เทรนด์ De-Influencing กระทบ SME อย่างไร? เมื่อต้องการใช้คนช่วยโปรโมทสินค้า

TEXT : ภัทร เถื่อนศิริ

Main Idea

  • จากข่าวที่ Influencer บางคนถูกวิพากษ์วิจารณ์ตั้งแต่การขอกินฟรี บ้างก็อวยเกินยศ หรือพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ดีต่อสุขภาพ

 

  • ทำให้เกิดกระแส De-Influencing ขึ้นมา รีวิวแบบตรงๆ ไม่ป้ายยา เทรนด์นี้ส่งผลกระทบต่อ SME อย่างไรไปหาคำตอบกัน

 

อะไรคือกระแส #Deinfluencing

     กระแส De-Influencing มาจาก Influencer ต่างประเทศใน TikTok ที่เริ่มจะพูดถึงสินค้าตามความเป็นจริง เช่น สินค้าชิ้นไหนไม่จำเป็นต้องซื้อก็บอกให้เก็บเงินไว้ดีกว่า ตรงข้ามกับการป้ายยา เป็นการรีวิวแบบไม่ได้โจมตีแบรนด์ หรือต่อว่าสินค้า บางคนอาจจะใช้แล้วดีก็ได้ แต่เป็นความเห็นส่วนตัวที่รู้สึกว่ายังไม่คุ้มค่าด้วยสาเหตุใดๆ ก็ตาม โดยหลายๆ Influencer จะใช้การเปรียบเทียบผลลัพธ์ของสินค้าสองอย่างว่าใช้อันนี้แทนก็ได้ประหยัดเงินได้อีกเป็นการสื่อสารออกไป ลักษณะคล้ายๆ การ Hack Life

     ความเห็นส่วนตัวคิดว่าสินค้าแต่ละแบรนด์ไม่ได้นำเสนอคุณค่าแบบเดียวกัน หรือ ไม่ได้นำเสนอคุณค่าเพียงแค่ Functional Benefit เพียงอย่างเดียว แต่อาจจะส่งมอบ Emotional, Social Benefit ควบคู่กันไปด้วย การที่นำไปเปรียบเทียบแค่ผลลัพธ์พื้นฐานอาจจะไม่ยุติธรรมต่อสินค้านั้นๆ ที่คุณค่าส่งมอบมากกว่านั้น อีกทั้ง มันคือความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ให้มูลค่าต่อคุณค่าที่เค้าได้รับจากสินค้านั้น  ซึ่งแต่ละคนอาจจะไม่เท่ากันก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเอาตัวเองเป็นบรรทัดฐานความถูกต้องจะดีกว่า

นักรีวิวมาในคราบนักขอ

     เพราะการใช้ Influencer มีส่วนช่วยทำให้สินค้าเป็นที่รู้จักเพิ่มยอดขาย ธุรกิจหลายรายจึงหันมาพึ่งนักรีวิว แต่จากกระแสข่าวของนักรีวิวอาหารในตำนาน กับการไปขอกินฟรี และคิดค่าใช้จ่ายการรีวิว เริ่มต้นด้วยข้อพิพาทในอดีตระหว่างร้านอาหารบุฟเฟ่ต์รายหนึ่ง กับแอดมินกลุ่มบนเฟซบุ๊กที่เกี่ยวกับการรับประทานบุฟเฟ่ต์ที่มีผู้ติดตามเกือบล้านคน โดยทางร้านอาหารไม่ยอมให้บัตรเวาเชอร์อีก 2 ใบ ตามที่ทางตัวแทนของกลุ่มจำนวน 4 คนเรียกร้อง จนแอดมินของกลุ่มดังกล่าวข่มขู่ และเกิดข่าวขอกินฟรีอย่างที่เห็นในหน้าสื่อ และปัจจุบันกับการที่เพจร้านอาหารขอไปกินอาหารฟรี บวกกับค่าใช้จ่ายอีก เพื่อที่จะรีวิวให้หวานเจี๊ยบเลย แต่ทางร้านอาหารได้ปฏิเสธไปด้วยเหตุพลว่าไม่ได้มีงบประมาณในด้านนี้ Influencer พอไม่ได้ก็ไปว่ากล่าวให้ร้ายกับร้านอาหารนั้น ทำให้เกิดเป็นกระแสดราม่าขึ้น

