พาณิชย์นัดหารือเอกชนถกบาทแข็งป่วนส่งออก

นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท.ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน กล่าวว่า จากการที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นตั้งแต่ต้นปีประมาณ 4-5 % ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ส่งออกสินค้า และกระทบอย่างมากกับผู้ที่ใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นหลัก ดังนั้นในวันที่ 24 เมษายนนี้ ส.อ.ท.ได้นัดสมาชิกกลุ่มผู้ส่งออก มาหารือเพื่อรวบรวมปัญหาและอุปสรรคตลอดจนข้อเสนอแนะต่อภาครัฐให้ช่วยเหลือต่อไป

 


นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท.ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน กล่าวว่า จากการที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นตั้งแต่ต้นปีประมาณ 4-5 % ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ส่งออกสินค้า และกระทบอย่างมากกับผู้ที่ใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นหลัก ดังนั้นในวันที่ 24 เมษายนนี้ ส.อ.ท.ได้นัดสมาชิกกลุ่มผู้ส่งออก มาหารือเพื่อรวบรวมปัญหาและอุปสรรคตลอดจนข้อเสนอแนะต่อภาครัฐให้ช่วยเหลือต่อไป

ส่วนในวันที่ 26 เมษายนนี้ ปลัดกระกระทรวงพาณิชย์ได้นัด 3 หน่วยงานภาคเอกชน ประกอบด้วย ส.อ.ท. , สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย เพื่อประชุมด้านการตลาดของ SMEs ซึ่งทราบว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จะเข้าร่วมการประชุมด้วย จึงจะหารือเรื่องปัญหาเงินบาทแข็งค่าไปพร้อมกัน

นายพยุงศักดิ์ กล่าวว่า ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ถือว่าเงินบาทแข็งค่าที่สุดในเอเชีย แต่หากเงินบาทได้รับการดูแล ยังเชื่อว่าการส่งออกปีนี้ จะยังเป็นไปตามเป้าหมาย เติบโต 8-9 % แต่ถ้าหากเงินบาทยังคงแข็งค่ามากขึ้น ก็ยากที่จะประเมินสถานการณ์การส่งออกได้

ทั้งนี้ ยอดการส่งออกล่าสุดของไทยในปี 2556 จากการเปิดเผยของกระทรวงพาณิชย์ คือในเดือนกุมภาพันธ์ โดยการส่งออกมีมูลค่า 1.79 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 5.83 % เมื่อเทียบกับเดือนก.พ.55 ลดลงครั้งแรกในรอบ 6 เดือน ตั้งแต่เดือนก.ย.55 และเมื่อเทียบมูลค่าการส่งออกเป็นเงินบาท มีมูลค่า 5.29 แสนล้านบาท ลดลง 11.32% ขณะที่การนำเข้าเดือนก.พ.56 มีมูลค่า 1.94 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 5.27% แต่เมื่อเทียบในรูปเงินบาทมีมูลค่า 5.82 แสนล้านบาท ลดลง 0.78%  ส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้าก.พ. 56 คิดเป็นมูลค่า 1,557 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือขาดดุล 5.33 หมื่นล้านบาท

กระทรวงพาณิชย์ชี้แจงว่า ปัจจัยที่ทำให้การส่งออกลดลง เป็นผลมาจากการส่งออกกลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรลดลง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมกุ้งแช่แข็ง ที่ได้รับผลกระทบจากผลิตในประเทศลดลง อีกทั้งยังเจอมาตรการสุขอนามัยจากต่างชาติ ทำให้ยอดส่งออกลดลงถึง 22.2 % เช่นเดียวกับยางพาราที่ส่งออกลดลง เนื่องจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว รวมถึงข้าวส่งออกลดลง จากการทยอยส่งมอบข้าวตามสัญญาซื้อข้าวรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ที่ผู้ซื้อต้องจ่ายเงินก่อนถึงส่งมอบข้าวออกไปให้ ส่วนผักผลไม้ น้ำตาล ลดลงมาจากราคาสินค้าในตลาดโลกปรับลดลง

NEWS & TRENDS