นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน(รง.) กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินมาตรการบรรเทาผลกระทบจากการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ของกระทรวงแรงงาน ว่า จากการสรุปผลของกระทรวงแรงงานตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-30 เมษายน ที่ผ่านมา พบว่ามาตรการสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงานของสำนักงานประกันสังคม(สปส.)วงเงิน 1 หมื่นล้านบาท ได้อนุมัติสินเชื่อไปแล้ว 1,499 ราย วงเงินกว่า 2,433 ล้านบาท ช่วยรักษาสภาพการจ้างงาน 73,936 คน มาตรการลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมจากร้อยละ 5 เหลือ ร้อยละ 4 มีผู้ประกอบการได้รับประโยชน์ 412,189 ราย และผู้ประกันตน 10,526,801 ราย คิดเป็นจำนวนเงินสมทบที่จ่ายลดลงทั้งในส่วนของนายจ้างและลูกจ้างรวมเป็นเงิน 26,950 ล้านบาท
นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน(รง.) กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินมาตรการบรรเทาผลกระทบจากการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ของกระทรวงแรงงาน ว่า จากการสรุปผลของกระทรวงแรงงานตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-30 เมษายน ที่ผ่านมา พบว่ามาตรการสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงานของสำนักงานประกันสังคม(สปส.)วงเงิน 1 หมื่นล้านบาท ได้อนุมัติสินเชื่อไปแล้ว 1,499 ราย วงเงินกว่า 2,433 ล้านบาท ช่วยรักษาสภาพการจ้างงาน 73,936 คน มาตรการลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมจากร้อยละ 5 เหลือ ร้อยละ 4 มีผู้ประกอบการได้รับประโยชน์ 412,189 ราย และผู้ประกันตน 10,526,801 ราย คิดเป็นจำนวนเงินสมทบที่จ่ายลดลงทั้งในส่วนของนายจ้างและลูกจ้างรวมเป็นเงิน 26,950 ล้านบาท
นพ.สมเกียรติ กล่าวต่อไปว่า ส่วนมาตรการการนำค่าใช้ในการฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงานตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2545 มาหักลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน(กพร.) มีสถานประกอบการมายื่นขอรับรองหลักสูตรอบรม 8,292 หลักสูตร ผู้เข้ารับการฝึกอบรม 1,228,393 คน มีค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมทั้งสิ้นกว่า 1,287 ล้านบาทผู้ประกอบการนำไปลดภาษีได้กว่า 500 ล้านบาท
นอกจากนี้ ในส่วนของมาตรการจัดคลินิกพัฒนาฝีมือแรงงานไปยังสถานประกอบการต่างๆ ใช้งบประมาณ 486 ล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็น 2 โครงการได้แก่ โครงการยกระดับผลิตภาพแรงงานไทยให้มีผลิตภาพสูงขึ้น มีผู้เข้าอบรม 64,003 คนคิดเป็นร้อยละ 43.98 จากเป้าหมาย 145,500 คน และโครงการลดความสูญเสียในวงจรการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพแรงงานซึ่งขณะนี้มีสถานประกอบการเข้าร่วม 18 แห่ง ส่วนมาตรการการให้กู้ยืมเงินกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.1 เพื่อใช้ฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงาน มีเงินกองทุนรองรับ 651 ล้านบาท ขณะนี้ยังไม่มีผู้ประกอบการมายื่นกู้