SMEs ญี่ปุ่นแห่เข้าไทยตั้งฐานบุกตลาดอาเซียน

นายชัยณรงค์ ลิมป์กิตติสิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท รี้ด เทรดเด็กซ์ จำกัด เปิดเผยถึงการย้ายฐานการผลิตต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากญี่ปุ่นสู่ไทย ว่า อยู่ในระดับอัตราที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดกลางและย่อม (SMEs) โตเกียว – โยโกฮาม่า กว่า 200 ราย พร้อมร่วมทุนและขยายฐานการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์สู่ไทย รวมถึงหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์บางชนิด โดยเล็งเห็นว่าไทยเป็นฐานการผลิตที่เข้มแข็งที่สุดในอาเซียน อีกทั้งยังเหมาะกับการเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าในกลุ่มอาเซียนอีกด้วย ดังนั้นภาคอุตสาหกรรมการผลิตของไทย จึงต้องเร่งปรับตัวทางด้านเครื่องจักรและเทคโนโลยี เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการผลิต และขีดความสามารถทางการแข่งขัน

 


นายชัยณรงค์ ลิมป์กิตติสิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท รี้ด เทรดเด็กซ์ จำกัด เปิดเผยถึงการย้ายฐานการผลิตต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากญี่ปุ่นสู่ไทย ว่า อยู่ในระดับอัตราที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดกลางและย่อม (SMEs) โตเกียว – โยโกฮาม่า กว่า 200 ราย พร้อมร่วมทุนและขยายฐานการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์สู่ไทย รวมถึงหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์บางชนิด โดยเล็งเห็นว่าไทยเป็นฐานการผลิตที่เข้มแข็งที่สุดในอาเซียน อีกทั้งยังเหมาะกับการเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าในกลุ่มอาเซียนอีกด้วย ดังนั้นภาคอุตสาหกรรมการผลิตของไทย จึงต้องเร่งปรับตัวทางด้านเครื่องจักรและเทคโนโลยี เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการผลิต และขีดความสามารถทางการแข่งขัน

จากกรณีที่ภาคอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ของญี่ปุ่นเร่งย้ายฐานการผลิตออกนอกประเทศ โดยทุกค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นมองประเทศไทยเป็นเป้าหมายหลักในภูมิภาคอาเซียน ประกอบกับการรวมตัวกันของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 จึงนับเป็นโอกาสสำคัญสำหรับภาคอุตสาหกรรมการผลิตของไทย โดยคาดว่าจะมีการลงทุน การจ้างงาน การสั่งซื้อ การผลิตและการจำหน่ายสูงขึ้น 

นอกจากนี้ การปรับค่าสูงขึ้นของเงินสกุลเงินบาทยังถือเป็นโอกาสเหมาะสำหรับผู้ประกอบการไทยในการสั่งซื้อเครื่องจักรนำเข้าจากต่างประเทศได้ในราคาที่ต่ำลง ซึ่งเวลานี้งานแมนูแฟกเจอริ่ง เอ็กซ์โป ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-23 มิถุนายน 2556 ณ ไบเทค บางนานั้น ถือเป็นอีกงานที่จะเป็นศูนย์รวมเครื่องจักรและเทคโนโลยี เพื่อให้ผู้ประกอบเลือกหาเครื่องจักรที่เหมาะกับธุรกิจ รวมทั้งสามารถวางแผนพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตล่วงหน้าให้ได้มาตรฐานที่สูงขึ้น 

นายชัยณรงค์เปิดเผยว่า ตัวเลขการนำเข้าเครื่องจักรเพื่อการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์  ในไตรมาสแรก ( ม.ค. –มี.ค. )ของปี 2556 มูลค่า กว่า 2.06 หมื่นล้านบาท เทียบกับปีช่วงเดือนกันปี 2553 สูงขึ้นถึงกว่า 2 เท่าตัว  ส่วนการนำเข้าเครื่องจักรผ่านงานเอ็กซ์ฮิบิชั่นในปีที่ผ่านมามีมูลค่าประมาณ 4-5 พันล้านบาท และคาดว่าในปีนี้แนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากจำนวนเครื่องจักรที่นำมาจัดแสดงเพิ่มมากขึ้น โดยในฌฉพาะกลุ่มญี่ปุ่นครอบคลุมพื้นที่กว่า 4,000   ตร.ม. เพื่อรองรับกลุ่มเอสเอ็มอีญี่ปุ่นที่ขยายฐานการผลิตสู่ไทยอย่างต่อเนื่อง
 

NEWS & TRENDS