นายอมร งามมงคลรัตน์ รองผู้อำนวยการสถาบันอาหาร เปิดเผยว่า มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมเบื้องต้น (GDP) ของเวียดนาม มาจากภาคอุตสาหกรรมเป็นหลัก คิดเป็นสัดส่วน 41.1% รองลงมาคือ จากภาคธุรกิจบริการ 38.3% และภาคเกษตรกรรมมีสัดส่วน 20.6% ตามลำดับ และแม้ว่าเวียดนามจะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวเช่นเดียวกับนานาประเทศทั่วโลก แต่สำนักงานสถิติแห่งชาติของเวียดนาม (General Statistics Office : GSO) ก็รายงานว่า ในปี 2555 นี้ เวียดนามมีแนวโน้มที่จะเกินดุลการค้าเป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปี โดยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2555 เกินดุลการค้าแล้ว 14 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยได้รับอานิสงส์จากมูลค่าส่งออกสินค้าไฮเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นมาก ซึ่งเป็นผลจากการเข้ามาลงทุนของบริษัทต่างชาติรายใหญ่
นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมการค้าระหว่างประเทศ ระบุว่า กรมฯ ได้จัดทำแผนในการผลักดันการส่งออกสำหรับปี 2556 โดยเน้นเป้าหมายใน 8 ภารกิจหลัก เพื่อสนับสนุนการส่งออกสินค้าไทย โดยมีแผนที่จะดำเนินการชัดเจน และต้องการให้ทูตพาณิชย์และที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ของไทย (HTAs) ช่วยกันทำงานเพื่อสนับสนุนแผนดังกล่าว
รายงานข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่าช่วง 10 เดือนของปี 2555 (มกราคม-ตุลาคม )มีโรงงานที่จำหน่ายทะเบียนต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมหรือปิดกิจการ 904 รายมูลค่า 27,574 ล้านบาทและมีการเลิกจ้างงาน 28,164 คน ส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมใหญ่ปลายปี 2554 รวมถึงไม่สามารถแข่งขันได้จากต้นทุนที่ปรับตัวสูง และถูกผู้ประกอบการที่มีความเข้มแข็งทั้งในและต่างประเทศแย่งตลาดสินค้าเช่นกลุ่มซ่อมยานยนต์ และมอเตอร์ไซต์, ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์, ออกแบบแม่พิมพ์ผลิตชิ้นส่วน, ขุดลอกดินในโครงการก่อสร้าง, โรงสีข้าว, เครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น
นายพิศาล ธรรมวิเศษ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีดีเฮ้าส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ ศูนย์รับสร้างบ้านพีดีเฮ้าส์ และเอคิวโฮม กล่าวว่า ปี 2555 นี้ ถือเป็นอีกปีหนึ่งที่ภาคธุรกิจรับสร้างบ้าน ต้องเผชิญกับสถานการณ์วิกฤติอีกครั้ง ภายหลังจากปีที่แล้วเจอกับวิกฤติน้ำท่วมใหญ่ ทำตลาดรวมรับสร้างบ้านลดวูบกว่า 20% มาปีนี้เจอกับกับวิกฤติแรงงานขาดแคลน
นายสมเด็จ สุสมบูรณ์ นักวิชาการพาณิชย์เชี่ยวชาญ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ พร้อมคณะผู้บริหารภาครัฐและเอกชน ร่วมงานแสดงสินค้าไทยแลนด์ เทรด เอ็กซิบิชั่น ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า ระหว่างวันที่ 6 - 9 ธันวาคม 2555และที่เมืองมัณฑะเลห์ ระหว่างวันที่ 13-16 ธันวาคม 2555 เพื่อเพิ่มช่องทางการกระจายสินค้าและแสดงศักยภาพสินค้าและบริการไทยให้เป็นที่รู้จักและนิยมอย่างกว้างขวางในตลาดพม่า คาดว่าจะมีมูลค่าการซื้อขายภายในงานทันทีและภายหลังการจัดงานตลอด 1 ปีกว่า 41 ล้านบาท ซึ่งจะส่งผลให้การส่งออกในอาเซียนขยายตัวในปี 2556 ไม่น้อยกว่า 10%