3 ระดับของ นักรีวิวอาหาร ที่แบ่งตาม Follower

  • Foodie ระดับอยากบอกเล่า-บอกต่อเรื่องราว ไม่ได้มองมุมธุรกิจ และไม่มีผู้ติดตามมากนัก

 

  • Nano/Micro Influencer มีผู้ติดตามตั้งแต่ 1,000-50,000 คน มีทั้งกลุ่มจริงจังกับการสร้างรายได้ และทำด้วย Passion ไม่สนเงิน โดยจะมีร้านอาหารเริ่มส่ง หรือเชิญไปรับประทานอาหาร

 

  • Macro Influencer มีผู้ติดตามตั้งแต่หลักแสนคนเป็นต้นไป บางรายทำด้วยตัวคนเดียว หรือเริ่มจดทะเบียนบริษัท ส่วนใหญ่จริงจังกับการสร้างรายได้

 

     “คิดง่าย ๆ หากมีผู้ติดตามหลักหมื่นคน ให้ตัดศูนย์ทิ้งไปหนึ่งตัว นั่นคือค่าตัวของพวกเขา เช่นผู้ติดตาม 30,000 คน ค่าตัวของคนนั้นอาจอยู่ที่ 3,000 บาท ซึ่งตอนนี้ตลาด นักรีวิวร้านอาหาร ค่อนข้างบูม เพราะไม่มีใครเดินผ่านร้าน ร้านย่อมต้องการเอาร้านไปโผล่บนสื่อต่างๆ เพื่อสร้างยอดขายเดลิเวอรี และหลังคลายล็อกดาวน์”

     นอกจากนี้ยังเป็นเรื่องปกติที่ นักรีวิวอาหาร มักจะส่งอีเมล หรือสื่อสารช่องทางอื่น ๆ กับร้านอาหารดัง เพื่อติดต่อเข้าไปขอรีวิว และเหมือนจะเป็นที่เข้าใจตรงกันว่า หากร้านตอบตกลง การรับประทานอาหารมื้อนั้นต้องฟรี ซึ่งจริง ๆ แล้วความฟรีนั้นมีค่า เพราะหาก นักรีวิวอาหาร มีผู้ติดตามเยอะ โอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงเป็นยอดขายก็มากขึ้น

Model ธุรกิจ แบบ น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า อะไรจะหายไปอย่างหนึ่งไม่ได้

     “นักรีวิวอาหาร กับร้านอาหาร เหมือนน้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า อะไรจะหายไปอย่างหนึ่งไม่ได้ และผมเชื่อว่าถ้าผู้ประกอบการร้านอาหารมี Marketing Mindset พวกเขาไม่ได้มองอีเมลขอรีวิวร้านอาหาร เป็นการขอกินข้าวฟรี เพราะเขาจะมองว่ามันคุ้มหรือไม่ที่จะให้ นักรีวิวอาหาร คนนั้นมารีวิวอาหารเพื่อช่วยโปรโมท และเปลี่ยนเป็นยอดขายได้จริง”

ผลกระทบของ SME หากถูก Influencer กล่าวถึงในเชิงลบ

     เมื่อ SME ได้รับการตรวจสอบในเชิงลบโดย Influencer อาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อชื่อเสียงและผลกำไรของพวกเขา ผู้มีอิทธิพลมักจะมีผู้ติดตามจำนวนมากบนโซเชียลมีเดีย และผู้ติดตามของพวกเขาเชื่อมั่นในความคิดเห็นและคำแนะนำของพวกเขา ดังนั้น หากInfluencer พูดถึง SME ในเชิงลบ ผู้ติดตามของพวกเขาอาจมีโอกาสน้อยที่จะสนับสนุนธุรกิจหรือซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการของพวกเขา

