ธุรกิจไทย-เทศหวั่นแผนใหม่บีโอไอกระทบธุรกิจ

นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า การรับฟังความเห็นร่างยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนในระยะ 5 ปี (2556-2560) ที่ผ่านมา นักธุรกิจกังวลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนใหม่ โดยธุรกิจบางอย่างอยู่ในประเภทกิจการเดียวกันแต่รายละเอียดของธุรกิจไม่เหมือนกัน ทำให้บีโอไอต้องรับฟังความเห็นเพิ่มเติม ตามกำหนดเดิมบีโอไอวางแผนที่จะเสนอร่างยุทธศาสตร์ให้คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนในเดือน มี.ค.นี้ และมีผลบังคับใช้ในกลางปีนี้ แต่ถ้าต้องรับฟังความเห็นเพิ่มก็อาจเลื่อนบังคับใช้ออกไปได้ เพื่อให้พิจารณารอบคอบมากขึ้น

 


นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า การรับฟังความเห็นร่างยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนในระยะ 5 ปี (2556-2560) ที่ผ่านมา นักธุรกิจกังวลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนใหม่ โดยธุรกิจบางอย่างอยู่ในประเภทกิจการเดียวกันแต่รายละเอียดของธุรกิจไม่เหมือนกัน ทำให้บีโอไอต้องรับฟังความเห็นเพิ่มเติม ตามกำหนดเดิมบีโอไอวางแผนที่จะเสนอร่างยุทธศาสตร์ให้คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนในเดือน มี.ค.นี้ และมีผลบังคับใช้ในกลางปีนี้ แต่ถ้าต้องรับฟังความเห็นเพิ่มก็อาจเลื่อนบังคับใช้ออกไปได้ เพื่อให้พิจารณารอบคอบมากขึ้น

ร่างยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนใหม่ยกเลิกส่งเสริมการลงทุนตามเขตส่งเสริมการลงทุน 1-3 และให้สิทธิส่งเสริมการลงทุนให้เกิดคลัสเตอร์อุตสาหกรรมใหม่ในภูมิภาค ซึ่งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนยื่นขอให้บีโอไอกำหนดสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนคลัสเตอร์ได้ และที่ผ่านมาภาครัฐต้องการส่งเสริมการลงทุนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็จะมีการกำหนดสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยต่อไปถ้าเอกชนรวมกลุ่มคลัสเตอร์ในบางพื้นที่ต้องการส่งเสริมการลงทุนก็สามารถเสนอบีโอไอเข้ามาได้

นายณรงค์ ตนานุวัฒน์ ประธานกิตติมศักดิ์หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า นักธุรกิจในภาคเหนือไม่เห็นด้วยกับการยกเลิกส่งเสริมการลงทุนบางประเภท เช่น การเพาะปลูกด้วยระบบ Hydroponics การปลูกป่า เหมืองแร่ การบริการเพื่อสนับสนุนการพำนักระยะยาว โดยในภาคเหนือมีธุรกิจการเกษตรมาก จึงเห็นว่าควรส่งเสริมการลงทุนการเกษตรมากกว่าที่จะตัดการส่งเสริมออก รวมทั้งในภาคเหนือมีชาวต่างชาติที่เกษียณอายุแล้วมาพักระยะยาว จึงไม่ควรตัดส่งเสริมการลงทุนเพื่อสนับสนุนการพำนักระยะยาวออก และต้องการให้คงสิทธิประโยชน์ของเขตส่งเสริมการลงทุน 3 ไว้ เพื่อจูงใจให้ลงทุนในภูมิภาคต่อ

ด้านนาย Shigeru Kamahara รองประธานสมาคมผู้ประกอบการญี่ปุ่นในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ กล่าวว่า การเปลี่ยนนโยบายส่งเสริมการลงทุนกะทันหันจะมีผลต่อการวางแผนการลงทุนของนักธุรกิจต่างชาติ และที่ผ่านมามีนโยบายรัฐที่กระทบกับการทำธุรกิจ เช่น การปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท โดยการปรับยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนครั้งนี้กระทบกับเขตส่งเสริมการลงทุน 3 และอาจมีผลต่อผู้ประกอบการบางรายว่าจะทำธุรกิจในไทยต่อได้หรือไม่ จึงเห็นว่าภาครัฐควรพิจารณาให้รอบคอบและให้เวลาผู้ประกอบการเตรียมตัว เพราะถ้าผู้ประกอบการบางรายมีขีดจำกัดในการปรับตัว
 
 
ที่มา : แนวหน้า

NEWS & TRENDS