นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน กล่าวในการเป็นประธานเปิดเวทีประชาสัมพันธ์กระบวนการผ่อนผันแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองเป็นกรณีพิเศษเพื่อดำเนินการอย่างถูกกฎหมาย ว่า ปัจจุบันมีแรงงานต่างด้าวทั้งสัญชาติพม่า กัมพูชาและลาวทำงานอยู่ในไทยโดยถูกต้องตามกฎหมายกว่า 1.2 ล้านคน แต่มีแรงงานต่างด้าวยังไม่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติกว่า 2.6 แสนคนซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวที่ยังไม่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ รวมไปถึงแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบเข้ามาทำงานในไทยอย่างผิดกฎหมายสามารถอาศัยและทำงานอยู่ในประเทศไทยได้ชั่วคราวเป็นเวลา 120 วัน นับตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2555-16 เมษายน 2556 เพื่อให้ดำเนินการขอเอกสารรับรองเพื่อเป็นแรงงานต่างด้าวที่ถูกกฎหมาย โดยขณะนี้ กกจ.ได้เปิดให้นายจ้างมายื่นขอโควตาจ้างงานของแรงงานต่างด้าวที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดต่างๆ และสำนักจัดหางานกรุงเทพฯเขตพื้นที่ 1-10 ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 16 มีนาคมนี้
นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน กล่าวในการเป็นประธานเปิดเวทีประชาสัมพันธ์กระบวนการผ่อนผันแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองเป็นกรณีพิเศษเพื่อดำเนินการอย่างถูกกฎหมาย ว่า ปัจจุบันมีแรงงานต่างด้าวทั้งสัญชาติพม่า กัมพูชาและลาวทำงานอยู่ในไทยโดยถูกต้องตามกฎหมายกว่า 1.2 ล้านคน แต่มีแรงงานต่างด้าวยังไม่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติกว่า 2.6 แสนคนซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวที่ยังไม่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ รวมไปถึงแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบเข้ามาทำงานในไทยอย่างผิดกฎหมายสามารถอาศัยและทำงานอยู่ในประเทศไทยได้ชั่วคราวเป็นเวลา 120 วัน นับตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2555-16 เมษายน 2556 เพื่อให้ดำเนินการขอเอกสารรับรองเพื่อเป็นแรงงานต่างด้าวที่ถูกกฎหมาย โดยขณะนี้ กกจ.ได้เปิดให้นายจ้างมายื่นขอโควตาจ้างงานของแรงงานต่างด้าวที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดต่างๆ และสำนักจัดหางานกรุงเทพฯเขตพื้นที่ 1-10 ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 16 มีนาคมนี้
“เมื่อพ้นวันที่ 16 มีนาคมนี้แล้วจะไม่มีการเปิดให้นายจ้างมายื่นขอโควตาได้อีก เพื่อป้องกันนายจ้างพาแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบเข้ามาใหม่มาดำเนินการเพราะการผ่อนผันครั้งนี้เป็นการช่วยเหลือนายจ้างที่เดือดร้อนและมีแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายอยู่เดิม และเมื่อครบกำหนดวันที่ 16 เมษายนนี้ จะไม่มีการขยายเวลาผ่อนผันเว้นแต่จะเสนอ ครม.ขอขยายเวลาดำเนินการออกเอกสาร ถ้ามีแรงงานต่างด้าวมาเข้าสู่กระบวนการจำนวนมาก ซึ่งคาดว่าไม่น่าจะเกินกว่า 8 แสนคน และต่อไปแรงงานต่างด้าวจะเข้ามาทำงานในไทยโดยผ่านระบบเอ็มโอยูเท่านั้น” นายประวิทย์ กล่าว