รัฐพร้อมยก OTOP ขึ้นสู่ระดับอุตฯ SMEs

นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาศักยภาพการตลาดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ และพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือระหว่างกระทรวงพาณิชย์และสมาคมผู้ค้าปลีกไทยในการขยายตลาดสู่ช่องทางการค้าปลีก กำหนดแผนการตลาดพัฒนาสินค้ารูปแบบใหม่ และส่งเสริมช่องทางการตลาดไปจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ ว่า โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ เป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของรัฐบาลเพื่อสนับสนุนให้ชุมชน วิสาหกิจชุมชนมีรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

สมาชิกต่างจังหวัดเบื่อศึก ส.อ.ท. หนีตั้งสมาคม SMEs

นายสุทิน พรชัยสุรีย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคใต้ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่าสมาชิก ส.อ.ท.ในต่างจังหวัด โดยเฉพาะภาคใต้มีแนวคิดที่จะจัดตั้งสมาคมเอสเอ็มอีแห่งประเทศไทย เพื่อช่วยเหลือสมาชิกในต่างจังหวัดประสบปัญหาผลกระทบค่าแรงแพง ค่าเงินบาท และการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพราะช่วงที่ผ่านมา ส.อ.ท. หรือ สภาใหญ่ ไม่ได้เข้ามาช่วยเหลือเนื่องจากเกิดมีปัญหาความขัดแย้งภายใน เบื้องต้นหลายๆ จังหวัดจะรอดูสถานการณ์ใน ส.อ.ท. ประมาณ 2-3 เดือน หากมีการทะเลาะกันอีก อาจจำเป็นต้องตั้งสมาคมเอสเอ็มอีในแต่ละจังหวัด เพราะปัญหาความขัดแย้งทำให้พลังการต่อรองหรือเรียกร้องกับรัฐบาลลดลง เช่น มาตรการเยียวยาเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากค่าจ้าง 300 บาทโดยตรง

คลังเห็นชอบแผนเพิ่มทุนกู้วิกฤตเอสเอ็มอีแบงก์

แหล่งข่าวกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง ได้เห็นชอบแผนฟื้นฟูธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.)หรือเอสเอ็มอีแบงก์ และ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

แก้เกณฑ์คุมรายใหญ่ข่มเหง SMEs คุก 3 ปี ปรับ 6 ล้าน

นายสันติชัย สารถวัลย์แพศย์ รองอธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า กรมฯ จะเสนอให้คณะกรรมการแข่งขันทางการค้า ที่มีนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ เป็นประธาน พิจารณาเห็นชอบการปรับปรุงแก้ไขเกณฑ์อำนาจเหนือตลาด และยกร่างเกณฑ์การควบรวมกิจการ ภายใต้ พ.ร.บ.แข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542 เพื่อป้องกันธุรกิจรายใหญ่ผูกขาด จนทำให้ธุรกิจรายเล็กไม่สามารถแข่งขันได้ และยังเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ที่จะมีธุรกิจจากอาเซียนเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น

ส.อ.ท.ชี้ SMEs แบกทุนไม่ไหวไตรมาส 2 ขอขึ้นราคา

นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้มีโอกาสที่จะเห็นผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมปรับราคาสินค้าในประเทศขึ้น ตามภาระต้นทุนที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน ซึ่งภาระค่าแรงดังกล่าวยังส่งผลให้ต้นทุนวัตถุดิบปรับขึ้น

ประเมินไตรมาสแรกภาพรวมขึ้นค่าแรงไม่น่าวิตก

นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้าง(บอร์ดค่าจ้าง)กล่าวหลังเป็นประธานประชุมบอร์ดค่าจ้างว่า ที่ประชุมได้พิจาณาสถานการณ์ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การลงทุนและการจ้างงานระหว่างเดือนม.ค.-มี.ค.ที่ผ่านมาหลังจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาททั่วประเทศ ซึ่งสถานการณ์ต่างๆโดยรวมภาพไม่น่าวิตก แต่พบว่านายจ้างส่วนใหญ่มีการปรับตัวมากขึ้นโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงการจ้างงานจากรายเดือนไปเป็นรายวัน ซึ่งเรื่องนี้ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน(กสร.)ลงไปดูแลเพื่อไม่ให้ลูกจ้างเสียเปรียบ เนื่องจากการเปลี่ยนสภาพการจ้างงานต้องได้รับการยินยอมจากฝ่ายลูกจ้างด้วย ส่วนการเลิกจ้างในช่วงเดือนก.พ.มีเพียง 4,081 คนลดลงจากเดือนม.ค.ที่มี 10,000 คน ขณะที่ตัวเลขการจ้างงานของเดือน ก.พ.2556 เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันในปี 2555 เป็นร้อยละ 5.03

เปิดงาน "บิ๊กซี พาณิชย์ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์"

นางวัชรี วิมุกตายน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงาน “บิ๊กซี พาณิชย์ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” ซึ่งเป็นการเปิดพื้นที่จำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์(OTOP) ณ บริเวณชั้น 2 บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ราชดำริ เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2556 ว่า

ตรวจพบเอสเอ็มอี 209 แห่งเมินจ่ายค่าแรง 300 บาท

นายปกรณ์ อมรชีวิน อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน(กสร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2556 หลังจากที่มีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท พนักงานตรวจแรงงานของ กสร.ได้ออกตรวจสถานประกอบการใน 70 จังหวัด จำนวน 8,114 แห่ง ลูกจ้าง 360,808 คน พบว่า มีสถานประกอบการไม่ปรับขึ้นค่าจ้างเป็นวันละ 300 บาท จำนวน 209 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 2.58 ของสถานประกอบการที่ตรวจทั้งหมด และมีลูกจ้างได้รับผลกระทบจำนวน 6,211 คน คิดเป็นร้อยละ 1.72 ของจำนวนลูกจ้างที่ตรวจทั้งหมด