ในวันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2556 ณ ห้องประชุม 41202 ชั้น 12 อาคารกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ สนามบินน้ำ จังหวัดนนทบุรี เวลา 9.00 15.30 น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
นางสาวปาริฉัตร เหล่าธีระศิริวงศ์ รักษาการกรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) เปิดเผยว่า ตามที่ธนาคารได้จัดทำโครงการสินเชื่อพัฒนาผลิตภาพการผลิตวงเงิน 2 หมื่นล้านบาท โดยรัฐบาลให้การสนับสนุนเงินช่วยผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) เงื่อนไขผ่อนปรนนั้น ขณะนี้โครงการแรกปล่อยกู้เต็มวงเงิน 7.5 พันล้านบาทแล้ว ซึ่งอยู่ระหว่างปล่อยกู้โครงการที่ 2 ในวงเงินที่เหลือ
นายอำนาจ ยะโสธร เลขาธิการกลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่กระทรวงพลังงานจะปรับราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ขึ้น ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตในวันที่ 1 มิ.ย.2556 นี้ อีก 50 สตางค์ต่อกิโลกรัม จากเดิมราคา 18.13 บาทต่อกิโลกรัม จะส่งผลให้กลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิกขนาดเล็กจริงๆ ต้องแบกรับภาระต้นทุนเพิ่ม ซึ่งยังไม่รวมต้นทุนที่เกิดจากการปรับค่าจ้าง 300 บาทต่อวันเพิ่มขึ้นอีก ดังนั้น สิ่งที่กลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิก โดยเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอีต้องเผชิญอยู่ขณะนี้ถือว่าโหดร้ายอย่างมาก
นายภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โซเชี่ยลอิงค์ เปิดเผยว่า ข้อมูลเชิงลึกของการใช้โซเชี่ยลมีเดียของคนไทย ภาพรวมมีการเติบโตขั้นสูงสุด 163% เมื่อเทียบจากปีก่อน คนไทยนิยมใช้ อินสตาร์แกรมเพิ่มสูงสุดถึง โดยมีภาพถ่ายจากคนไทยสูงถึง 70 ล้านภาพต่อปี โดยภาพถ่ายที่มีคนกดไลค์มากที่สุด ได้แก่ภาพของ บอย ปกรณ์ (@boy_pakorn) และยูทูป เว็บไซต์วีดีโอที่คนไทยนิยม มีคนไทยอัพโหลดวีดีโอเข้าไปมากกว่า 5.3 ล้านคลิป โดยมีการอัพโหลดสูงถึง 2,500 คลิปต่อวันเลยทีเดียว
เอสเอ็มอีแบงก์ นำสินเชื่อโครงการพัฒนาผลิตภาพการผลิต และสินเชื่อแฟคตอริ่ง เสริมสภาพคล่องธุรกิจช่วยผู้ประกอบการ SMEs และจัดเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำรับคำขอกู้ในงาน "Money Expo 2013" พร้อมพาลูกค้าธนาคารจำหน่ายสินค้าคุณภาพดี ราคาโรงงาน เพื่อช่วยขยายฐานตลาด
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เผยรายชื่อ 5 อุตสาหกรรมแห่งอนาคต อันได้แก่ 1. อุตสาหกรรมพลังงานสะอาด 2. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ 3.อุตสาหกรรมไบโอพลาสติก 4.อุตสาหกรรมยานอากาศ 5.อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ อันจะเป็นอุตสาหกรรมหลักของไทยในอีก10ปีข้างหน้าซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศไทยให้เติบโต สอดคล้องกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกใหม่ สอดรับการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ และความเป็นไปทางสังคมในภูมิภาคต่างๆ ของโลก
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า หลังจากเงินบาทปรับตัวแข็งค่าอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้ผู้ส่งออกส่วนใหญ่ต้องประสบปัญหาขาดทุนและเลิกกิจการในช่วง 4 เดือนแรกปีนี้ (ม.ค.-เม.ย.56) ไปแล้ว 127 ราย แต่หากนับเฉพาะเดือนเม.ย.56 มีผู้ส่งออกเลิกกิจการแล้ว 29 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ส่งออกกลุ่มยานยนต์, สินค้าเกษตร, เสื้อผ้าแฟชั่นรวม 25 ราย เภสัชกรรม 2 ราย และสินค้าอุปโภคบริโภค 2 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธุรกิจส่งออกที่เป็นสินค้าสำคัญของประเทศ
นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยในโอกาสเดินทางไปเยือนประเทศญี่ปุ่นเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ได้มีการประชุมหารือร่วมกับผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ สำนักงานที่ปรึกษาการพาณิชย์ สำนักงานที่ปรึกษาด้านอุตสาหกรรม ประจำกรุงโตเกียว และบีโอไอ ณ โรงแรมอิมพีเรียล กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เพื่อรับทราบสถานการณ์การเกษตรไทย-ญี่ปุ่น โดยเฉพาะเรื่องสินค้าเกษตร และอุตสาหกรรมยางพาราในญี่ปุ่น
นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงการค้าและการลงทุนของเมียนมาร์ หลังปี 2015 ว่า จากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 อย่างเต็มรูปแบบ เศรษฐกิจของเมียนมาร์จะขยายตัวได้ร้อยละ 7.6 จากการนำเข้าสินค้าเพื่อการลงทุนแบบก้าวกระโดด และส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้าจากประเทศจีน ในขณะที่การค้าระหว่างไทยกับเมียนมาร์ ประเทศไทยยังคงเป็นฝ่ายขาดดุลการค้า เพราะส่วนใหญ่ ประเทศไทยจะมีการนำเข้าเชื้อเพลิงและพลังงานจากเมียนมาร์ ในขณะที่ สินค้าส่งออกของไทยจะเป็นสินค้าเกษตร อาหาร และเครื่องดื่ม แต่จากการเปิด AEC เชื่อว่าสินค้าส่งออกของไทยจะขยายตัวได้มากขึ้นเป็นร้อยละ 14 หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 5,100 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะทำให้การขาดดุลการค้าน้อยลง