นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า ในเรื่องการดูแลค่าเงินบาทผันผวนแข็งค่าในช่วงนี้ จริงๆไม่อยากให้มาดีเบตกันว่าควรปล่อยให้แข็งหรือควรแทรกแซงหรือไม่ แต่มองว่าไทยควรปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภายในอย่างไรให้ดีขึ้น ไม่ให้ภาวะค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างเดียวมาทำให้เดือดร้อนกันไปหมด ซึ่งในสถานการณ์บาททยอยแข็งค่าเช่นนี้ เป็นโอกาสในการนำเข้าปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและโครงการลงทุนต่างๆจะดีกว่า เพราะการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นตามการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นเรื่องดี
นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า ในเรื่องการดูแลค่าเงินบาทผันผวนแข็งค่าในช่วงนี้ จริงๆไม่อยากให้มาดีเบตกันว่าควรปล่อยให้แข็งหรือควรแทรกแซงหรือไม่ แต่มองว่าไทยควรปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภายในอย่างไรให้ดีขึ้น ไม่ให้ภาวะค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างเดียวมาทำให้เดือดร้อนกันไปหมด ซึ่งในสถานการณ์บาททยอยแข็งค่าเช่นนี้ เป็นโอกาสในการนำเข้าปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและโครงการลงทุนต่างๆจะดีกว่า เพราะการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นตามการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นเรื่องดี
“เงินบาทไม่ใช่ไม่เคยแข็งค่า แต่ปัจจัยบาทแข็งเป็นมาตลอด ไม่ใช่เพิ่งเกิด ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องจึงควรปรับตัว ไม่ใช่เอาค่าเงินบาทเป็นตัวกำหนดธุรกิจ ซึ่งผมเห็นด้วยกับนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ที่ทยอยลดการแทรกแซงค่าเงินบาทแข็ง ปล่อยให้เป็นไปตามกลไกลตลาดมากขึ้น เป็นสัญญาณที่ดีที่จะมาเริ่มปรับตัวและใช้โอกาสในการนำเข้า อย่างไรก็ตาม การดูแลแทรกแซงบ้าง เพื่อไม่ให้ค่าเงินบาทผันผวนเกินไปเป็นเรื่องที่ควรทำ แต่ไม่ใช่แทรกแซงจนเปลี่ยนทิศทาง” นายสมชัยกล่าว
นายสมชัย กล่าวว่า เดิมการเข้าแทรกแซงค่าเงินบาทแข็งอาจจะเป็นเรื่องที่ไทยหลีกเลี่ยงได้ยาก เนื่องจากเดิมเศรษฐกิจไทยขับเคลื่อนด้วยหัวรถจักรการส่งออกเป็นสำคัญ ฉะนั้น เมื่อเงินบาทแข็งค่าขึ้นก็กระทบเศรษฐกิจมาก แต่ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปพอสมควรแล้ว เนื่องจากเศรษฐกิจขยายตัวได้จากหลายปัจจัย