นายนพพร เทพสิทธา ประธานสภาผู้ส่งออกทางเรือแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สถานการณ์เงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องจากต้นปี แต่มาในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมานับว่ามีความผันผวนมาก เพราะค่าเงินเคลื่อนไหวประมาณ 29 บาทต่อดอลาร์สหรัฐ นับว่าแข็งค่าถึงร้อยละ 6 และคาดว่าจะกระทบต่อการส่งออกในไตรมาส 2 และขณะนี้ผลกระทบบายปลายไปยังอุตสหากรรมขนาดใหญ่แล้ว จากเดิมผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้รับผลกระทบหนักมาก
นายนพพร เทพสิทธา ประธานสภาผู้ส่งออกทางเรือแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สถานการณ์เงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องจากต้นปี แต่มาในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมานับว่ามีความผันผวนมาก เพราะค่าเงินเคลื่อนไหวประมาณ 29 บาทต่อดอลาร์สหรัฐ นับว่าแข็งค่าถึงร้อยละ 6 และคาดว่าจะกระทบต่อการส่งออกในไตรมาส 2 และขณะนี้ผลกระทบบายปลายไปยังอุตสหากรรมขนาดใหญ่แล้ว จากเดิมผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้รับผลกระทบหนักมาก
ทั้งนี้ อุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบในประเทศ อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป เริ่มแข่งขันลำบาก โดยเฉพาะการส่งออกกุ้ง ขณะนี้ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดแล้วยังมาเจอปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่า ทำให้ยอดการส่งออกไตรมาส 2 ลดลงอย่างแน่นอน และจะทำให้การส่งออกทั้งปีขยายตัวเพียงร้อยละ 6.9-7 ต่ำกว่าที่รัฐบาลคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 8-9 เพราะในช่วงเดือนเมษายนดัชนีส่งออกขยายตัวเพียงร้อยละ 4.92 ดังนั้นเพื่อเดินแผนการตลาดส่งออก
โดยรัฐบาลควรเทียบค่าเงินกับประเทศคู่ค้า เช่น ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสัดส่วนร้อยละ 10 ของการส่งออกทั้งหมด เนื่องจากเศรษฐกิจญี่ปุ่นเริ่มฟื้นตัว ขณะที่การแก้ปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และยุโรป ยังไม่คืบหน้าเท่าที่ควร จึงต้องให้ความสำคัญกับญี่ปุ่นและตลาดเอชีย เพราะในช่วงที่ผ่านมาค่าเงินยนอ่อนค่าลงร้อยละ 17 ขณะที่เงินบาทแข็งค้าร้อยละ 7 เมื่อเทียบค่าเงินบาทกับเงินเยนของญี่ปุ่น จะทำให้เงินบาทแข็งค่าถึงร้อยละ 24 เมื่อส่งสินค้าไปญี่ปุ่น เช่น อาหารแปรรูป และอาหารทะเลแช่แข็ง
สำหรับการประสานนโยบายระหว่างกระทรวงการคลังและ ธปท.จะดูแลค่าเงินบาทขึ้นลงอย่างไรก็ตาม แต่ขอให้ค่าเงินมีเสถียรภาพนิ่งไม่เคลื่อนไหวมากเกินไป สภาผู้ส่งออกทางเรือฯ เตรียมประชุมในวันที่ 7 พ.ค. 56 นี้ เพื่อเสนอรัฐบาลใช้มาตรการเร่งด่วนดูแลค่าเงินบาท คือ การเร่งดูแลค่าเงินให้มีเสถียรภาพไม่ผันผวน และการบริหารค่าเงินด้วยการประเมินเทียบกับประเทศคู่ค้า เช่น ญี่ปุ่น และประเทศคู่ค้าสำคัญ การหาทางช่วยผู้ประกอบการส่งออกเอสเอ็มอี ป้องกันความเสี่ยง เพื่อหาทางลดภาระให้แก่ภาคธุรกิจเอสเอ็มอี