นายพัชร สมะลาภา รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า กลยุทธ์การรุกตลาดสินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอีในปีนี้จะขยายไปตลาดต่างจังหวัดมากขึ้น โดยเฉพาะการค้าชายแดนที่กำลังเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ตามทิศทางการเปิดสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) เน้นการให้บริการด้านธุรกรรมผ่านระบบธนาคาร ซึ่งเป็นธุรกรรมที่ช่วยลดปัญหาความผันผวนของค่าเงินของประเทศเพื่อนบ้านที่ ยังขาดเสถียรภาพ
นายพัชร สมะลาภา รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า กลยุทธ์การรุกตลาดสินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอีในปีนี้จะขยายไปตลาดต่างจังหวัดมากขึ้น โดยเฉพาะการค้าชายแดนที่กำลังเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ตามทิศทางการเปิดสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) เน้นการให้บริการด้านธุรกรรมผ่านระบบธนาคาร ซึ่งเป็นธุรกรรมที่ช่วยลดปัญหาความผันผวนของค่าเงินของประเทศเพื่อนบ้านที่ ยังขาดเสถียรภาพ
"จุดหลักที่กำลังเติบโตในการค้าชายแดนจะมีทั้งด่าน แม่สอด จ.ตาก ด่านแม่สาย จ.เชียงราย และ จ.อุดรธานี ซึ่งช่วงนี้เติบโตขึ้นมากเป็นเท่าตัว เราก็พยายามโปรโมตให้ลูกค้ามาทำธุรกรรมผ่านธนาคารแทนซึ่งทำบนสกุลดอลลาร์ ที่ค่าเงินมีเสถียรภาพดีกว่า"
นอกจากนี้ กรณีที่ธุรกิจสนใจจะเข้าไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน ธนาคารก็จะช่วยสนับสนุนด้านเงินทุนอีกเช่นกัน ซึ่งเริ่มเห็นการลงทุนในลักษณะนี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจพื้นฐาน เช่น การค้าขาย โลจิสติกส์ ดีลเลอร์รถยนต์และรถจักรยานยนต์ วงเงินค่อนข้างหลากหลาย สูงสุดประมาณ 100-200 ล้านบาท
นายพัชรกล่าวอีกว่า กลยุทธ์ในปีนี้ธนาคารยังมองถึงการขยายฐานสินเชื่อธุรกิจรายเล็กที่มียอดขาย ไม่เกิน 50 ล้านบาท/ปี ซึ่งเป็นกลุ่มที่ยังมีโอกาสเติบโตมาก การแข่งขันน้อย และมักจะยังเข้าไม่ถึงบริการทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ โดยจะเน้นธุรกิจที่อยู่ในพื้นที่ยุทธศาสตร์ของธนาคาร 31 จังหวัด ซึ่งสอดคล้องกับโครงสร้างธุรกิจสินเชื่อเอสเอ็มอีที่สัดส่วนปัจจุบัน 70% มาจากตลาดต่างจังหวัด
ส่วนประเด็นเรื่องต้นทุนของธุรกิจเอสเอ็มอีที่ จะถูกกระทบจากมาตรการค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาทนั้น นายพัชรกล่าวว่า กลุ่มธุรกิจที่มีสัดส่วนต้นทุนแรงงานสูงจะกระทบมาก ทั้งกลุ่มเกษตร เฟอร์นิเจอร์ไม้ สิ่งทอ และพลาสติก
ทั้งนี้ ธนาคารได้เตรียมมาตรการ ช่วยเหลือลูกค้าปัจจุบันใน 3 เรื่อง คือ การพักชำระเงินต้น 6 เดือน เพื่อให้มีเวลาปรับตัว การเพิ่มเงินทุนหมุนเวียนให้อีก 20% ของวงเงินสินเชื่อหมุนเวียนเดิม สูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท/ราย วงเงินรวม 1 หมื่นล้านบาท และสนับสนุนสินเชื่อการลงทุนเครื่องจักรเพื่อทดแทนแรงงานบางส่วน
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