 ล้านบาท เช่นเดียวกับเดือนมีนาคม 2556 ที่ขาดดุลการค้าคิดเป็นมูลค่า 30,789.31 ล้านบาท 

โดยตัวเลขการส่งออกของ SMEs มีมูลค่า 140,196.35 ล้านบาท หดตัวลงเล็กน้อยจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.78 และหดตัวลงจากเดือนมีนาคมที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 16.7 ซึ่งการส่งออกของ SMEs คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 27.70 ต่อการส่งออกรวมของประเทศ สำหรับตลาดหลักในการส่งออกของ SMEs ได้แก่ จีน รองลงมาคือ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ส่วนตลาดสำคัญที่มีการขยายตัวของการส่งออกสูง ได้แก่ ออสเตรเลีย พม่า และเวียดนาม สินค้าสำคัญที่มีการขยายตัวของการส่งออกสูง ได้แก่ พลาสติกและของที่ทำด้วยพลาสติก อัญมณีและเครื่องประดับ ยางและของที่ทำด้วยยาง 

ส่วนการนำเข้าของ SMEs มีมูลค่า 189,805.37 ล้านบาท หดตัวลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.17 และหดตัวลงจากเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 16.7  โดยมูลค่าการนำเข้าของ SMEs คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 29.90 ของมูลค่าการนำเข้ารวมทั้งประเทศ ตลาดที่ SMEs ไทย มีการนำเข้าสินค้ามากที่สุด คือ จีน รองลงมาคือ ญี่ปุ่น สวิตเซอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา และมาเลเซีย ตามลำดับ สินค้าที่นำเข้ามากที่สุด คือ อัญมณีและเครื่องประดับ รองลงมาคือ เครื่องจักร คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ อุปกรณ์ไฟฟ้าและส่วนประกอบ เหล็กและเหล็กกล้า พลาสติกและของที่ทำด้วยพลาสติก ตามลำดับ 

ในด้านการจัดตั้งและยกเลิกกิจการของ SMEs ในเดือนเมษายน 2556 พบว่า มีกิจการที่จดทะเบียนจัดตั้งใหม่ จำนวนทั้งสิ้น 4,781 ราย ขยายตัวจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 18 แต่หดตัวจากเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 16 ประเภทกิจการที่มีการจัดตั้งสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ก่อสร้างอาคารทั่วไป บริการนันทนาการ และอสังหาริมทรัพย์ 

ส่วนการยกเลิกกิจการ มีจำนวนทั้งสิ้น 697 ราย หดตัวลงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นร้อยละ 12 และหดตัวลงจากเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 16 ประเภทกิจการที่มีการยกเลิกมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ หมวดก่อสร้างอาคารทั่วไป บริการนันทนาการ และอสังหาริมทรัพย์ 

NEWS & TRENDS