บริษัทไทยอันดับ 2 อาเซียนใช้ซอฟแวร์เถื่อน

BSA เปิดไทยติดอันดับ 1 ใน 3 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ติดอันดับสูงสุด 72 % นักกฎหมายจี้ผู้ประกอบการไทยและผู้ใช้ตื่นปลุกจิตสำนึกเรื่องละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ก่อนเสียเปรียบการแข่งขันทางการค้า หลังเข้าสู่เออีซี ชงเรื่องแก้ไขกฎหมายที่อ่อนแอ ระดมทุกฝ่ายต้องให้ความรู้เรื่องลิขสิทธิ์ซอฟต์จริงจัง แจงซิป้าเดินงานถูกทาง รุกปฏิบัติการสัมมนาทั่วไทยเข้าใจลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ 13มิ.ย.เปิดสัมมนาใหญ่ “การจัดการทรัพย์สินทางปัญญากับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ” ที่โรงแรมหรรษา เจบี หาดใหญ่

 


BSA เปิดไทยติดอันดับ 1 ใน 3 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ติดอันดับสูงสุด 72 % นักกฎหมายจี้ผู้ประกอบการไทยและผู้ใช้ตื่นปลุกจิตสำนึกเรื่องละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ก่อนเสียเปรียบการแข่งขันทางการค้า หลังเข้าสู่เออีซี     ชงเรื่องแก้ไขกฎหมายที่อ่อนแอ ระดมทุกฝ่ายต้องให้ความรู้เรื่องลิขสิทธิ์ซอฟต์จริงจัง แจงซิป้าเดินงานถูกทาง รุกปฏิบัติการสัมมนาทั่วไทยเข้าใจลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ 13มิ.ย.เปิดสัมมนาใหญ่ “การจัดการทรัพย์สินทางปัญญากับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ” ที่โรงแรมหรรษา เจบี หาดใหญ่
ดร.คมน์ทะนงชัย   ฉายไพโรจน์   ผู้พิพากษาศาลล้มละลายกลาง  เปิดเผยในงานสัมมนา การจัดการทรัพย์สินทางปัญญากับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนซึ่งจัดที่จังหวัดขอนแก่น เมื่อเร็วๆนี้ว่า กรณีผู้ที่ทำผิดกฏหมายด้านการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ของไทยปัจจุบันนั้นมีคดีความสูงมาก  และที่สำคัญมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ข้อมูลจากกลุ่มสมาคมพันธมิตรธุรกิจซอฟท์แวร์ ( BSA) ได้ทำการสำรวจวิจัยพบว่า  

         3 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์ติดอันดับสูงสุดคือ อินโดนีเซีย 86% ไทย 72% และมาเลเซีย 55 %  จากการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ได้ส่งผลกระทบธุรกิจในด้านต่างๆคือขาดความเชื่อถือในการทำธุรกิจ อาจตกเป็นเหยื่อพวกมิจฉาชีพ  ด้านความปลอดภัยใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายส่งผลถึงความปลอดภัยพีซีมีความเสี่ยงสูงในการติดมัลแวร์  ด้านกฎหมาย ผิดกฎหมายไทย    ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์  กฎหมายต่างประเทศ เช่นกฎหมายการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม UCA(Unfair Competition Act) กฏหมายนี้บังคับให้ผู้ผลิตและผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้ซอฟต์แวร์หรือฮาร์ทแวร์ที่ถูกต้อง  ในการประกอบธุรกิจ ทั้งในการผลิต และจำหน่าย  และการทำตลาด โดยกฏหมายนี้ครอบคลุมไปถึง36รัฐและ3 ดินแดนในอาราเขตการปกครองของสหรัฐอเมริกาแล้ว

สำหรับประเทศไทยต้องยอมรับว่า กฎหมายเอาผิดด้านซอฟต์แวร์ยังมีจุดอ่อนอีกมาก   อยู่ในช่วงการปรับปรุงนำเสนอ  ดังนั้นจะต้องรณรงค์สร้างจิตสำนึกไม่ให้ใช้ของเถื่อน  ของปลอม  รวมถึงการระดมกำลังให้ความรู้ถึงข้อเสีย  ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น  ให้ความรู้ทั้งภาพประชาชนทั่วไปและภาคของผู้ประกอบการธุรกิจด้วย   ผมมองว่าการดำเนินการให้ความรู้  การจัดงานสัมมนาฟรีให้กับกลุ่เป้าหมายที่หน่วยงานซิป้า  ดำเนินการอยู่นี้ถือว่าดำเนินการมาถูกทางและถูกต้องแล้ว    เราจะต้องสร้างจิตสำนึกให้เกิดขึ้นในสังคม ซึ่งจะส่งผลดีต่อการค้าระดับนานาชาติ   ต่อเศรษฐกิจของประเทศชาติอย่างยั่งยืนแน่นอน”ดร.คมน์ทะนงชัย   กล่าว
 

NEWS & TRENDS