SCB ปรับกลยุทธ์รับปี 56 เพิ่มเซ็กเมนท์ SME ใหม่

ไทยพาณิชย์ สานต่อความสำเร็จลูกค้า SME ประกาศปรับกลยุทธ์ เพิ่มเซ็กเมนท์ SME กลุ่มใหม่ “Lower MB” หวังตอบสนองความต้องการเชิงลึก เชื่อดันยอดสินเชื่อปีนี้โต 45,000 ล้านบาท

ส.อ.ท.ชี้รัฐคลอดแผนเยียวยา SMEs ไม่ถูกจุด

นายพยุงศักดิ์ กล่าวว่า มาตรการเยียวยาของรัฐที่ออกมา พิจารณาแล้วเห็นว่ามีประโยชน์ต่อผู้ประกอบการที่สามารถผ่านวิกฤติได้ด้วยตนเอง โดยที่มาตรการภาษีจะส่งเสริมให้มีความสามารถในการทำกำไรได้เพิ่มขึ้น มีรายได้มากขึ้น หรือว่าสามารถกู้ยืมเงินเพื่อขยายงาน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เช่น การเปลี่ยนเครื่องจักร เปลี่ยนอุปกรณ์เป็นต้น ซึ่งไม่ตรงกับเป้าหมายที่ทาง สอท.เสนอไป คือ ต้องการให้ช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก หรือ เอสเอ็มอี ที่ได้รับผลกระทบรุนแรง มีสถานการณ์ไม่ดี

สสว.ของบ 40 ล้านบาทช่วย SMEs

นายประเสริฐ บุญชัยสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ได้สั่งการให้นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงฯ สำรวจว่ามีการปิดกิจการมากน้อยเพียงใด เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ เช่น การจัดคลินิกอุตสาหกรรม ปรับประสิทธิภาพเครื่องจักร ซึ่งลดต้นทุนได้ 10%

ดัชนีเชื่อผู้บริโภค ธ.ค. 55 สูงสุดรอบ 15 เดือน

สำหรับปัจจัยบวกที่สำคัญ ประกอบด้วย 1.ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)คาดว่า GDP ปี 55 ขยายตัวได้ 5.8% ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิมที่ 5.7% และปี 56 ที่ 4.6%, 2.ด้านท่องเที่ยว ที่คาดว่านักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งปี 55 สูงถึง 21.5 ล้านคนสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 20 ล้านคนและคาดว่าจะมีรายได้เข้าประเทศสูงถึง 8 แสนล้านบาท, 3.ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศยังทรงตัว, 4.เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย และ 5.การส่งออกในเดือน พ.ย.55 ขยายตัวเพิ่มขึ้น 26%

รัฐเร่งสร้างมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติรับ AEC

นางปราณิน มุตตาหารัช รองปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนา’ก้าวต่อก้าวความสำเร็จธุรกิจไทย การันตีด้วยมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ’ว่า กระทรวงแรงงาน มีจุดยืนที่ชัดเจนในการดำเนินงานเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มด้านมาตรฐานผลิตภาพแรงงานไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ เพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 แรงงานไทยต้องเตรียมพร้อมอย่างบูรณาการให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น

SMEs วอนรัฐออกมาตรการจ่ายส่วนต่างค่าแรง

นายอาทิตย์ อิสโม รองปลัดกระทรวงแรงงานกล่าวภายหลังประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง ว่า ตนได้ชี้แจงต่อที่ประชุมเกี่ยวกับมาตรการบรรเทาผลกระทบให้แก่ผู้ประกอบการจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ใน 70 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งจะมีผลในวันที่ 1 มกราคม 2556 โดยขณะนี้มีการขยายเวลาการใช้มาตรการช่วยเหลือเดิม 11 มาตรการไปอีก 1 ปี

กูรูชี้กลุ่ม CLMV ไทยได้เปรียบมากที่สุด

ดร.ธนิต โสรัตน์ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวในงานสัมมนาฯ เรื่อง “เปิดโอกาสการลงทุนนักธุรกิจไทยในประเทศเพื่อนบ้าน” ในหัวข้อ “มิติการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านกับโอกาสของธุรกิจไทย” ว่า กลุ่มประเทศ CLMV ได้แก่ กัมพูชา สาธารณรัฐประชาชนลาว พม่า และเวียดนาม ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความได้เปรียบประเทศอื่น เนื่องจากภูมิประเทศของไทยอยู่ตรงกลางระหว่างประเทศเหล่านั้น และมีพื้นที่ตามแนวชายแดนติดกัน โดยพม่า ถือเป็นประเทศที่มีศักยภาพทั้งด้านพื้นที่และประชากร ที่เหมาะกับการเข้าไปลงทุน และเป็นตลาดที่สำคัญในอนาคต เนื่องจากเป็นประเทศที่มีพื้นที่เกษตรกรรมขนาดใหญ่ มีศักยภาพต่อการลงทุนทั้งด้านอุตสาหกรรม บริการ การค้าขาย และการเกษตรทุกประเภท แต่พม่าก็มีปัญหาด้านการขาดแคลนไฟฟ้า

แนะเจอคู่ค้ากีดกันรีบแจ้งกระทรวงพาณิชย์

นางพิรมล เจริญเผ่า อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการแก้ไขอุปสรรคการค้าระหว่างประเทศด้านมาตรการที่มิใช่ภาษี (กกคร.) ว่า ได้แจ้งให้ภาคเอกชนรับทราบว่า กรมฯ พร้อมที่จะเป็นเจ้าภาพหลักในการรับเรื่องเกี่ยวกับการที่ประเทศคู่ค้าใช้มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTMs) กับสินค้าและบริการของไทย เพื่อดำเนินการแก้ไขก่อนที่จะเป็นอุปสรรคต่อการค้าของไทย เพราะขณะนี้พบว่ามีคู่ค้าหลายๆ ประเทศเริ่มนำมาตรการ NTMs มาใช้เพิ่มมากขึ้น หลังจากที่ได้มีการเปิดเสรีในกรอบต่างๆ มากขึ้น

จับตา SMEs 29 จังหวัดหวั่นเลิกจ้างหลังปรับค่าแรง

นายปกรณ์ อมรชีวิน อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ที่ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขึ้นต่ำวันละ 300 บาท ใน 70 จังหวัด ซึ่งทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้วิเคราะห์ว่าธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมาส่วนใหญ่เป็นธุรกิจที่ใช้แรงงานเข้มข้น เช่น สิ่งทอ เสื้อผ้า รองเท้า นั้น ขณะนี้ตนได้สั่งการให้สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน 70 จังหวัดคอยจับตาธุรกิจที่ใช้แรงงานเข้มข้นเหล่านี้ รวมไปถึงธุรกิจเอสเอ็มอี โดยเฉพาะที่อยู่ใน 29 จังหวัดภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีการปรับขึ้นค่าจ้างแบบก้าวกระโดดอย่างมาก เช่น พะเยา ศรีสะเกษ น่าน สุรินทร์ ตาก เป็นต้น