นายประเสริฐ บุญชัยสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเอสเอ็มอีเพื่อรองรับการลงทุนจากเอสเอ็มอีญี่ปุ่น เนื้อที่ไม่เกิน 100 ไร่ ว่า ล่าสุด เวลานี้ยังไม่มีเอกชนไทยรายใดสนใจเข้าร่วมลงทุน อาจเป็นเพราะการประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง ดังนั้น จึงจะเร่งปรระชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น แต่หากยังไม่เป็นที่สนใจ ได้เตรียมทางออกไว้ เช่น ขยายเวลารับสมัครจากที่สิ้นสุดในสิ้นเดือนพฤษภาคมนี้ หรือขอความร่วมมือกับนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ช่วยจัดสรรพื้นที่สำหรับนิคมอุตสาหกรรมเอสเอ็มอีเพิ่ม โดยจะได้รับสิทธิพิเศษไม่ต่างกับการขอลงทุนตั้งนิคมฯ ส่วนความคืบหน้านิคมโลจิสติกส์เชียงของ กนอ.รายงานว่ามีเอกชนสนใจร่วมลงทุน 2 ราย
นายประเสริฐ บุญชัยสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเอสเอ็มอีเพื่อรองรับการลงทุนจากเอสเอ็มอีญี่ปุ่น เนื้อที่ไม่เกิน 100 ไร่ ว่า ล่าสุด เวลานี้ยังไม่มีเอกชนไทยรายใดสนใจเข้าร่วมลงทุน อาจเป็นเพราะการประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง ดังนั้น จึงจะเร่งปรระชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น แต่หากยังไม่เป็นที่สนใจ ได้เตรียมทางออกไว้ เช่น ขยายเวลารับสมัครจากที่สิ้นสุดในสิ้นเดือนพฤษภาคมนี้ หรือขอความร่วมมือกับนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ช่วยจัดสรรพื้นที่สำหรับนิคมอุตสาหกรรมเอสเอ็มอีเพิ่ม โดยจะได้รับสิทธิพิเศษไม่ต่างกับการขอลงทุนตั้งนิคมฯ ส่วนความคืบหน้านิคมโลจิสติกส์เชียงของ กนอ.รายงานว่ามีเอกชนสนใจร่วมลงทุน 2 ราย
"ตามนโยบายของกระทรวงกำหนดให้นิคมฯเอสเอ็มอีตั้งขึ้นใน 3 แห่ง คือ พื้นที่ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หากไม่มีเอกชนสนใจจริงๆ จะใช้โมเดลของนิคมฯอมตะ คือจัดสรรพื้นที่สำหรับให้โรงงานเอสเอ็มอีเข้าไปตั้ง โดยเอกชนรายใดสนใจสามารถเสนอตัวได้" นายประเสริฐกล่าว
นายทวิช เตชะนาวากุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยอินดัสเตรียล เอสเตท จำกัด ผู้พัฒนานิคมไฮเทคฯ กล่าวว่า ไม่รู้ว่า กนอ.ประกาศเชิญให้เอกชนลงทุนตั้งนิคมเอสเอ็มอี ดังนั้น ควรประชาสัมพันธ์มากกว่านี้ เพราะแนวโน้มการเข้ามาลงทุนในไทยของเอสเอ็มอีญี่ปุ่นเป็นเรื่องสำคัญ อย่างไรก็ตาม ผู้พัฒนานิคมฯอาจสนใจไม่มาก เพราะการตั้งนิคมฯเพื่อรองรับนักลงทุนรายใหญ่จะได้กำไรมากกว่า