รัฐร่วม 2 องค์กรจัดโครงการปั้น Smart farmer

นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า “โครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรรุ่นใหม่ ภายใต้ความร่วมมือโครงการสนับสนุนการสร้างสมาร์ท ฟาร์มเมอร์ (Smart Farmer) เป็นการร่วมมือกันระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ดำเนินการขึ้นเพื่อสร้าง Smart farmer รุ่นใหม่ เข้าสู่ภาคการเกษตร ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการปรับเพิ่มผลผลิตภาพ และความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย โดยการทำการเกษตรภายใต้หลักการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาวางแผนการผลิตที่เหมาะสมกับภูมิสังคม ใช้ข้อมูลเศรษฐกิจมาวางแผนการตลาด อันเป็นการปฏิรูปการเกษตรประเทศไทยจากการทำการเกษตรตามความเคยชิน ไปสู่การเกษตรที่ใช้วิชาการ ทุกสาขาวิชา

 


นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า “โครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรรุ่นใหม่ ภายใต้ความร่วมมือโครงการสนับสนุนการสร้างสมาร์ท ฟาร์มเมอร์ (Smart Farmer) เป็นการร่วมมือกันระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ดำเนินการขึ้นเพื่อสร้าง Smart farmer รุ่นใหม่ เข้าสู่ภาคการเกษตร ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการปรับเพิ่มผลผลิตภาพ และความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย โดยการทำการเกษตรภายใต้หลักการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาวางแผนการผลิตที่เหมาะสมกับภูมิสังคม ใช้ข้อมูลเศรษฐกิจมาวางแผนการตลาด อันเป็นการปฏิรูปการเกษตรประเทศไทยจากการทำการเกษตรตามความเคยชิน ไปสู่การเกษตรที่ใช้วิชาการ ทุกสาขาวิชา

ทั้งด้านการเกษตร การตลาด การบริหารจัดการ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการมีจิตสำนึกทางธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม มาใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการฟาร์มเกษตร โครงการนี้จะสนับสนุนสินเชื่อธุรกิจเกษตรจาก ธ.ก.ส. ให้แก่นิสิต นักศึกษา ที่กำลังศึกษาอยู่ในสถาบันอุดมศึกษา และผู้สำเร็จการศึกษาแล้วไม่เกิน 5 ปี โดยจะต้องเขียนแผนธุรกิจ (Business Model) ที่มีความเป็นไปได้ทางธุรกิจให้คณะทำงานสามฝ่ายพิจารณา ซึ่งแผนธุรกิจลงทุนหรือแผนต่อยอดจะต้องมีเป้าหมายสำคัญเพื่อปรับปรุงผลิตภาพการผลิตและการตลาดให้มีมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหารและสิ่งแวดล้อม และเพื่อได้สินค้าและผลิตภัณฑ์เกษตรที่มีคุณภาพและสร้างความแตกต่างในตลาด (Differentiate Product) โดยตอนนี้มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ มากกว่า 50 ราย ที่พร้อมจะอบรมแผนธุรกิจจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเสนอแผนธุรกิจหลายหลากประเภทธุรกิจด้วยกัน อาทิ สิ่งทอ    ทำถุงมือทุกชนิดทั้งถุงมือผ้า และถุงมือยาง, ฟาร์มโคเนื้อ (ขายพันธุ์โคชน), ฟาร์มเห็ดชีวภาพ, น้ำสมุนไพรพรีเมี่ยม

ด้านรองศาสตราจารย์วุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า “โครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการรุ่นใหม่นี้ จะมีรูปแบบการให้คำปรึกษาแนะนำเทคนิค กระบวนการ และอบรมแผนธุรกิจ เพื่อพัฒนานิสิต นักศึกษา ที่ผ่านการสมัครและได้รับเลือกเข้าสู่โครงการ จำนวน 30 ราย ให้ได้รับทักษะทั้งด้านการผลิต การตลาด    การจัดการ และการบริหารการเงินซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นในการดำเนินธุรกิจ และได้แผนธุรกิจที่จะสามารถให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาในการขอรับสนับสนุนเงินทุนประกอบการได้ และพัฒนาผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจด้านการเกษตร ให้สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นระบบ และมีคุณภาพ ทั้งลดอัตราความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจด้วย”

ส่วนนายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า ธ.ก.ส. จะสนับสนุนด้านสินเชื่อและส่งเสริมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับโครงการ พร้อมทั้งสนับสนุนองค์ความรู้ด้านธุรกิจการเกษตร การตลาด และการบริหารจัดการทางการเงิน เพื่อนำไปสู่การต่อยอดในการดำเนินธุรกิจของเกษตรกร โดยเตรียมวงเงินสินเชื่อสำหรับผู้ที่ผ่านการพิจารณาในโครงการนี้ เริ่มต้นที่ 500,000,000 บาท ซึ่งจะทำให้เกิดการลงทุนและสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจการเกษตรในอนาคต อันเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการเกษตรประเทศตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

NEWS & TRENDS