นายปัณณพงศ์ อิทธิอรรถนนท์ กรรมการค่าจ้างฝ่ายนายจ้าง กล่าวว่า มาตรการบรรเทาผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้าง 300 บาท ที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในส่วนที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีนั้น ยังไม่ตรงกับเป้าหมายความต้องการอย่างแท้จริง อาทิ มาตรการเพิ่มการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ เพราะในทางปฏิบัติค่อนข้างเป็นไปได้ยาก เนื่องจากมีข้อจำกัดในสัญญาค้ำประกันสินเชื่อตามเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร โดยก่อนหน้านี้ที่ประชุมพิจารณาร่วมภาครัฐและเอกชนชุดใหญ่ไม่ได้มีผู้แทนจากฝ่ายนายจ้างเข้าประชุมด้วย มีเพียงการเข้าร่วมประชุมในคณะกรรมการชุดเล็กเท่านั้น
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า รัฐบาลยืนยันว่าการเลิกกิจการในหลายธุรกิจ โดยเฉพาะในเดือน ธ.ค. ที่มีการเลิกกิจการทั้งสิ้น 3,338 ราย โดยมีสัดส่วนสูงถึง 58% นั้น มาจากปัญหาการขาดทุนสะสม โดยส่วนใหญ่เป็นกิจการด้านการก่อสร้างอาคารทั่วไป อสังหาริมทรัพย์ บริการนันทนาการ บริการให้คำปรึกษาทางธุรกิจ และ 37% เป็นการปิดกิจการจากการจัดตั้งบริษัทเพื่อเข้ามารับสัมปทานภาครัฐ
นายธนิต โสรัตน์ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า มาตรการบรรเทาผลกระทบที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบในวันนี้ส่วนใหญ่เป็นมาตรการเกี่ยวกับภาษี โดยมาตรการยกเว้นภาษีกำไรของผู้ประกอบการที่มีกำไร 150,000 บาท เพิ่มการยกเว้นเป็น 300,000 บาท และการต่ออายุหักค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 100% ออกไปอีก 1 ปี เป็นมาตรการที่ได้ประโยชน์เฉพาะ SMEs ที่มีกำไร แต่ที่ผ่านมา ส.อ.ท.เคยศึกษาพบว่าการปรับค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นวันละ 300 บาท ทำให้ต้นทุนรวมเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 10-15% ในขณะที่กำไรของธุรกิจเฉลี่ยอยู่ที่ 4-5% จึงทำให้ธุรกิจมีโอกาสขาดทุนมากกว่ากำไรและจะทำให้มาตรการด้านภาษีไม่มีประโยชน์กับผู้ที่ขาดทุน
จังหวัดชัยภูมิซึ่งเป็นเขตได้รับการสนับสนุนส่งเสริมภาคการลงทุนพิเศษ การพัฒนาอุตสาหกรรมชนบท (สอช.) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมกับพันธมิตรอุตสาหกรรมสิ่งทอชัยภูมิ ประเภทอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป เพื่อส่งออกอันดับ 1 ของประเทศให้กับภาคโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย มาตั้งแต่ปี 2545 เพื่อเชิญชวนให้นักลงทุนมาลงทุนในพื้นที่ และจะได้รับการลดหย่อนภาษีภาคลงทุนในระยะเวลายาวถึง 10 ปี และมีโรงงานขนาดใหญ่เข้ามาตั้งในพื้นที่จนปัจจุบันกว่า 43 แห่ง มีการจัดจ้างแรงงานในระบบหลายหมื่นคน รวมทั้งในส่วนภาคอุตสาหกรรม SMEs ที่มีการจ้างแรงงานในระบบอีกมากกว่า 50,000 คนนั้น