นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยภายว่า จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจของสังคมโลก รวมไปถึงการที่ไทยและอีก 9 ประเทศในอาเซียนกำลังจะก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียน จึงต้องร่วมมือกันสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ศักยภาพและโอกาสทางการแข่งขัน เพื่อพัฒนาภูมิภาคอาเซียน โดยมุ่งหวังว่าในอีก 2 ปีข้างหน้า ทุกประเทศในอาเซียนจะกลายเป็นสังคมเดียวกัน ประเทศไหนมีความสามารถด้านอะไรก็จะมาสร้างความร่วมมือกัน
นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยภายว่า จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจของสังคมโลก รวมไปถึงการที่ไทยและอีก 9 ประเทศในอาเซียนกำลังจะก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียน จึงต้องร่วมมือกันสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ศักยภาพและโอกาสทางการแข่งขัน เพื่อพัฒนาภูมิภาคอาเซียน โดยมุ่งหวังว่าในอีก 2 ปีข้างหน้า ทุกประเทศในอาเซียนจะกลายเป็นสังคมเดียวกัน ประเทศไหนมีความสามารถด้านอะไรก็จะมาสร้างความร่วมมือกัน
ทั้งนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าภาคแรงงานเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ดังนั้น การยกระดับรายได้แรงงานให้เท่าเทียมกันทั่วประเทศซึ่งเป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล รวมไปถึงการสร้างมาตรฐานสากลภายใต้หลักสิทธิมนุษยชนทั้งแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติ ล้วนเป็นสิ่งที่ทุกภาคส่วนต้องทำงานอย่างบูรณาการร่วมกัน
นายเผดิมชัย กล่าวต่อไปว่า จากการติดตามสถานการณ์ด้านแรงงานตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม- 19เมษายน 2556 พบว่า มีสถานประกอบการกิจการที่ได้รับผลกระทบจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำเพียง 60 แห่ง มีลูกจ้างทั้งหมด 7,621 ราย และมีสถานประกอบการที่ปิดกิจการหรือเลิกจ้าง 3 แห่ง ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำไม่ได้ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการและลูกจ้างอย่างที่หลายฝ่ายกังวล
ทั้งนี้ หากพิจารณาถึงค่าจ้างขั้นต่ำปี 2556 ของประเทศในอาเซียนจะพบว่ามีความแตกต่างกันมาก ดังนี้ เมียนมาร์ค่าแรงงานขั้นต่ำ 17.40 บาท กัมพูชา 60.90-61.50 บาท เวียดนาม 96 บาท ลาว 100-122.40 บาท อินโดนีเซีย 161.40 บาท ฟิลิปปินส์ 291.60-318 บาท มาเลเซีย 294.30 บาท สิงคโปร์ และบรูไนไม่มีการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ จะเห็นได้ว่าหลายประเทศในอาเซียนมีอัตราค่าจ้างที่ต่ำกว่าในประเทศไทย ซึ่งไม่เป็นเหตุจูงใจให้แรงงานเหล่านี้เคลื่อนย้ายกลับไปประเทศของตน
อีกทั้้ง มีแนวโน้มว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นหากประเทศเหล่านั้นยังไม่มีการขยายหรือพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม จึงเป็นผลให้ไทยยังคงเป็นที่ดึงดูดแรงงานต่างด้าวให้เข้ามาทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นแรงงานต่างด้าวที่จดทะเบียนและเข้ามาทำงานอย่างถูกกฎหมายแล้วจะได้รับสวัสดิการและค่าจ้างเท่าเทียมกับแรงงานไทยทุกประการตามที่กฎหมายกำหนด
สำหรับการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่มีเป้าหมายในการเป็นฐานการผลิตเดียว (Single Market and Production Base) จะส่งผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือมากขึ้น กระทรวงแรงงานจึงมีแนวคิดในการจัดทำเรื่องมาตรฐานฝีมือกลางอาเซียนซึ่งจะส่งผลดีต่อการพัฒนาแรงงานให้มีมาตรฐานสากลและยังเป็นการพัฒนาระบบแรงงานในอาเซียนได้อย่างยั่งยืน ซึ่งจะต้องหารือร่วมกันกับประเทศสมาชิกอาเซียนต่อไป