นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า จากการปรับค่าแรง 300 บาททั่วประเทศ ที่มีผลวันที่ 1 ม.ค.56 นั้น ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมโดยรวม โดยเฉพาะต่อผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมหรือ SMEs ซึ่งผู้ประกอบการจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยที่แตกต่างกัน ทำให้ไม่สามารถแบกรับภาระต่อไปได้ เนื่องจากต้นทุนการประกอบการที่สูงขึ้น
นายนันดอร์ วอน เดอร์ ลู ประธานหอการค้าร่วมต่างประเทศ ประจำประเทศไทย เปิดเผยระหว่างการอภิปราย วิพากษ์ทิศทางยุทธศาสตร์การส่งเสริมลงทุนใหม่ ในการสัมมนารับฟังความคิดเห็น ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนใหม่ : เพื่ออุตสาหกรรมไทยเติบโตอย่างยั่งยืน ว่า ร่างยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนระยะ 5 ปี (2556-2560) ที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) จัดทำขึ้น ภาพรวมเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีที่กำหนดเป้าหมายส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมชัดเจนขึ้น และจะเน้นเป็นรายกลุ่มอุตสาหกรรม (คลัสเตอร์) โดยจะยกเลิกให้สิทธิประโยชน์ตามเขตส่งเสริมฯ 1, 2 และ 3 แต่วิธีนี้บีโอไอจะต้องพิจารณาให้ดีเนื่องจากรัฐมีนโยบายปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันทั่วประเทศ ก็จะยิ่งลดแรงจูงใจให้การลงทุนไปยังต่างจังหวัดน้อยลงตามไปด้วย
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม(กสอ.)เปิดโครงการจัดกิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ในหลักสูตร การเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการเพื่อเข้าสู่ AEC ซึ่งกิจกรรมอบรมดังกล่าวนี้เพื่อเป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งและสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันให้กับ SMEs ไทย ตลอดจนเพื่อพัฒนาและยกระดับอุตสาหกรรมไทยในการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน
นายนคร ศิลปอาชา อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่านโยบายของ กพร.ในปี 2556 มี 2 เรื่องหลักคือ การขับเคลื่อนการพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อรองรับการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท ซึ่งเรื่องนี้ นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์รมว.กระทรวงแรงงาน ได้กำชับเป็นพิเศษเนื่องจากเป็นนโยบายของรัฐบาลที่ได้มอบให้เป็นของขวัญแก่ผู้ใช้แรงงาน หากสถานประกอบการรายใดต้องการให้ กพร.ช่วยฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงานสามารถติดต่อได้ที่ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด (ศพจ.)และสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค (สพภ.) ทุกแห่ง
เมื่อวันที่ 2 มกราคม ที่กระทรวงแรงงาน นายปกรณ์ อมรชีวิน อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงผลกระทบในการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท ซึ่งเริ่มมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา ว่า ขณะนี้มี 2 จังหวัด ที่ส่งสัญญาณจะมีการเลิกจ้าง คือ จ.ขอนแก่น และจ.พะเยา ในกิจการประเภทสิ่งทอและเซรามิก ทั้งนี้ ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ กสร.ให้เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะ 29 จังหวัด ที่มีการปรับค่าจ้างแบบก้าวกระโดด เช่น จ.ตาก สุรินทร์ น่าน ศรีสะเกษและจ.พะเยา ให้ออกตรวจสถานประกอบการอย่างเข้มงวดอย่างน้อยขอให้ได้ประมาณ 4,000แห่งต่อเดือนและให้รายงานผลทุกวันที่5 ของเดือนถัดไป แต่หากพบสัญญาณที่รุนแรงสามารถแจ้งมาที่ตนเองได้ตลอดเวลา
นายธนิต โสรัตน์ เลขาธิการ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)เปิดเผยความขัดแย้งใน ส.อ.ท.ว่า หากต้องการให้ความขัดแย้งยุติลงก็ต้องหารือกัน ด้วยการตั้ง คณะกรรมการร่วมระหว่าง 2 ฝ่ายหารือ ระหว่างสมาชิกที่เป็น กลุ่มอุตสาหกรรม กับ อุตสาหกรรมต่างจังหวัด ซึ่งระหว่างนี้ตนจะประสานเพื่อขอเจรจา
ค่าแรงวันละ 300 บาท พ่นพิษ บริษัทผลิตชุดชั้นในสระบุรี ลอยแพสาวฉันทนา 200 คน พร้อมปิดโรงงานหนี หลังแบกภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไม่ไหว ขณะที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเรียกร้องรัฐเร่งช่วยเหลือเยียวยาด่วน
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า แม้ในปี 2556 จะเป็นปีที่ภาพของเศรษฐกิจโลกเริ่มมีสัญญาณของการฟื้นตัว ซึ่งน่าจะพอเป็นแรงส่งให้ธุรกิจส่งออกหลายสาขามีทิศทางกระเตื้องขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากธุรกิจเหล่านั้นจะมีปัจจัยหนุนเฉพาะตัวที่เป็นแรงผลักดันให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้ สำหรับธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตโดดเด่นในปี 2556 นี้ ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ที่คาดว่าในปี 2556 นี้ การผลิตรถยนต์ในประเทศไทยจะทำสถิติใหม่สูงถึงประมาณ 2.5-2.6 ล้านคัน
สสว. ได้ดำเนินการศึกษาถึงผลกระทบจากค่าจ้าง 300 บาท โดยให้จัดทำข้อเสนอแนวทางการดำเนินงานเพื่อช่วยเหลือ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ (300 บาท) โดยการจัดประชุมระดมความคิดเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ต่อไป โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้