นางศิริรัตน์ จิตต์เสรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า สินค้าและบริการที่มีกระบวนการผลิต บนแนวคิดที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและสังคม กำลังอยู่ในกระแสของตลาดโลก ซึ่งเป็นที่น่าจับตามองต่อภาคอุตสาหกรรม ที่มีกระบวนการผลิตบนพื้นฐานของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นจำนวนมาก ทำให้ภาคการผลิตของหลายอุตสาหกรรมต้องมีการตื่นตัว และปรับเปลี่ยนกลไกการผลิตให้มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทางกระทรวงอุตสาหกรรม(อก.) จึงมีนโยบายผลักดันให้อุตสาหกรรมภายในประเทศเป็นอุตสาหกรรมห่วงโซ่สีเขียวเพื่อนำไปสู่การเป็นผู้นำการพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียวของอาเซียนได้ภายใน 5 ปี โดยได้มอบหมายให้กรมส่งสริมอุตสาหกรรรม(กสอ.) ดำเนินโครงการตามนโยบายดังกล่าว ทาง กสอ. จึงได้ริเริ่มโครงการห่วงโซ่สีเขียวอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป (Green Agro Processing Industry Project: GAPI) ที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่
นางศิริรัตน์ จิตต์เสรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า สินค้าและบริการที่มีกระบวนการผลิต บนแนวคิดที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและสังคม กำลังอยู่ในกระแสของตลาดโลก ซึ่งเป็นที่น่าจับตามองต่อภาคอุตสาหกรรม ที่มีกระบวนการผลิตบนพื้นฐานของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นจำนวนมาก ทำให้ภาคการผลิตของหลายอุตสาหกรรมต้องมีการตื่นตัว และปรับเปลี่ยนกลไกการผลิตให้มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทางกระทรวงอุตสาหกรรม(อก.) จึงมีนโยบายผลักดันให้อุตสาหกรรมภายในประเทศเป็นอุตสาหกรรมห่วงโซ่สีเขียวเพื่อนำไปสู่การเป็นผู้นำการพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียวของอาเซียนได้ภายใน 5 ปี โดยได้มอบหมายให้กรมส่งสริมอุตสาหกรรรม(กสอ.) ดำเนินโครงการตามนโยบายดังกล่าว ทาง กสอ. จึงได้ริเริ่มโครงการห่วงโซ่สีเขียวอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป (Green Agro Processing Industry Project: GAPI) ที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 2โดยใช้แนวคิด การจัดการโซ่อุปทานสีเขียว (Green Supply Chain Management : GSCM)
สำหรับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการในปี 2555 ที่ผ่านมา สามารถลดต้นทุนรวมได้กว่า 20 ล้านบาท โดยใช้กลยุทธ์กลยุทธ์ การจัดการการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเพื่อก่อให้เกิดกำไร( Profitability Resource and Environment Management – PREMA ) ซึ่งเป็นการจัดการทั้งกระบวนการผลิตตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำให้สอดคล้องและส่งต่อกันเป็นโซ่อุปทานสีเขียว (Green Supply Chain Management : GSCM) ที่ให้ภาคอุตสาหกรรมหันมาใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตลอดจนการนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งจะเน้นให้เกิดประสิทธิผล และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทุกขั้นตอนของกระบวนการ
โดยปีนี้ตั้งเป้าผู้ประการเข้าร่วมโครงการกว่า 20 ราย และสามารถลดต้นทุนรวมกว่า 20 ล้านบาท อีกทั้ง กสอ. ตั้งเป้าดันให้อุตสาหกรรมไทยภายในประเทศเป็นอุตสาหกรรมห่วงโซ่สีเขียวเพื่อนำไปสู่การเป็นผู้นำการพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียวของอาเซียนได้ภายใน 5 ปี
สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมโครงการห่วงโซ่สีเขียวอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป (GAPI) สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หมายเลขโทรศัพท์ 02-202-4537 หรือเข้าไปที่ www.dip.go.th