นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ รองปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า หลังจากได้รับแต่งตั้งจากกระทรวงการคลังให้เร่งดำเนินการหาตัวผู้กระทำความผิดในการโกงภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้ประสานงานไปยังกรมภาษีทั้ง 3 กรม เพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทเอกชน จำนวน 30 บริษัท ที่มีพฤติกรรมในการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจากการส่งออกเป็นเท็จ หรือ โกงภาษี กว่า 2,600 ล้านบาท โดยคาดว่าบริษัทเอกชนดังกล่าวเป็นกลุ่มเดียวกันทั้งหมด โดยร่วมมือกันเป็นขบวนการมาตั้งแต่ช่วงปี 2555-2556 แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ว่าประกอบธุรกิจนำเข้าและส่งออกสินค้าประเภทใด เพราะจะทำให้ผู้กระทำผิดรู้ตัวก่อน และอาจนำไปสู่การทำลายหลักฐาน
นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ รองปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า หลังจากได้รับแต่งตั้งจากกระทรวงการคลังให้เร่งดำเนินการหาตัวผู้กระทำความผิดในการโกงภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้ประสานงานไปยังกรมภาษีทั้ง 3 กรม เพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทเอกชน จำนวน 30 บริษัท ที่มีพฤติกรรมในการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจากการส่งออกเป็นเท็จ หรือ โกงภาษี กว่า 2,600 ล้านบาท โดยคาดว่าบริษัทเอกชนดังกล่าวเป็นกลุ่มเดียวกันทั้งหมด โดยร่วมมือกันเป็นขบวนการมาตั้งแต่ช่วงปี 2555-2556 แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ว่าประกอบธุรกิจนำเข้าและส่งออกสินค้าประเภทใด เพราะจะทำให้ผู้กระทำผิดรู้ตัวก่อน และอาจนำไปสู่การทำลายหลักฐาน
โดยในวันที่ 10 มิถุนายนนี้ ทาง กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ)จะส่งกำลังเข้าไปบุกค้นและจับกุมผู้ต้องหา คาดว่ากระบวนการนี้มีเจ้าหน้าที่ที่เข้าไปมีส่วนรู้เห็นด้วย จึงจะขยายผลเพื่อดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ที่กระทำความผิดในลำดับต่อไป
ทั้งนี้ จากหลักฐานเบื้องต้นของกรมศุลกากร บ่งชี้ว่าพฤติกรรมของเอกชนที่มีการขอคืนภาษีปลอมนั้น ส่วนใหญ่จะอาศัยช่องโหว่ของการคืนภาษีสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้าเพื่อผลิตส่ง ออกตามมาตรา 19 ทวิ ซึ่งที่ผ่านมากรมศุลกากรได้ปรับปรุงวิธีการคืนเงินให้ผู้ประกอบการจากเดิม ใช้เวลากว่า 1 เดือน เหลือแค่ 15 วัน เพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออก โดยกรมศุลกากรปรับกระบวนการทำงานให้รวดเร็วมากขึ้น กระบวนการตรวจสอบที่เคยมีการตรวจทุกรายการก็ปรับเปลี่ยนมาเป็นการสุ่มตรวจ เป็นบางรายการ เพื่อให้การคืนภาษีทำได้เร็วขึ้น จึงทำให้เกิดกลุ่มที่ใช้วิธีสร้างหลักฐานการขอคืนภาษีปลอม โดยไม่มีการนำเข้าวัตถุดิบและผลิตสินค้าออกไปขายจริง โดยกลุ่มผู้กระทำความผิดจะมีรายชื่อเดิมๆ แต่ตั้งบริษัทใหม่ๆ ขึ้นมาเป็นเครือข่ายเพื่อสร้างหลักฐานในการขอคืนภาษีเท็จอย่างต่อเนื่อง
“จากการตรวจสอบพบว่า กลุ่มผู้ส่งออกทั้ง 30 ราย มีสถานประกอบการที่เป็นบ้านร้าง ไม่มีความน่าเชื่อถือ มีกลุ่มกรรมการซ้ำซ้อนกัน และมีการตั้งบริษัทขึ้นมา 5-6 เดือน แล้วปิดตัว” นายรังสรรค์ กล่าว