นายเจน นำชัยศิริ รองประธาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2556 ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมร่วมกับกลุ่มอุตสาหกรรม และสมาคมที่ได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทเพื่อเสนอมาตรการบรรเทาต่อ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)และเสนอต่อรัฐบาลพิจารณาเพื่อช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน 7 ข้อ ประกอบด้วย
นายเจน นำชัยศิริ รองประธาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2556 ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมร่วมกับกลุ่มอุตสาหกรรม และสมาคมที่ได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทเพื่อเสนอมาตรการบรรเทาต่อ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)และเสนอต่อรัฐบาลพิจารณาเพื่อช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน 7 ข้อ ประกอบด้วย
1.ธปท.ควรดูแลค่าเงินบาทไม่ให้เกิดความผันผวน 2.อย่าให้เงินบาทไทยแข็งค่ากว่าคู่แข่ง เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย เป็นต้น เพราะปัจจุบันทุกตลาดมีการแข่งขันการอย่างรุนแรงการที่ไทยแข็งกว่าคู่แข่งทำให้เกิดความเสียเปรียบ 3.อยากให้ปลดล็อกเรื่องการถือเงินตราต่างประเทศให้นานขึ้น โดยไม่บังคับผู้ส่งออกให้รีบขายเงินที่ถือ 4.ลดวงเงินค่าธรรมเนียมการทำประกันความเสี่ยงการส่งออกให้กับผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี)
5.ขอให้ธปท.นำมาตรการออกมาควบคุมเงินต่างประเทศเข้ามาเก็งกำไร เช่น มาตรการสำรอง 30% ในช่วง 6 เดือน-1 ปี อย่างที่เคยทำมาก่อนในอดีต หรือการเก็บภาษีจากกำไรจากการขายหุ้น เป็นต้น 6.ขอให้คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) เร่งออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนไทยไปต่างประเทศ เพราะเรื่องนี้ทราบว่าอยู่ระหว่างการแก้ไขกฎหมายมานานพอสมควร และ 7.ให้ภาครัฐเร่งลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ในช่วงที่เงินบาทแข็งค่า เพื่อให้ค่าเงินอ่อนตัวลง
นอกจากนี้สำนักงานวิชาการสอท.ได้รวบรวมข้อมูลการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศของไทยและประเทศในภูมิเอเชียเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐที่เคลื่อนไหวระหว่างวันที่ 21 ธันวาคม -17 มกราคม พบว่าเงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้นมากที่สุดคือ 3.13% รองลงมา คือ อินเดีย แข็งค่าขึ้น 2.4% เกาหลีใต้ 2.35% มาเลเซีย 2.2% ฟิลิปปินส์ 1.62% เวียดนาม 0.66% ไต้หวัน 0.45% จีน 0.4% อินโดนีเซีย 0.05% ขณะที่ฮ่องกง อ่อนค่าลง 0.03% สิงคโปร์อ่อนค่าลง 0.58% บรูไนอ่อนค่าลง 0.67% ญี่ปุ่นอ่อนค่าลง 6.88% จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าไทยเป็นประเทศที่ค่าเงินบาทแข็งค่ามากสุดในภูมิภาคเอเชีย