What is your name?

 



เรื่อง :  จิตศิลป์ อภิรักษ์มนตรี



    ชื่อจริงของคุณผู้อ่านชื่ออะไรครับ เรียกง่ายไหมครับและเพื่อนๆ ของคุณเรียกชื่อจริงของคุณครบทุกคำไหม เพราะผมเห็นส่วนมากจะเรียกแค่ชื่อพยางค์แรก หรือเรียกชื่อแค่พยางค์สุดท้ายกัน แล้วชื่อแบรนด์สินค้าของคุณล่ะ?

    ผมได้มีโอกาสร่วมงาน Workshop of packaging design for japan จัดโดยกรมส่งเสริมการส่งออก ที่ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและการตลาดของญี่ปุ่น Mr.Katsuto Yoneha และ Mr.Katsuyashi Tsujinaka มาช่วยให้ความรู้ในการทำงานออกแบบในครั้งนี้

     โดยผมได้ทำงานออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับส่งออกประเทศญี่ปุ่นให้กับแบรนด์สยามพรีเสิร์ฟฟู้ดส์ เป็นผลิตภัณฑ์มังคุดอบกรอบ ที่ใช้เทคโนโลยีทันสมัยในการอบให้เนื้อมังคุดกรุบกรอบ แต่ยังคงรสชาดเปรี้ยวหวานของตัวเนื้อมังคุด สมกับเป็นแบรนด์ทำอาหารแปรรูปชั้นนำของไทย 

    แต่เมื่อสยามพรีเสิร์ฟฟู้ดส์จะทำการส่งออกไปขายที่ประเทศญี่ปุ่นยังถือว่าเป็นแบรนด์ใหม่ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องให้แบรนด์ให้เป็นที่จดจำได้งาน เนื่องจากโลโก้ในปัจจุบันมีรายละเอียดและองค์ประกอบค่อนข้างมาก ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคจำจดได้ยาก

    ดังนั้นจึงได้เริ่มต้นจากการ Development Logo Design ให้เรียบง่าย ใช้เพียงแค่ตัวอักษรที่มีกลิ่นอายความเป็นไทยและเน้นคำว่า Siam ให้จดจำง่ายและสื่อถึงสินค้าที่มาจากประเทศไทย และด้วยสินค้าผลไม้แปรรูปที่ทางบริษัทผลิตมี 2 ประเภทคือ 1.ผลไม้อบกรอบ 2.ผลไม้อบแห้ง จึงได้คิดชื่อ Sub Brand เพื่อแยกประเภทของสินค้าเพื่อให้ผู้บริโภคเลือกบริโภคได้ถูกต้องกับความต้องการ 

    โดยได้ตั้งชื่อสำหรับผลไม้อบกรอบว่า Smile Fruit และผลไม้อบแห้งใช้ชื่อว่า Sweetly Fruit โดยการคิดชื่อ Sub Brand ได้แนวความคิดจากการใช้ตัว S เป็นตัวนำหน้าชื่อแบรนด์เพื่อให้สอดคล้องกับคำว่า Siam แบรนด์หลักจะได้เป็นชื่อไปไหนทิศทางเดียวกันทั้งหมดและทำให้ผู้บริโภคจดจำได้ง่าย และได้ใส่ลูกเล่นน่ารักๆ เข้าไปในโลโก้ อย่าง Smile Fruit เป็นผลไม้อบกรอบที่มีรสเปรี้ยวมีวิตามินซีสูงก็ใส่กราฟิกรูปดาว สื่อถึงสายตาที่สดใสดีต่อสายตา

     ส่วน Sweetly Fruit เป็นผลไม้อบแห้งที่มีรสหวานใช้กราฟิกลายเส้นเหมือนตายิ้มที่มีความสุขกับความหวานของรสผลไม้ ซึ่ง Mr.Katsuto ชื่นชอบวิธีการคิดชื่อ Sub Brand เป็นอย่างมาก เนื่องจากแบรนด์สินค้าประเภทของทานเล่นในญี่ปุ่นมีเยอะ แล้วคนญี่ปุ่นก็มีความเข้าใจกับคำว่า Siam หมายถึง ประเทศไทยเป็นอย่างดี เหมือนคนไทยรู้ว่า Nipon หมายถึงประเทศญี่ปุ่น เช่นกัน

 



