สศอ.เผยผลสำรวจศึกษาเพื่อติดตามการปรับตัวของอุตสาหกรรม SMEs ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ วางแผนรองรับการปรับตัวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และปัจจัยที่จำเป็นต่อการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมที่เป็น SMEs ไทย โดยสำรวจปรับตัวในอุตสาหกรรมสำคัญ 15 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ 1)อาหารและเครื่องดื่ม 2)สิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่ม 3)ผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง 4)ผลิตภัณฑ์ไม้ 5)ผลิตภัณฑ์กระดาษและสิ่งพิมพ์ 6)เคมีภัณฑ์ 7)ผลิตภัณฑ์พลาสติก 8)ผลิตภัณฑ์ยาง 9)ซีเมนต์ คอนกรีต 10)เซรามิค 11)แก้ว 12)อัญมณีและเครื่องประดับ 13)ผลิตภัณฑ์เหล็ก และโลหะ 14)ยานยนต์และชิ้นส่วน 15)เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
สศอ.เผยผลสำรวจศึกษาเพื่อติดตามการปรับตัวของอุตสาหกรรม SMEs ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ วางแผนรองรับการปรับตัวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และปัจจัยที่จำเป็นต่อการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมที่เป็น SMEs ไทย โดยสำรวจปรับตัวในอุตสาหกรรมสำคัญ 15 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ 1)อาหารและเครื่องดื่ม 2)สิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่ม 3)ผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง 4)ผลิตภัณฑ์ไม้ 5)ผลิตภัณฑ์กระดาษและสิ่งพิมพ์ 6)เคมีภัณฑ์ 7)ผลิตภัณฑ์พลาสติก 8)ผลิตภัณฑ์ยาง 9)ซีเมนต์ คอนกรีต 10)เซรามิค 11)แก้ว 12)อัญมณีและเครื่องประดับ 13)ผลิตภัณฑ์เหล็ก และโลหะ 14)ยานยนต์และชิ้นส่วน 15)เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
ดร.สมชาย หาญหิรัญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กล่าวว่าจากผลการสำรวจการปรับตัวของผู้ประกอบการพบว่าอุตสาหกรรม ที่เป็น SMEs ร้อยละ 83.5 เห็นว่าธุรกิจของตนมีความจำเป็นต้องปรับตัว และเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และปัจจัยที่ผู้ประกอบการเห็นว่ามีความสำคัญต่อการปรับตัวเป็นอันดับแรก ร้อยละ 91.5 คือ การบริหารต้นทุนและราคา อันดับรองลงมา ร้อยละ 77.8 คือ การปรับตัวด้านภาษา และอีกร้อยละ 71.2 เป็นการเจาะตลาดในกลุ่มประเทศอาเซียน
โดยหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีการปรับตัวได้เร็วที่สุด คือ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก คิดเป็นจำนวนผู้ที่ปรับตัวและกำลังดำเนินการปรับตัว ร้อยละ 82.4 ที่มีการปรับตัวและกำลังปรับตัวเนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าเป็นวัตถุดิบขั้นกลางของอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งต้องการสินค้าที่มีคุณภาพอีกทั้งผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีความรู้และกระบวนการผลิตใช้เทคโนโลยีในระดับทันสมัย
นอกจากนี้ยังมีอัญมณีและเครื่องใช้ที่มีไฟฟ้า ปรับตัวอยู่ระดับร้อยละ 55.5 สำหรับอุตสาหกรรมที่มีการปรับตัวช้า คือ อุตสาหกรรมเครื่องหนัง เซรามิค และผลิตภัณฑ์ไม้ เป็นต้น สำหรับปัจจัยที่ต้องเร่งปรับตัวสำหรับผู้ประกอบการอย่างเร่งด่วน ได้แก่ การจัดการเรื่องราคาต้นทุนสินค้าให้สามารถแข่งขันได้ เช่น ต้นทุนด้านโลจิสติกส์ สินค้าคงคลัง ,ฝีมือแรงงาน รวมถึงการเพิ่มมูลค่าในสินค้าด้วย (Value Added) อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการไทยร้อยละ 78.6 เชื่อว่าตนเองมีความพร้อมในการเข้าสู่ AEC จากความคิดเห็นของเอกชนการปรับตัวของอุตสาหกรรมนั้นควรจะพิจารณาตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) จึงจะครอบคลุมกลุ่ม SMEs ซึ่งอยู่ในห่วงโซ่อุปทาน และต้องศึกษาตลอดทั้ง Supply Chain อุตสาหกรรมอีกด้วย
ดร.สมชาย หาญหิรัญ กล่าวอีกว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้มีมาตรการ และโครงการต่างๆ ที่รองรับและให้การสนับสนุนในการปรับตัวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การบริหารต้นทุนและราคา เช่น โครงการภายใต้แผนงาน Productivity ของทางสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ได้ให้การส่งเสริมและสนับสนุนด้านการเจาะตลาด กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้มีโครงการเตรียมความพร้อมและการสร้างเครื่อข่ายธุรกิจอุตสาหกรรมเพื่อเข้าสู่ AEC โดยมีโรงงานที่เข้าร่วมโครงการนี้เป็นจำนวนมากโดย แบ่งเป็น กลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 คือ โรงงาน 650 โรงงาน กลุ่มที่ 2 ผู้ประกอบการ 15,000 คน แยกเป็นผู้ตระหนักและเกิดการรับรู้ 10,000 คน และอบรมเชิงลึก 5,000 คน และกลุ่มที่ 3 เป็นคนงาน 5,000 คน
ปัจจัยทางด้านภาษายังเป็นปัจจัยที่จำเป็นต่อ SMEs ในการเข้าสู่ AEC แต่การดำเนินการปรับตัวยังอยู่ในระดับต่ำ คือ ประมาณร้อยละ 25 ดังนั้น อุตสาหกรรม SMEs จึงจำเป็นต้องหาแนวทางเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน โดยปรับลดต้นทุนการผลิต พัฒนาเทคโนโลยีให้ทันสมัย พัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการ ฝีมือแรงงาน และทักษะด้านภาษาให้ดีขึ้น รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจในด้านต่างๆ ของอาเซียน เช่น กฎหมายกฎระเบียบ ความต้องการสินค้า และรสนิยมการบริโภคของประเทศต่างๆ ในอาเซียน เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