How to ลดต้นทุนค่าขนส่ง สู้วิกฤตน้ำมันแพง

 

 

     จากปัญหาราคาน้ำมันดีดตัวเพิ่มสูงขึ้น ล้วนส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการธุรกิจทั้งน้อยใหญ่ ไม่ว่าร้านค้าออนไลน์ เจ้าของแบรนด์สินค้า หรือแม้แต่โรงงานผลิตรายใหญ่ ทำให้ต้นทุนสินค้าเพิ่มสูงขึ้น วิธีการแก้ไขปัญหานอกจากการพยายามหาพลังงานทางเลือกที่ถูกกว่ามาใช้ทดแทนแล้ว หากมีการวางแผนบริหารจัดการระบบขนส่งที่ดีด้วย ก็น่าจะยิ่งช่วยลดต้นทุนการผลิตลงได้ด้วย โดยแต่ละขนาดธุรกิจก็มีรูปแบบที่เหมาะสมแตกต่างกันไป มี How to อะไรน่าสนใจบ้างลองไปดูกัน

สถิติการขนส่งที่น่าสนใจ

  • ค่าขนส่งคิดเป็น 10 – 15 % ของต้นทุนธุรกิจ
  • บริหารเที่ยวขนส่งทั้งไป – กลับได้ ช่วยลดต้นทุนค่าขนส่งได้มากถึง 12 %
  • ไทยใช้วิธีการขนส่งทางถนนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 80
  • การขนส่งทางน้ำช่วยประหยัดค่าขนส่งมากกว่าทางบก 8 - 9 เท่า
  • ขณะที่การขนส่งทางรางช่วยประหยัดค่าขนส่งมากกว่าทางบก 3 เท่า

 

How to ลดต้นทุนธุรกิจไซส์ S

เช่น ร้านค้าออนไลน์, ร้านค้าขนาดเล็ก

  • เปรียบเทียบราคาขนส่งแต่ละเจ้า โดยเลือกให้เหมาะกับรูปแบบสินค้า
  • เช่น ของกิน, ของสด, ต้นไม้, สินค้าแฟชั่น
  • เลือกตามความต้องการลูกค้า เช่น ส่งด่วน ส่งเร็ว ส่งธรรมดา เพื่อช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย
  • เลือกใช้แพ็กเกจจิ้งให้เหมาะสม โดย 1. ปกป้องสินค้าได้ 2. ไม่ใหญ่เกินไป เพื่อประหยัดค่าขนส่ง 3. ถ้าเลือกใช้ซองได้ ก็ใช้ เพราะน้ำหนักเบากว่ากล่อง

 

How to ลดต้นทุนธุรกิจไซส์ M, L

ได้แก่ ธุรกิจขนาดกลาง มีตัวแทนจำหน่าย ขายส่ง

  • หาพื้นที่ดรอปสินค้า สร้างคลังสินค้า เพื่อการกระจายที่รวดเร็ว และประหยัดต้นทุนมากกว่า
  • โดยจะจัดตั้งศูนย์ของตัวเอง หรือเช่าพื้นที่ก็ได้
  • ขนส่งพร้อมกันทีละเยอะๆ ให้ได้จำนวนมากที่สุด
  • จัดส่งเอง - ต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง ได้แก่ เชื้อเพลิง, ค่าการบำรุงดูแลรักษา, ค่าจ้างพนักงาน แต่มีความคล่องตัวมากกว่า
  • จ้างเอาท์ซอร์ส - ค่าจ้างต่อหน่วยแพงกว่า ความคล่องตัวน้อยกว่า แต่ข้อดี คือ ไม่ต้องยุ่งยากบริหารจัดการเอง
  • กรณีทำการจัดส่งเอง ลองสมัครแอปฯ รับจ้างขากลับ แทนการวิ่งเปล่า เพื่อช่วยลดต้นทุน
  • หากเลือกใช้เอาท์ซอร์สให้เลือกขนส่งที่มีเครือข่ายใหญ่ รับงานทั้งขาไปและขากลับ เพราะค่าใช้จ่ายจะถูกกว่าเจ้าที่ขนส่งขาเดียว

 

How to ลดต้นทุนธุรกิจไซส์  XL

ได้แก่ ธุรกิจขนาดใหญ่ เช่น โรงงานผลิตสินค้า

  • วางแผนการจัดส่งอย่างเป็นระบบ โดยนำเทคโนโลยีด้านโลจิสติกส์เข้ามาช่วย เช่น การจัดเส้นทางขนส่งในโซนเดียวกัน, การคำนวณพื้นที่ความจุจากขนาดสินค้า
  • สร้างคลังสินค้า จุดดรอปสินค้า หรือขยายโรงงานการผลิตสาขาย่อย เพื่อครอบคลุมภูมิภาคนั้นๆ
  •  เปิดบริษัทขนส่งของตัวเอง และเปิดรับจ้างงานบริษัทอื่นไปด้วย
  • ลองสมัครแอปฯ รับจ้างขากลับ แทนการวิ่งเปล่า เพื่อช่วยลดต้นทุน
  • เลือกใช้วิธีขนส่งแบบผสมผสาน เช่น ทางน้ำ, ทางบก, ทางราง เพื่อหารูปแบบที่เหมาะสมและประหยัดที่สุด

 

TEXT : กองบรรณาธิการ

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MARKETING

ถอดวิธีคิดญี่ปุ่น 5 เคล็ดลับออกแบบสินค้าที่ครองใจคนทั่วโลก

เคยสงสัยไหมว่าทำไมสินค้าจากญี่ปุ่นถึงได้รับความนิยมไปทั่วโลก? ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์, แกดเจ็ต, นั่นเพราะสินค้าจากแดนปลาดิบมักจะโดดเด่นด้วยดีไซน์ที่เรียบง่ายแต่ทรงพลัง และฟังก์ชันการใช้งานที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างตรงจุด

เจาะลึกเทรนด์ร้านอาหารและเครื่องดื่มปี 2568 ที่ธุรกิจต้องรู้

 ในปี 2568 ยังคงเป็นสนามแข่งขันที่ดุเดือด ในบทความนี้ เราจะมาเจาะลึกแนวโน้มสำคัญๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในวงการอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนธุรกิจและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

เอาสินค้าเข้า Modern Trade ต้องทำยังไง? เจาะลึกทุกขั้นตอน สู่ความสำเร็จบนชั้นวางสินค้า

การก้าวเข้าสู่โลกของ Modern Trade นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย วันนี้ SME Thailand จะพาคุณไปล้วงเคล็ดลับจากวงในมาเปิดเผยแบบหมดเปลือกกัน