สสว.ของบ 40 ล้านบาทช่วย SMEs

นายประเสริฐ บุญชัยสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ได้สั่งการให้นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงฯ สำรวจว่ามีการปิดกิจการมากน้อยเพียงใด เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ เช่น การจัดคลินิกอุตสาหกรรม ปรับประสิทธิภาพเครื่องจักร ซึ่งลดต้นทุนได้ 10%

ดัชนีเชื่อผู้บริโภค ธ.ค. 55 สูงสุดรอบ 15 เดือน

สำหรับปัจจัยบวกที่สำคัญ ประกอบด้วย 1.ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)คาดว่า GDP ปี 55 ขยายตัวได้ 5.8% ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิมที่ 5.7% และปี 56 ที่ 4.6%, 2.ด้านท่องเที่ยว ที่คาดว่านักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งปี 55 สูงถึง 21.5 ล้านคนสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 20 ล้านคนและคาดว่าจะมีรายได้เข้าประเทศสูงถึง 8 แสนล้านบาท, 3.ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศยังทรงตัว, 4.เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย และ 5.การส่งออกในเดือน พ.ย.55 ขยายตัวเพิ่มขึ้น 26%

รัฐเร่งสร้างมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติรับ AEC

นางปราณิน มุตตาหารัช รองปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนา’ก้าวต่อก้าวความสำเร็จธุรกิจไทย การันตีด้วยมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ’ว่า กระทรวงแรงงาน มีจุดยืนที่ชัดเจนในการดำเนินงานเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มด้านมาตรฐานผลิตภาพแรงงานไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ เพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 แรงงานไทยต้องเตรียมพร้อมอย่างบูรณาการให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น

SMEs วอนรัฐออกมาตรการจ่ายส่วนต่างค่าแรง

นายอาทิตย์ อิสโม รองปลัดกระทรวงแรงงานกล่าวภายหลังประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง ว่า ตนได้ชี้แจงต่อที่ประชุมเกี่ยวกับมาตรการบรรเทาผลกระทบให้แก่ผู้ประกอบการจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ใน 70 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งจะมีผลในวันที่ 1 มกราคม 2556 โดยขณะนี้มีการขยายเวลาการใช้มาตรการช่วยเหลือเดิม 11 มาตรการไปอีก 1 ปี

กูรูชี้กลุ่ม CLMV ไทยได้เปรียบมากที่สุด

ดร.ธนิต โสรัตน์ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวในงานสัมมนาฯ เรื่อง “เปิดโอกาสการลงทุนนักธุรกิจไทยในประเทศเพื่อนบ้าน” ในหัวข้อ “มิติการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านกับโอกาสของธุรกิจไทย” ว่า กลุ่มประเทศ CLMV ได้แก่ กัมพูชา สาธารณรัฐประชาชนลาว พม่า และเวียดนาม ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความได้เปรียบประเทศอื่น เนื่องจากภูมิประเทศของไทยอยู่ตรงกลางระหว่างประเทศเหล่านั้น และมีพื้นที่ตามแนวชายแดนติดกัน โดยพม่า ถือเป็นประเทศที่มีศักยภาพทั้งด้านพื้นที่และประชากร ที่เหมาะกับการเข้าไปลงทุน และเป็นตลาดที่สำคัญในอนาคต เนื่องจากเป็นประเทศที่มีพื้นที่เกษตรกรรมขนาดใหญ่ มีศักยภาพต่อการลงทุนทั้งด้านอุตสาหกรรม บริการ การค้าขาย และการเกษตรทุกประเภท แต่พม่าก็มีปัญหาด้านการขาดแคลนไฟฟ้า

แนะเจอคู่ค้ากีดกันรีบแจ้งกระทรวงพาณิชย์

นางพิรมล เจริญเผ่า อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการแก้ไขอุปสรรคการค้าระหว่างประเทศด้านมาตรการที่มิใช่ภาษี (กกคร.) ว่า ได้แจ้งให้ภาคเอกชนรับทราบว่า กรมฯ พร้อมที่จะเป็นเจ้าภาพหลักในการรับเรื่องเกี่ยวกับการที่ประเทศคู่ค้าใช้มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTMs) กับสินค้าและบริการของไทย เพื่อดำเนินการแก้ไขก่อนที่จะเป็นอุปสรรคต่อการค้าของไทย เพราะขณะนี้พบว่ามีคู่ค้าหลายๆ ประเทศเริ่มนำมาตรการ NTMs มาใช้เพิ่มมากขึ้น หลังจากที่ได้มีการเปิดเสรีในกรอบต่างๆ มากขึ้น

จับตา SMEs 29 จังหวัดหวั่นเลิกจ้างหลังปรับค่าแรง

นายปกรณ์ อมรชีวิน อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ที่ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขึ้นต่ำวันละ 300 บาท ใน 70 จังหวัด ซึ่งทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้วิเคราะห์ว่าธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมาส่วนใหญ่เป็นธุรกิจที่ใช้แรงงานเข้มข้น เช่น สิ่งทอ เสื้อผ้า รองเท้า นั้น ขณะนี้ตนได้สั่งการให้สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน 70 จังหวัดคอยจับตาธุรกิจที่ใช้แรงงานเข้มข้นเหล่านี้ รวมไปถึงธุรกิจเอสเอ็มอี โดยเฉพาะที่อยู่ใน 29 จังหวัดภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีการปรับขึ้นค่าจ้างแบบก้าวกระโดดอย่างมาก เช่น พะเยา ศรีสะเกษ น่าน สุรินทร์ ตาก เป็นต้น

บีโอไอตั้งศูนย์ลงทุนไทยในต่างประเทศ

นายประเสริฐ บุญชัยสุข รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ถือเป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการไทย ที่จะสามารถทำการค้า การลงทุน ได้อย่างเสรี รวมถึงเคลื่อนย้ายแรงงานและสร้างมาตรฐานให้กับสินค้าร่วมกันในอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ทำให้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจรวมกัน 1.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ฯ หรือ 2% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมโลก (จีดีพีโลก)

ชงเพิ่ม 5 มาตรการชดเชย SMEs อ่วมค่าแรง

นายอาทิตย์ อิสโม รองปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างว่า ที่ประชุมได้ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการบรรเทาผลกระทบสำหรับผู้ประกอบการจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทใน 70 จังหวัดทั่วประเทศที่จะมีผลในวันที่ 1 ม.ค.2556 ให้คณะกรรมการค่าจ้างรับทราบ ซึ่งขณะนี้ได้มีการขยายเวลาการใช้มาตรการช่วยเหลือเดิม 11 มาตรการไปอีก 1 ปีโดยจะสิ้นสุดในปี 2556 โดย 11 มาตรการดังกล่าวจะเสนอไปพร้อม 5 มาตรการใหม่ ให้คณะทำงานร่วมภาครัฐและเอกชนกำหนดมาตรการบรรเทาผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ในวันที่ 14 ธันวาคมนี้