สสว.จัดงบ 310 ล้านช่วยเหลือ SMEs

นายประเสริฐ บุญชัยสุข รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้เห็นชอบให้จัดสรรเงินกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จำนวน 310 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ โดยมีโครงการที่สำคัญกว่า 10 โครงการ โดยเฉพาะการจัดสรรงบประมาณจำนวน 200 ล้านบาท เพื่อชดเชยดอกเบี้ย 3% ในปีแรก ให้กับผู้ประกอบการที่กู้เงินกับสถาบันการเงินของรัฐ และธนาคารพาณิชย์ วงเงินไม่เกิน 1 ล้านบาท คาดว่าจะช่วยเหลือผู้ประกอบการได้ประมาณ 6,300 ราย

ขีดเส้นตายต่างด้าวพิสูจน์สัญชาติ 16 มีนานี้

นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน กล่าวในการเป็นประธานเปิดเวทีประชาสัมพันธ์กระบวนการผ่อนผันแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองเป็นกรณีพิเศษเพื่อดำเนินการอย่างถูกกฎหมาย ว่า ปัจจุบันมีแรงงานต่างด้าวทั้งสัญชาติพม่า กัมพูชาและลาวทำงานอยู่ในไทยโดยถูกต้องตามกฎหมายกว่า 1.2 ล้านคน แต่มีแรงงานต่างด้าวยังไม่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติกว่า 2.6 แสนคนซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวที่ยังไม่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ รวมไปถึงแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบเข้ามาทำงานในไทยอย่างผิดกฎหมายสามารถอาศัยและทำงานอยู่ในประเทศไทยได้ชั่วคราวเป็นเวลา 120 วัน นับตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2555-16 เมษายน 2556 เพื่อให้ดำเนินการขอเอกสารรับรองเพื่อเป็นแรงงานต่างด้าวที่ถูกกฎหมาย โดยขณะนี้ กกจ.ได้เปิดให้นายจ้างมายื่นขอโควตาจ้างงานของแรงงานต่างด้าวที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดต่างๆ และสำนักจัดหางานกรุงเทพฯเขตพื้นที่ 1-10 ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 16 มีนาคมนี้

อุตฯเตรียมใช้ มอก.999 ส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง

นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่าเตรียมเสนอให้นายประเสริฐ บุญชัยสุข รมว.อุตสาหกรรม พิจารณาอนุมัติร่างมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก. 9999) ตามคณะกรรมการวิชาการ ที่มีนายสุเมธ ตันติเวชกุล เป็นที่ปรึกษาเสนอ เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการไทยให้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ ตั้งแต่การใช้ทรัพยากร วัตถุดิบ พลังงาน เป็นต้น ให้สามารถประคองกิจการอยู่รอดภายใต้สภาวะการแข่งขันที่สูง คาดว่าจะมีผลบังคับในเดือนมีนาคม 2556

โพลระบุค่าแรง 300 บาทนายจ้างจ่ายเพิ่ม 5.1%

ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดผลสำรวจ CEO Sentiment Index เดือนม.ค. –ก.พ. ค่าแรง 300 บาททำต้นทุนพุ่ง 5.1% ขณะที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัว-บาทแข็ง กระทบธุรกิจเดือนม.ค. ส่งผลดัชนีสภาพคล่องมีแนวโน้มลดลง

สถาบันอาหารยกระดับ SMEs บุกตลาดฮาลาลโลก

นายอมร งามมงคลรัตน์ รองผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวในงานสัมมนา เรื่อง “เชื่อมั่น ปลอดภัย มาตรฐานฮาลาลไทยสู่สากล” ว่าการผลักดันให้ตลาดฮาลาลโลกเกิดความเชื่อมั่นในการบริโภคสินค้าอาหารฮาลาลของไทย โดยเฉพาะสินค้าที่ผลิตจากวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการเอสเอ็มอีนั้น

รัฐร่วม 2 องค์กรจัดโครงการปั้น Smart farmer

นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า “โครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรรุ่นใหม่ ภายใต้ความร่วมมือโครงการสนับสนุนการสร้างสมาร์ท ฟาร์มเมอร์ (Smart Farmer) เป็นการร่วมมือกันระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ดำเนินการขึ้นเพื่อสร้าง Smart farmer รุ่นใหม่ เข้าสู่ภาคการเกษตร ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการปรับเพิ่มผลผลิตภาพ และความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย โดยการทำการเกษตรภายใต้หลักการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาวางแผนการผลิตที่เหมาะสมกับภูมิสังคม ใช้ข้อมูลเศรษฐกิจมาวางแผนการตลาด อันเป็นการปฏิรูปการเกษตรประเทศไทยจากการทำการเกษตรตามความเคยชิน ไปสู่การเกษตรที่ใช้วิชาการ ทุกสาขาวิชา

พาณิชย์ชง ครม.ของบ 400 ล้านช่วย SMEs เจอพิษบาทแข็ง

นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ มีมติให้เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขอใช้เงินกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ จำนวน 400 ล้านบาท เพื่อใช้ช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) ที่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็ง ตลาดต่างประเทศชะลอตัว

กสอ. โชว์โมเดลลดต้นทุน SMEs 7 ล้านต่อปี

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรมโชว์โมเดลความสำเร็จโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอใจกลางเมือง ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน อันเป็นผลมาจากกลยุทธ์การส่งเสริมของ กสอ. ใน 2 โครงการอันได้แก่โครงการ LEAN และ MU ที่สามารถลดต้นทุน กว่า 7 ล้านบาทต่อปี

ติดอาวุธ“ซัพพลายเชน” เสริมแกร่ง SMEs

นายมาณพ ชิวธนาสุนทร สำนักพัฒนาการจัดการอุตสาหกรรม (สพจ.) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาห่วงโซ่อุปทาน หรือ Supply Chain ประเทศไทยมักมีปัญหา เนื่องจากมีการพัฒนาซัพพลายเชนเป็นจุดๆ ไป ซึ่งขาดการเชื่อมโยงขบวนการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดต้นทุนสูงไม่สามารถแข่งขันได้ โดยเฉพาะขบวนการผลิตที่โรงงานซึ่งยังมีขบวนการภายในอีกหลายส่วนจะต้องเชื่อมโยงกันตั้งแต่ความต้องการของลูกค้าแล้วแปรไปสู่ขบวนการวางแผนผลิตภัณฑ์ให้ได้ตามความต้องการของลูกค้า การบรรจุหีบห่อ และการขนส่ง ซึ่งแต่ละขบวนการจะต้องลดต้นทุนและสร้างสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ด้วย