ไอพีจีฯ เผยพฤติกรรมผู้บริโภคปี 2556 พบทุกเพศทุกวัยเสพ "ดิจิทัล มีเดีย" เทรนด์ออนไลน์มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ ระบุแนวโน้มโฆษณาปีนี้โต 8-10%ไอพีจี มีเดียแบรนด์ส เผยผลวิจัยชอปเปอร์ ไซอันซ์ (Shopper Science) วิเคราะห์ผู้บริโภคปี 2556 อิทธิพลสื่อและสิ่งแวดล้อมรอบด้านส่งผลต่อพฤติกรรม การตัดสินใจซื้อสินค้าแต่ละครั้งของผู้บริโภค
ไอพีจีฯ เผยพฤติกรรมผู้บริโภคปี 2556 พบทุกเพศทุกวัยเสพ "ดิจิทัล มีเดีย" เทรนด์ออนไลน์มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ ระบุแนวโน้มโฆษณาปีนี้โต 8-10%ไอพีจี มีเดียแบรนด์ส เผยผลวิจัยชอปเปอร์ ไซอันซ์ (Shopper Science) วิเคราะห์ผู้บริโภคปี 2556 อิทธิพลสื่อและสิ่งแวดล้อมรอบด้านส่งผลต่อพฤติกรรม การตัดสินใจซื้อสินค้าแต่ละครั้งของผู้บริโภค
นายสร เกียรติคณารัตน์ กรรมการผู้จัดการ สแทรทิจีและอินโนเวชั่น ในเครือไอพีจี มีเดียแบรนด์ส ผู้ดำเนินธุรกิจการวางแผนและซื้อสื่อโฆษณา เปิดเผยว่า ไอพีจีฯ เปิดแผนกชอปเปอร์ ไซอันซ์ ต้นปีนี้เพื่อให้บริการวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาด และวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคเชิงลึก ทั้งพฤติกรรมการซื้อ และปัจจัยรอบด้านที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค รวมถึงปัจจัยกระตุ้นการซื้อซ้ำในครั้งต่อไป เพื่อนำไปวิเคราะห์วางแผนสื่อให้เหมาะสมสำหรับสินค้า และวางแผนสื่อสารกับผู้บริโภค
จากผลวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคดิจิทัลต่อการซื้อสินค้าเทคโนโลยี และสินค้าเพื่อสุขภาพความงาม พบว่ารูปแบบการซื้อที่แตกต่างไปจากความเชื่อเดิม ตัวอย่างกลุ่มผู้หญิงที่มีความเข้าใจเทคโนโลยีน้อยกว่าผู้ชาย พฤติกรรมการซื้อสินค้าเทคโนโลยี เช่น กล้องถ่ายรูป สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ มีการหาข้อมูลทั้งสื่อออฟไลน์และออนไลน์ไปพร้อมกัน ทั้งการสอบถามจากเซลส์จำหน่าย ดูการสาธิตสินค้า ถามเพื่อน อ่านจากนิตยสาร และค้นหาข้อมูลจากออนไลน์รีวิว 54% ค้นหากรุ๊ปดีล 36% เพื่อให้ได้สินค้าราคาพิเศษ หรือเข้าดูเว็บไซต์ร้านค้าปลีก 44%
ขณะที่พฤติกรรมการซื้อสินค้าเพื่อสุขภาพ และความงาม กลุ่มผู้ชายอายุ 25-34 ปี มีการอ่านรีวิว ออนไลน์ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ แม้สินค้าราคาไม่แพงก็ตาม รวมทั้งสอบถามข้อมูลจากพนักงานขาย และผู้เชี่ยวชาญ ณ จุดขายก่อนซื้อสินค้า ขณะที่กลุ่มผู้บริโภคอายุ 40 ปีขึ้นไป ที่เดิมนักการตลาดมองว่า เป็นกลุ่มที่ "ไม่เปลี่ยนแบรนด์" พบว่า เป็นกลุ่มที่เปิดรับสื่อดิจิทัล มีการหาข้อมูลการซื้อสินค้าจากโซเชียล มีเดีย และพร้อมเปลี่ยนใจซื้อสินค้าแบรนด์อื่น หากให้ข้อเสนอด้านราคาและโปรโมชั่นดีกว่าแบรนด์เดิมสื่อดิจิทัลกระตุ้นตัดสินใจซื้อ
ผู้บริโภคในยุคนี้จะเปิดรับทั้งสื่อออนไลน์ และออฟไลน์ในการตัดสินใจซื้อสินค้า แต่ช่วงเวลาท้ายสุดของการตัดสินใจซื้อ พบว่า กลุ่มอายุ 15-24 ปี จะใช้สื่อออนไลน์ ช่วยตัดสินใจซื้อมากที่สุด ได้แก่ ออนไลน์ รีวิว 41% ออนไลน์ เสิร์ช 40% ออนไลน์ วีดิโอ 37% เว็บไซต์ของแบรนด์ 35% โมบาย เสิร์ช 35% และเว็บไซต์ร้านค้าปลีก 32%
