นายเจน นำชัยศิริ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า เห็นด้วยว่าไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคค่าไฟฟ้าสูงสุดในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งแตกต่างจากเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมาซึ่งค่าไฟฟ้าไทยต่ำสุดในภูมิภาค คือประมาณ 2 บาทต่อหน่วยเท่านั้น โดยสถานการณ์ราคาค่าไฟฟ้าของไทยที่มีแนวโน้มแพงขึ้นในอนาคตนั้น มีการส่งสัญญาณให้ผู้ประกอบการไทยรับทราบมาหลายเดือนแล้ว และหากรัฐบาลไม่เร่งกระจายเชื้อเพลิงไปยังนิวเคลียร์หรือถ่านหินสำหรับการผลิตไฟฟ้า จะส่งผลให้ค่าไฟฟ้าแพงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) อาจต้องปิดกิจการลงไป หรือย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีค่าไฟฟ้าถูกกว่า เช่น เวียดนามและมาเลเซียแทน
นายเจน นำชัยศิริ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า เห็นด้วยว่าไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคค่าไฟฟ้าสูงสุดในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งแตกต่างจากเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมาซึ่งค่าไฟฟ้าไทยต่ำสุดในภูมิภาค คือประมาณ 2 บาทต่อหน่วยเท่านั้น โดยสถานการณ์ราคาค่าไฟฟ้าของไทยที่มีแนวโน้มแพงขึ้นในอนาคตนั้น มีการส่งสัญญาณให้ผู้ประกอบการไทยรับทราบมาหลายเดือนแล้ว และหากรัฐบาลไม่เร่งกระจายเชื้อเพลิงไปยังนิวเคลียร์หรือถ่านหินสำหรับการผลิตไฟฟ้า จะส่งผลให้ค่าไฟฟ้าแพงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) อาจต้องปิดกิจการลงไป หรือย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีค่าไฟฟ้าถูกกว่า เช่น เวียดนามและมาเลเซียแทน
นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า หากประเทศไทยยังคงดำเนินนโยบายที่จะพึ่งพาการใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าเป็นเชื้อเพลิงหลักถึง 70% ประเทศไทยจะกลายเป็นประเทศที่มีค่าไฟฟ้าสูงเป็นอันดับต้นๆ ในภูมิภาค เนื่องจากก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยซึ่งมีราคาถูกจะค่อยๆ ลดปริมาณลงในอีก 10 ปีข้างหน้า และโรงไฟฟ้าในไทยจะต้องใช้ก๊าซฯ ที่นำมาเข้าในรูปก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) ซึ่งมีราคาสูงกว่าเท่าตัวเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าแทน และเมื่อมีการเปิดประเทศเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ไทยจะไม่ได้เปรียบคู่แข่งในเรื่องของราคาค่าไฟฟ้าอีกต่อไป
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเห็นถึงสัญญาณการเพิ่มขึ้นของราคาค่าไฟฟ้าที่จะเพิ่มเป็น 5 บาทต่อหน่วย จากปัจจุบัน 3.70 บาทต่อหน่วย ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าซึ่งได้มีการหารือและขอข้อมูลจาก กฟผ.ไปแล้ว ซึ่งมีบางอุตสาหกรรมที่ใช้ไฟฟ้าจำนวนมากในกระบวนการผลิตปีละกว่า 100 เมกะวัตต์ กำลังพิจารณาย้ายโรงงานผลิตไปยังประเทศอินโดนีเซีย ที่มีราคาค่าไฟฟ้าต่ำกว่าไทย