SMEs ภูธร ศึกหนักปัจจัยลบกระหน่ำรอบด้าน

นางเปรมฤดี กุลสุ นายกสมาคมผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าหัตถกรรมภาคเหนือ หรือนอร์แมกซ์ เปิดเผยถึง สถานการณ์สินค้าหัตถกรรมภาคเหนือว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการสินค้าหัตถกรรมภาคเหนือ กำลังเผชิญกับเรื่องของค่าแรง และค่าเงินบาทที่แข็งตัว ในส่วนของสมาคมได้มีการหารือกันเบื้องต้น ตั้งแต่เมื่อปลายปีที่แล้วว่า ผู้ประกอบการถ้าจะให้ดีให้รับออร์เดอร์เป็นเงินไทย หรือไม่ บางรายก็รับออร์เดอร์เป็นดอลลาร์สหรัฐฯแต่ว่าให้ซื้อฟอร์เวิร์ดทิ้งไว้ การซื้อฟอร์เวิร์ดก็ช่วยได้ระดับหนึ่ง

 


นางเปรมฤดี กุลสุ นายกสมาคมผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าหัตถกรรมภาคเหนือ หรือนอร์แมกซ์  เปิดเผยถึง สถานการณ์สินค้าหัตถกรรมภาคเหนือว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการสินค้าหัตถกรรมภาคเหนือ กำลังเผชิญกับเรื่องของค่าแรง และค่าเงินบาทที่แข็งตัว ในส่วนของสมาคมได้มีการหารือกันเบื้องต้น ตั้งแต่เมื่อปลายปีที่แล้วว่า ผู้ประกอบการถ้าจะให้ดีให้รับออร์เดอร์เป็นเงินไทย หรือไม่  บางรายก็รับออร์เดอร์เป็นดอลลาร์สหรัฐฯแต่ว่าให้ซื้อฟอร์เวิร์ดทิ้งไว้ การซื้อฟอร์เวิร์ดก็ช่วยได้ระดับหนึ่ง

"จากปัญหาจากค่าแรงที่สูงขึ้น วัตถุดิบ ค่าขนส่งที่ขึ้นตามมา และค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบ โดยพบว่าผู้ประกอบการ 60%  ยังประสบปัญหาในขณะนี้  จึงอยากให้รัฐบาลหามาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติม"

สอดรับกับนายสุจินต์  ศานติชาติศักดิ์  กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเตอร์เฟอร์นิเทค จำกัด ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ส่งออกต่างประเทศ มีโรงงานอยู่ที่จังหวัดตรัง เปิดเผยว่า เงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ทำให้ไม่กล้ารับออร์เดอร์จากต่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาที่เป็นลูกค้าของบริษัท ซึ่งทำการค้ามานาน หากจะหันไปขายเฟอร์นิเจอร์ประเทศอื่น ๆ เช่น ญี่ปุ่นในขณะนี้ก็ทำไม่ได้ ญี่ปุ่นลดค่าเงินเยนลง หากจะไปขายหรือค้ากับอินเดีย ก็ไม่มั่นใจว่าจะได้รับเงินครบหรือไม่ หรือจะหันมาผลิตเพื่อขายในประเทศ ปัญหาเก็บเงินยาก

 ด้านนายธนพล  กองทรัพย์ไพศาล    กรรมการผู้จัดการ บริษัท สแตนด์ดาร์ด พลัส จำกัด  ผู้แทนจำหน่ายสินค้าวัสดุก่อสร้างรายใหญ่ของจังหวัดอุดรธานี  และมีสาขาอยู่ในประเทศ สปป.ลาว เปิดเผยกับว่าขณะนี้ยังไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการขายสินค้าวัสดุก่อสร้าง  โดยเฉพาะอะลูมิเนียม ที่ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศเกือบ 100 %  ยังเป็นราคาซื้อ-ขายกันมาก่อนที่จะเกิดภาวะค่าเงินบาทแข็ง

ส่วนการซื้อ-ขาย วัสดุก่อสร้างกับลูกค้าที่อยู่ในประเทศ สปป.ลาว น่าที่จะเป็นผลดีต่อผู้ขายฝ่ายไทย  เนื่องจากการซื้อ-ขายสินค้าในประเทศ สปป.ลาว จะนิยมใช้กันเป็น 3 ระบบ คือ การเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ ยานพาหนะ ใช้ระบบเงินดอลลาร์สหรัฐฯ  การซื้อ-ขายสินค้าวัสดุ สินค้าอุปโภคบริโภคจากประเทศไทยใช้ระบบเงินบาท  และซื้อ-ขายกันเองใช้ระบบเงินกีบ

ขณะนี้นายณรงค์ ตนานุวัฒน์ ประธานเครือข่ายหน่วยงานบริการ SMEs ภาคเหนือ (22 องค์กร)รองประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ พื้นที่ภาคเหนือ หอการค้าไทย  กล่าวว่าการปรับตัวของเอสเอ็มอีสายพันธุ์ใหม่จะต้องรู้ข่าวสาร ทันเหตุการณ์ ต้องใช้ความรู้ที่จะต้องดิ้นรนและต่อสู้มากขึ้น และจะต้องพัฒนาทักษะ ความชำนาญ และความคล่องตัว ปรับตัวเร็ว จะทำอย่างไรให้เป็นสมาร์ทออฟฟิศ ต้องย่อเล็กลง รบแบบกองโจรรบ ติดอาวุธ พวกนี้ไม่ตายแต่จะปิดตัว แปลงกายไปอยู่ถนนคนเดิน เป็นไดเร็กต์เซลส์

NEWS & TRENDS