ขณะที่กลุ่มผู้บริโภคอายุ 25-34 ปี พบว่า ใช้สื่อออนไลน์ช่วยตัดสินใจซื้อช่วงเวลาท้ายสุด คือ เว็บไซต์แบรนด์ 46% เว็บไซต์ร้านค้าปลีก 40% และ โมบายเสิร์ช 31% และกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปนั้น พบว่า ใช้สื่อออนไลน์หาข้อมูลสำหรับการตัดสินใจซื้อช่วงเวลาสุดท้าย คือ ออนไลน์เสิร์ช 47% เว็บไซต์แบรนด์ 48% และเว็บไซต์ร้านค้าปลีก 50%
ผลวิจัยพฤติกรรมดังกล่าว มองว่า ร้านค้าปลีกต้องปรับตัวด้านเครื่องมือสื่อสาร และช่องทางจำหน่าย ตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ที่ผ่านมาได้เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงบ้างแล้ว จากการพัฒนาช่องทาง ชอปปิง ออนไลน์ของกลุ่มค้าปลีก เช่น เซ็นทรัล เดอะมอลล์ บิ๊กซี เทสโก้ฯ
"สื่อดิจิทัลที่กำลังมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคมากขึ้น จากแพลตฟอร์มดิจิทัลหลากหลาย ถือเป็นปัจจัยสำคัญมีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคในยุคนี้" นายสร กล่าว
แนะค้าปลีกรุกออนไลน์
นาวสาวกนกกาญจน์ ประจงแสงศรี ผู้อำนวยการสมทบ สแทรทิจีและอินโนเวชั่น ในเครือไอพีจี มีเดียแบรนด์ส กล่าวว่า ยุคดิจิทัลผู้บริโภคมีช่องทางเสพสื่อหลายแพลตฟอร์ม ทำให้การเข้าถึงข้อมูลสามารถทำได้ "ทุกที่ ทุกเวลา" ปัจจุบันจึงพบพฤติกรรมผู้บริโภคดูสินค้าที่ร้านจำหน่าย แต่การตัดสินใจกลับซื้อผ่านออนไลน์ เนื่องจากได้ข้อเสนอด้านราคาที่ดีกว่า เห็นได้จากการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซเมื่อปี 2554 มีมูลค่าถึง 8 หมื่นล้านบาท และในปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 1 แสนล้านบาท และมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องในปีนี้
ดังนั้น กลุ่มธุรกิจค้าปลีกจะต้องพัฒนาช่องทางจำหน่ายทั้งผ่านร้านค้า และชอปปิง ออนไลน์ ในรูปแบบเวอร์ชวล สโตร์ เพื่อให้ผู้บริโภคที่มีพฤติกรรมเข้าถึง ทั้งสื่อออนไลน์ ออฟไลน์ สามารถหาซื้อสินค้าได้ทุกช่องทาง และเป็นอีกโอกาสการหารายได้และสร้างการเติบโตของกลุ่มค้าปลีกจากธุรกิจอีคอมเมิร์ซชี้เทรนด์สื่อดาวรุ่งปี 2556
นางวรรณี รัตนพล ประธานบริหาร บริษัท ไอพีจี มีเดียแบรนด์ส จำกัด เปิดเผยว่า ปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมสื่อโฆษณาเติบโต 12% มูลค่า 1.3 แสนล้านบาท สำหรับปีนี้อุตฯ โฆษณายังมีแนวโน้มเติบโตในอัตรา 8-10% ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่ดี โดยสื่อที่อยู่ในกลุ่มดาวรุ่งมีโอกาสเติบโตสูงกว่าภาพรวมอุตฯ คือ เคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียม ในอัตรา 35% เท่ากับปีก่อนที่มีมูลค่าราว 1 หมื่นล้านบาท สื่อดิจิทัลในอัตรา 20% จากมูลค่า 2-3 พันล้านบาทในปีก่อน และสื่ออินสโตร์ที่มีมูลค่า 2.7 พันล้าน เติบโต 68% ในปีที่ผ่านมา
สำหรับไอพีจีปีที่ผ่านมาเติบโต 30% เนื่องจากลูกค้าที่ชะลอใช้งบโฆษณาจากน้ำท่วมปลายปี 2554 ได้ใช้งบโฆษณาเพิ่มขึ้นในปี 2555 โดยปีนี้บริษัทวางเป้าหมายเติบโตสูงกว่าอุตฯ หรือกว่า 10% จากการให้บริการใหม่ๆ ของแผนก Strategy & Innovation และ Shopper Sciences ซึ่งจะทำให้ไอพีจี มีบริการครบวงจรทางการสร้างแบรนด์ การวางกลยุทธ์ รวมทั้งพัฒนานวัตกรรมสื่อใหม่ให้เข้าถึงผู้บริโภค นอกจากการเป็นมีเดียเอเยนซี
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