     คำวิจารณ์เชิงลบจากInfluencer อาจทำให้ SME สูญเสียความน่าเชื่อถือได้เช่นกัน หากInfluencer มีชื่อเสียงในด้านความซื่อสัตย์และน่าเชื่อถือ การวิจารณ์เชิงลบของพวกเขาอาจทำลายชื่อเสียงของ SME และทำให้ลูกค้าตั้งคำถามถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์หรือบริการของตน นี่อาจเป็นอันตรายอย่างยิ่งสำหรับ SME ที่ยังสร้างแบรนด์และชื่อเสียงของตนอยู่

     นอกจากผลกระทบในทันทีต่อยอดขายและชื่อเสียงแล้ว การวิจารณ์เชิงลบจากInfluencer ยังอาจส่งผลระยะยาวต่อความพยายามทางการตลาดของ SME อาจเป็นเรื่องยากสำหรับ SME ในการเอาชนะคำวิจารณ์เชิงลบ และอาจต้องใช้ความพยายามและทรัพยากรอย่างมากในการเรียกความไว้วางใจจากลูกค้ากลับคืนมาและสร้างชื่อเสียงใหม่

     อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าไม่ใช่ว่าบทวิจารณ์เชิงลบทั้งหมดจาก Influencer จะเป็นอันตรายเสมอไป ในบางกรณี คำติชมเชิงลบสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีค่าแก่ SME ในด้านที่พวกเขาสามารถปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือบริการของตนได้ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยให้พวกเขาระบุปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ก่อนที่จะกลายเป็นปัญหาที่มีนัยสำคัญมากขึ้น ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ SME จะต้องพิจารณาข้อเสนอแนะที่ได้รับจากผู้มีอิทธิพลอย่างรอบคอบ และใช้ข้อมูลดังกล่าวเพื่อประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจและปรับปรุงข้อเสนอของตน

     สุดท้ายแล้วผมชอบบทสัมภาษณ์ของคุณมาวินฟินเฟ่อครับ ที่บอกว่าไม่ใช่ทุกร้านที่เค้าไปทานแล้วจะถูกปากเค้า แต่ความอร่อยของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ถ้าอันไหนไม่ถูกปากเราก็แค่ไม่เอาคลิปนั้นลง แต่อันไหนถูกปากเราก็ช่วยส่งเสริมเค้าโปรโมทเค้า ไม่จำเป็นเลยที่ต้องไปทำร้ายใคร เพราะเราไม่มีทางทราบเหตุผลเบื้องหลังของใคร ว่าเค้าเจอกับอะไรอยู่บ้าง เราทำหน้าที่สื่อเพื่อให้สังคมเกิดความสร้างสรร ส่งมอบพลังบวกต่อๆ กันไปดีกว่า

ที่มา : https://brandinside.asia/food-reviewer-2021/

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MARKETING

เปิด 8 เคล็ดลับ ปั้นแคมเปญโฆษณาสุดเจ๋ง! โดนใจลูกค้า

การสร้างแคมเปญให้โดนไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เกิดจากการวางแผนและกลยุทธ์ที่ชาญฉลาด เลยจะมาเผย 8 เคล็ดลับ ที่จะช่วยปั้นแคมเปญโฆษณาไทยให้ก้าวสู่ความสำเร็จ และสามารถนำเข้าไปอยู่ในใจคนได้จริง

หมีเนย VS หมูเด้ง 2 อินฟูลดังแห่งปี 2567

ถ้าพูดถึงผู้มีอิทธิพลที่ทั้งฮอต และดังสุดๆ บนโลกออนไลน์ปี 2567 คงเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก 2 อินฟลูเอนเซอร์ดัง “น้องหมีเนย” และ “หมูเด้ง” เราเลยขอสรุปเรื่องราวความฮอต ที่มาที่ไปตั้งแต่เริ่มเข้าวงการ จนความฮอตสุดๆ ให้ได้รู้กันอีกครั้งหนึ่ง

รวมสโลแกน แบรนด์ไทยที่ติดหู เทคนิคสร้างสโลแกนที่โดนใจลูกค้า

เมื่อสโลแกนช่วยสร้างเอกลักษณ์ให้กับแบรนด์ ช่วยเพิ่มการจดจำแบรนด์ มาดูกันว่าจะมีเทคนิคสร้างสโลแกนให้โดนใจลูกค้าได้อย่างไรบ้าง