    ส่วนต่อมาที่ต้องทำการพัฒนาคือ ด้านโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ ซึ่งบรรจุภัณฑ์เดิมใช้กระป๋องโลหะทรงกลมซึ่งเป็นรูปทรงที่ไม่เหมาะสมต่อการขนส่งไปยังต่างประเทศ เนื่องจากทำให้เปลื้องพื้นที่และเสียต้นทุนในการขนส่ง จึงได้คิดบรรจุสินค้าใส่กล่องกระดาษ เพื่อประหยัดพื้นที่ในการขนส่ง โดยได้คำนวณขนาดของกล่องมาจากกล่องขนส่งมาตรฐาน 60x40cm ส่วนการบรรจุสินค้าภายใน เนื่องจากไลฟ์สไตล์ของคนญี่ปุ่นมีความเร่งรีบสูง ทำให้แม้แต่เวลาทานข้าวยังไม่ค่อยมี จึงทำให้เกิดสินค้าขายดีในญี่ปุ่นที่ชื่อว่า Calorie Mate เป็นแท่งขนมที่มีคุณค่าเทียบเท่าสารอาหารที่มนุษย์ต่อการใน 1 มื้อ ซึ่งบรรจุในซองขนาดพกพา 

    จากการได้หาข้อมูลดังกล่าวจึงทำให้เกิดแนวคิดใช้ซองฟอยล์ เพื่อเก็บรักษาสินค้าได้ดี บรรจุ 2 ถุง ใน 1 กล่อง เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้ชีวิตที่เร่งรีบของชาวญี่ปุ่นและให้สะดวกในการทานเล่นของสุภาพสตรี ส่วนทางด้านกราฟิกได้ออกแบบโดยใช้สีสันกราฟิกแบบเรียบง่าย เพื่อเน้นโชว์รูปผลไม้อย่างเด่นชัด เพื่อให้ผู้บริโภคเห็นเป็นอย่างแรกว่า เราขายอะไรเพื่อเป็นการดึงดูดสายตา เนื่องจากคู่แข่งบนชั้นวางชิ้นค้าประเภทของทานเล่นที่ประเทศญี่ปุ่นมีเยอะมาก ดังนั้นการสื่อสารบนบรรจุภัณฑ์ต้องชัดเจน ดึงดูดและต้องมีสวยงามน่ารับประทาน 

    จะเห็นได้ว่าการคิดตั้งชื่อแบรนด์หลักและรองมีความสำคัญเป็นอย่างมาก แล้วแต่ที่มาของความหมายในการสื่อสาร อย่างชื่อกลุ่ม Bizboxdesign ของผม หลายท่านชื่นชอบเห็นแล้วสื่อสารได้ดีอ่านแล้วเข้าใจ มีความหมายเป็นทางการ ซึ่งแท้ที่จริงแล้วมาจากการที่ผมชอบฟังเพลง Hip Hop และมีจังหวะที่เรียกว่า Beat Box ผมจึงเล่นคำพ้องเสียงจาก Beat เป็น Biz ที่หมายถึง Business แล้วเจอกันใหม่ในเล่มเดือนตุลาคมครับ...!!!

    จิตศิลป์ อภิรักษ์มนตรี นักออกแบบอิสระในนามกลุ่ม Bizboxdesign เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ปัจจุบันทำงานเป็นที่ปรึกษาโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา, อาจารย์พิเศษ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, วิทยากรพิเศษ สถาบันอาหาร และเคยได้รับรางวัล The Winner of World Star Packaging Award และ The Winner of Asia Star Packaging Award 2 ปีซ้อน

SME Thailand : เพื่อนคู่คิด ธุรกิจเอสเอ็มอี
ติดตามข้ัอมูลดีๆ สำหรับ SMEs ได้ที่  www.smethailandclub.com

RECCOMMEND: MARKETING

ถอดวิธีคิดญี่ปุ่น 5 เคล็ดลับออกแบบสินค้าที่ครองใจคนทั่วโลก

เคยสงสัยไหมว่าทำไมสินค้าจากญี่ปุ่นถึงได้รับความนิยมไปทั่วโลก? ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์, แกดเจ็ต, นั่นเพราะสินค้าจากแดนปลาดิบมักจะโดดเด่นด้วยดีไซน์ที่เรียบง่ายแต่ทรงพลัง และฟังก์ชันการใช้งานที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างตรงจุด

เจาะลึกเทรนด์ร้านอาหารและเครื่องดื่มปี 2568 ที่ธุรกิจต้องรู้

 ในปี 2568 ยังคงเป็นสนามแข่งขันที่ดุเดือด ในบทความนี้ เราจะมาเจาะลึกแนวโน้มสำคัญๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในวงการอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนธุรกิจและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

เอาสินค้าเข้า Modern Trade ต้องทำยังไง? เจาะลึกทุกขั้นตอน สู่ความสำเร็จบนชั้นวางสินค้า

การก้าวเข้าสู่โลกของ Modern Trade นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย วันนี้ SME Thailand จะพาคุณไปล้วงเคล็ดลับจากวงในมาเปิดเผยแบบหมดเปลือกกัน