นายโสภณ ผลประสิทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ที่ผ่านมา กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้มีการสนับสนุน และช่วยเหลือ วิสาหกิจชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินค้าที่กำลังได้รับความนิยม และน่าจับตามอง คือ สินค้าประเภทผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เนื่องจากวิสาหกิจชุมชนของไทยมีทักษะและฝีมือในการผลิตสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านการ ทอผ้า ยกตัวอย่างเช่น ผ้าขาวม้าของไทย ที่มีลวดลายสีสันหลากหลายและสวยงาม ผนวกความประณีตในการทอและลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์ สามารถนำมาใช้ได้ในชีวิตประจำวัน จึงทำให้เป็นที่ต้องการของตลาด และสอดรับกับวิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยและชาวอาเซียน ที่ใช้ผ้าขาวม้าเป็นผ้าเช็ดตัว ผ้านุ่ง คลุมศีรษะ เปลนอน ถุงใส่สัมภาระ กางเกง กระโปรง หมวก รองเท้า กระเป๋า และหมอน ฯลฯ นับเป็นสินค้าและภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่มีมาอย่างช้านาน
นายโสภณ ผลประสิทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ที่ผ่านมา กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้มีการสนับสนุน และช่วยเหลือ วิสาหกิจชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินค้าที่กำลังได้รับความนิยม และน่าจับตามอง คือ สินค้าประเภทผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เนื่องจากวิสาหกิจชุมชนของไทยมีทักษะและฝีมือในการผลิตสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านการ ทอผ้า ยกตัวอย่างเช่น ผ้าขาวม้าของไทย ที่มีลวดลายสีสันหลากหลายและสวยงาม ผนวกความประณีตในการทอและลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์ สามารถนำมาใช้ได้ในชีวิตประจำวัน จึงทำให้เป็นที่ต้องการของตลาด และสอดรับกับวิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยและชาวอาเซียน ที่ใช้ผ้าขาวม้าเป็นผ้าเช็ดตัว ผ้านุ่ง คลุมศีรษะ เปลนอน ถุงใส่สัมภาระ กางเกง กระโปรง หมวก รองเท้า กระเป๋า และหมอน ฯลฯ นับเป็นสินค้าและภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่มีมาอย่างช้านาน
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจึงมีแนวคิดที่จะยกระดับผ้าฝ้ายทอมือของไทย ให้กลายเป็นสินค้าระดับแนวหน้าของประเทศในกลุ่มอาเซียน จึงได้พยายามผลักดันกลุ่มผ้าทอมือศูนย์หัตถกรรมทอผ้าบ้านเขาเต่า ซึ่งเป็นหนึ่งในวิสาหกิจชุมชนที่เข้าร่วมโครงการกับ กสอ. จนปัจจุบันทำให้กลุ่มฯ สามารถพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ได้อย่างสวยงามและมีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น รวมทั้งนำไปดัดแปลงตัดเย็บเป็นผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าเครื่องแต่กาย และผลิตภัณฑ์ของใช้ของตกแต่งบ้าน สามารถจำหน่ายทั้งในประเทศและส่งออกไปยังต่างประเทศในกลุ่มอาเซียนได้ ส่งผลให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศต่อไป
ด้านนางอมลวรรณ เอี่ยมสำอางค์ ประธานกลุ่มสตรีทอผ้าบ้านเขาเต่า กล่าวว่า ศูนย์หัตถกรรมทอผ้าบ้านเขาเต่า เกิดขึ้นจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ต้องการส่งเสริมให้ราษฎรมีอาชีพ ด้วยการทอผ้าฝ้ายด้วยกี่กระตุก เพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัว โดยตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมา ที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้เข้ามาให้ความช่วยเหลือและพัฒนาศูนย์หัตกรรมฯทำให้การทอผ้าที่ศูนย์ฯ ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการให้ความรู้ในเรื่องของการทำกี่กระตุก การทอผ้าลายยกดอก การผลิตผ้าเมตร และผ้าขาวม้า รวมถึงการแนะนำวิธีพัฒนาลายผ้า การใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ ตลอดจนวิธีการทำให้ผ้าเนียนสวยได้มาตรฐาน นอกจากนี้สมาชิก ทุกคนของศูนย์ฯ ยังได้เข้าร่วมโครงการของกรมฯ จนสามารถนำความรู้ที่ได้มาพัฒนาการทอผ้าให้มากขึ้น โดยโครงการที่ได้เข้าร่วมนั้น มี 2 โครงการ ได้แก่
1. โครงการพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนในภาคอุตสาหกรรม (TOPOTOP) สำหรับโครงการนี้จะทำให้สมาชิกได้เรียนรู้วิธีการปรับปรุงการผลิต การบริหารจัดการ รวมถึงเรื่องบรรจุภัณฑ์ จนสามารถนำมาพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้สามารถดึงดูดผู้บริโภคได้
2. กิจกรรมสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมสู่ชนบท (สอช.) กิจกรรมนี้เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่หลังจากที่สมาชิกของศูนย์ฯ ได้เข้าร่วมพัฒนาและฝึกทักษะจนสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ได้เป็นอย่างดีแล้ว ทำให้มีบริษัทผู้ค้าคนกลางติดต่อเข้ามาเพื่อสั่งผลิตสินค้าเป็นจำนวนมาก ทำให้ศูนย์หัตกรรมฯ มีรายได้เข้าศูนย์และสมาชิกที่รับทอผ้าอย่างต่อเนื่อง
หลังจากที่ได้เข้าร่วมโครงการของกรมฯ รวมถึงการได้รับการเรียนรู้จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญการทอผ้าของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 ทำให้ศูนย์หัตถกรรมทอผ้าบ้านเขาเต่า เป็นที่รู้จักมากขึ้น มีนักท่องเที่ยวให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มผู้จัดจำหน่ายเข้ามาติดต่อขอสั่งซื้อผ้าเป็นจำนวนมาก ทั้งผ้าเมตร ผ้ายกดอก ผ้าขาวม้าลายพุ่ง 9 เส้น และผ้าชุดสำเร็จรูป เนื่องจากวิธีการทอ ลายผ้า ความประณีต รวมถึงวัตถุดิบที่ใช้ คือ เส้นด้ายเมอเซอไรซด์ของผ้าเขาเต่านี้มีความแตกต่างและโดดเด่นจากที่อื่น ทำให้เนื้อผ้ามีความเบาสบาย และมีความมันเงาสวยงามเหมือนไหม เมื่อสวมใส่หน้าร้อนแล้วไม่ร้อน ส่วนหน้าหนาวใส่แล้วอุ่นสบาย โดยในปัจจุบัน ผ้าทอจากที่นี่ ได้รับการส่งออกไปยังประเทศภูฏาน และมียอดสั่งจองเป็นจำนวนมาก เฉลี่ยเดือนละกว่า 500 - 1,000 ผืน ทำให้ยอดขายเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง สมาชิกทอผ้าก็มีรายได้มากขึ้น ซึ่งในแต่ละวันสมาชิก จะสามารถทอผ้าได้ประมาณวันละ 5-7 ผืน โดยในอนาคตอันใกล้นี้จะมีการส่งผ้าขาวม้าไปยังประเทศในกลุ่มอาเซียนอีกด้วย นางอมลวรรณ กล่าวสรุป
สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมโครงการกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 0 2202 4414 - 18 หรือเข้าไปที่ www.dip.go.th