ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่องความเสี่ยงของคนกรุงเทพฯ ท่ามกลางปัญหาเศรษฐกิจ การเมือง และการก่อการร้าย"พบว่า ความเสี่ยงของคนกรุงเทพฯ ในภาพรวม มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 6.13 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการสำรวจเมื่อเดือนกรกฎาคม 2555 (0.24 คะแนน) โดยความเสี่ยงในด้านค่าครองชีพและหนี้สินมีคะแนนสูงที่สุด ขณะที่ความเสี่ยงในด้านความสัมพันธ์ในครอบครัวมีคะแนนต่ำที่สุด
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง“ความเสี่ยงของคนกรุงเทพฯ ท่ามกลางปัญหาเศรษฐกิจ การเมือง และการก่อการร้าย"พบว่า ความเสี่ยงของคนกรุงเทพฯ ในภาพรวม มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 6.13 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการสำรวจเมื่อเดือนกรกฎาคม 2555 (0.24 คะแนน) โดยความเสี่ยงในด้านค่าครองชีพและหนี้สินมีคะแนนสูงที่สุด ขณะที่ความเสี่ยงในด้านความสัมพันธ์ในครอบครัวมีคะแนนต่ำที่สุด
ผลสำรวจ ระบุว่า คนกรุงเทพฯ มีความเสี่ยงด้านค่าครองชีพและหนี้สินมากที่สุด (7.32 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) รองลงมาคือ ความเสี่ยงด้านการจราจรและการเดินทาง (7.15 คะแนน) ความเสี่ยงด้านการเมือง (6.94 คะแนน) ความเสี่ยงด้านสุขภาพร่างกาย (6.62 คะแนน) ความเสี่ยงด้านชีวิตและทรัพย์สิน (6.24 คะแนน) ความเสี่ยงด้านสุขภาพจิตใจ (5.95 คะแนน) ความเสี่ยงด้านการงานอาชีพ (5.85 คะแนน) ความเสี่ยงด้านการสูญเสียวัฒนธรรมประเพณีและสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ (5.46 คะแนน) ความเสี่ยงด้านภัยธรรมชาติและโรคระบาดร้ายแรง (5.44 คะแนน) ขณะที่ด้านความสัมพันธ์ในครอบครัวมีความเสี่ยงน้อยที่สุด (4.28 คะแนน)
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจเมื่อเดือนกรกฎาคม 2555 พบว่า ด้านที่มีคะแนนความเสี่ยงเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ ด้านการจราจรและการเดินทาง (+0.99 คะแนน) รองลงมาคือด้านค่าครองชีพและหนี้สิน (+0.69 คะแนน) และด้านการเมือง (+0.59 คะแนน) ขณะที่ด้านภัยธรรมชาติและโรคระบาดร้ายแรงมีความเสี่ยงลดลงมากที่สุด (-0.64 คะแนน)
สำหรับความเห็นต่อเรื่องที่รัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาให้กับคนกรุงเทพฯ ได้เลย หลังผ่านการทำหน้าที่มาเกือบ 2 ปี อันดับแรกคือ สินค้าราคาแพงขึ้น/ค่าครองชีพสูง (ร้อยละ 81.6) รองลงมาคือ ปัญหาจราจรและการเดินทาง (ร้อยละ 64.3) การชุมนุมทางการเมืองและความแตกแยกของคนในชาติ (ร้อยละ 64.1) ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน (ร้อยละ 41.0) ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ การลงทุน การท่องเที่ยวของไทย (ร้อยละ 34.0) และการรับมือกับปัญหาน้ำท่วมในปี 2556 (ร้อยละ 18.0)
ทั้งนี้ กรุงเทพโพลล์ ได้ทำการสำรวจโดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,202 คน