นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้มีสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 2 แห่ง ที่มีปัญหาเรื่องการดำเนินงาน คือ ธนาคารเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธพว. หรือเอสเอ็มอีแบงก์ และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) เนื่องจากมีหนี้เสียที่เกิดจากการปล่อยสินเชื่อและการบริหารงานที่ไม่มีประสิทธิภาพจำนวนมาก โดยตนได้สั่งการให้ธนาคารทั้ง 2 แห่งเร่งส่งแผนฟื้นฟูให้กระทรวงการคลังพิจารณา ซึ่งเบื้องต้นกระทรวงการคลังได้เตรียมวงเงินไว้จำนวน 1 พันล้านบาท เพื่อใช้ในการเพิ่มทุน ซึ่งจะเป็นการทยอยเพิ่มทุนตามความก้าวหน้าของการแก้ปัญหาดังกล่าวของธนาคาร
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้มีสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 2 แห่ง ที่มีปัญหาเรื่องการดำเนินงาน คือ ธนาคารเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธพว. หรือเอสเอ็มอีแบงก์ และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) เนื่องจากมีหนี้เสียที่เกิดจากการปล่อยสินเชื่อและการบริหารงานที่ไม่มีประสิทธิภาพจำนวนมาก โดยตนได้สั่งการให้ธนาคารทั้ง 2 แห่งเร่งส่งแผนฟื้นฟูให้กระทรวงการคลังพิจารณา ซึ่งเบื้องต้นกระทรวงการคลังได้เตรียมวงเงินไว้จำนวน 1 พันล้านบาท เพื่อใช้ในการเพิ่มทุน ซึ่งจะเป็นการทยอยเพิ่มทุนตามความก้าวหน้าของการแก้ปัญหาดังกล่าวของธนาคาร
ทั้งนี้ แผนการแก้ไขหนี้เสียที่ธนาคารทั้ง 2 แห่งที่ส่งมาในเบื้องต้นยังไม่มีความชัดเจนว่าจะทำได้หรือไม่ โดยเรื่องนี้ทางสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) จึงขอดูรายละเอียดให้ชัดเจนอีกรอบ โดยเฉพาะในส่วนของเอสเอ็มอีแบงก์ที่มีหนี้เสียสูงถึง 40-50% ของหนี้ทั้งหมด เป็นประเด็นที่ต้องมีความชัดเจนว่าจะปรับโครงสร้างหนี้ให้กลับมาดีได้อย่างไร
“ขั้นแรกสำหรับแผนฟื้นฟูของทั้ง 2 ธนาคาร กระทรวงการคลังเองยังอยากให้ใช้วิธีการปรับโครงสร้างหนี้ไปก่อน ยังไม่อยากคิดไปไกลถึงขนาดที่ต้องมีการยุบธนาคารใดๆ โดยคงต้องรอดูแผนฟื้นฟูที่จะเสนอเข้ามาอีกรอบก่อนว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่ หรือสุดท้ายหากดำเนินการไปแล้วยังไม่สำเร็จก็ค่อยมาแก้ไขด้วยแนวทางอื่นก่อน โดยเฉพาะการยุบเอสเอ็มอีแบงก์ถือเป็นเรื่องน่าเสียดาย เพราะเป็นธนาคารที่รองรับการปล่อยสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในส่วนที่ไม่สามารถเข้าถึงธนาคารพาณิชย์ได้ แล้วหากต้องยุบจริงๆ จะหาอะไรมาทดแทนส่วนนี้ ดังนั้นจึงไม่อยากพูดเรื่องนี้มากนัก โดยคาดว่าภายใน 1-2 สัปดาห์จากนี้น่าจะมีความชัดเจนเรื่องแนวทางการฟื้นฟูฯ” นายอารีพงศ์กล่าว
นายอารีพงศ์กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมารัฐบาลได้ให้ความสำคัญของการปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั้งประเทศ 3 ล้านรายทั่วประเทศ แต่การปล่อยสินเชื่อของเอสเอ็มอีแบงก์ดำเนินการได้เพียงส่วนเดียวเท่านั้น ต้องอาศัยธนาคารพาณิชย์ และให้บรรษัทค้ำประกันสินเชื่อขนาดกลางและขนาดย่อม (บสย.) เข้าไปค้ำประกันให้ เพราะเอสเอ็มอีแบงก์ยังมีปัญหาเรื่องการดำเนินงานอยู่
ด้าน นายนริศ ชัยสูตร อธิบดีกรมธนารักษ์ ในฐานะประธานเอสเอ็มอีแบงก์ เปิดเผยว่า ตอนนี้ได้ให้ฝ่ายบริหารรวบรวมตัวเลขสินเชื่อที่ธนาคารดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล เพื่อขอเงินชดเชยในกรณีที่มีความเสียเกิดเป็นหนี้เสียขึ้น ส่วนการแก้ไขปัญหาเอสเอ็มอีแบงก์ให้ไปควบรวมกับธนาคารออมสิน เป็นเรื่องของฝ่ายนโยบายที่จะตัดสินใจ