5 บทเรียนจากตำรา 2000 ปี The Art of War ที่จะเปลี่ยนแนวคิดการทำธุรกิจชนะคู่แข่งแบบซุนวู

Text : รัชนีกร ทองรอด

 

     ถ้าคุณเคยอ่าน "ศิลปะแห่งสงคราม" ของซุนวู คุณก็จะรู้ดีว่านายพลจีนมีกลยุทธ์มากมายที่สามารถเอาชนะคู่ต่อสู้ได้ ซึ่งคำสอนของเขาไม่ได้มีไว้สำหรับนักรบเท่านั้น แต่ยังสามารถนำไปใช้กับธุรกิจได้อีกด้วย สิ่งที่อยากแนะนำต่อจากนี้เป็น 5 บทเรียนจาก The Art of War ที่คุณจะสามารถนำเอาไปปรับใช้กับธุรกิจของคุณได้

1.“รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง”

 ข้อคิดเชิงปรัชญาจากซุนวู ผู้เขียนตำราพิชัยสงครามของซุนวู ยังคงเป็นประโยคยอดฮิตมาจนถึงทุกวันนี้ประโยคนี้เกิดจากการรวมประโยคคำสอนของซุนวูที่กล่าวว่า

“ถ้าคุณรู้จักศัตรูและรู้จักตัวเอง ไม่จำเป็นต้องกลัวผลของการต่อสู้ร้อยครั้ง หากรู้จักตัวเองแต่ไม่รู้จักศัตรู ทุกครั้งที่ได้รับชัยชนะ คุณจะรู้สึกพ่ายแพ้”

ดังนั้น ในการทำธุรกิจถ้าอยากชนะคู่แข่ง คุณต้องรู้จักคู่แข่งของคุณให้ดีก่อน  ต้องศึกษาว่าคู่แข่งเป็นใคร ใช้กลยุทธ์อะไร เมื่อได้ศึกษาแล้วคุณก็จะได้รู้ว่าจุดด้อยของเขาคืออะไร แล้วคุณก็เอาจุดด้อยนั้นไปพัฒนาเป็นจุดแข็งของธุรกิจ 

2. วางแผนและเตรียมพร้อมรับมือ

“ถ้าคุณรู้จักศัตรูและรู้จักตัวเอง คุณจะชนะโดยไม่ต้องสงสัยเลย แต่ถ้าคุณรู้ว่าเหตุการณ์ข้างหน้าจะเป็นอย่างไร คุณอาจจะเป็นผู้ชนะโดยสมบูรณ์แบบก็ได้” 

ซุนวูรู้ดีว่าการต่อสู้แต่ละครั้งไม่ได้ง่าย ดั้งนั้นเขาจึงต้องวางแผนในการต่อสู้  ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเหตุการณ์ข้างหน้าจะเป็นอย่างไร แล้วจะต้องไปเผชิญกับปัญหาอะไร แต่สิ่งที่สำคัญที่ต้องทำคือการวางแผนและเตรียมการให้ดีที่สุด

ดังนั้นในการทำธุรกิจ ไม่ว่าคุณจะมั่นใจกับแผนกลยุทธ์แค่ไหน คุณก็ต้องเตรียมพร้อมรับมือกับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น 

3.ต้องมีการพลิกแพลงกลยุทธ์

“อย่าใช้วิธีการรบแบบซ้ำๆ ที่ทำให้คุณได้รับชัยชนะ เมื่อคุณต้องเจอกับสถานการณ์ที่หลากหลายคุณต้องเปลี่ยนแผนการสู้รบ”

ซุนวูรู้ดีว่าสิ่งต่าง ๆ ไม่เป็นไปตามแผนเสมอไป ทุกสถานการณ์ที่ต้องเผชิญมีความแตกต่างกัน ซึ่งไม่สามารถคาดเดาได้ว่ามันจะเกิดอะไรขึ้น เขาจึงได้บอกกับนักรบว่าเราต้องปรับแผนการให้เขากับสถานการณ์ที่กำลังเผชิญอยู่ 

ดังนั้นในการทำธุรกิจ หากคุณทำตามแผนธุรกิจหรือกลยุทธ์ที่วางไว้  บางครั้งมันก็ไม่เป็นตามแผนที่วางไว้เสมอไป คุณควรคิดและแก้ไขแผนนั้นและไม่ควรยืดติดกับผลลัพธ์ได้

4. อย่าโจมตีโดยที่ไม่ได้วางแผน

 “ถ้าคุณรู้จักศัตรูและตัวเอง ต่อให้สู้เป็นร้อยครั้งคุณก็จะปลอดภัยกลับมา ถ้าคุณไม่รู้จักศัตรูแต่รู้จักตัวเอง คุณจะชนะและแพ้อย่างละหนึ่งครั้ง และถ้าไม่รู้จักศัตรูหรือตัวเอง คุณจะต้องเสี่ยงทุกครั้งในการสู้รบ”

บางครั้งในการสู้รบซุนวูก็แปลกใจว่าทำไมเขาถึงช่วยให้นักรบของเขารอดกลับมาได้ ซึ่งเขายังได้รู้อีกว่าการคาดเดาอาจนำไปสู้ความพ่ายแพ้  และเขาได้สอนวิธีการอ่านใจคู่ต่อสู้ให้กับนักรบด้วย แต่ก็ยังเตือนให้ระวังว่าบางครั้งศัตรูอาจคาดเดาไม่ได้

ดังนั้นในการทำธุรกิจ หากคุณรู้ว่าคู่แข่งกำลังจะทำอะไร คุณก็จะได้เปรียบ แต่ไม่ใช่ว่าเอาแต่คาดเดาอย่างเดียว ต้องศึกษาและติดตามความเคลื่อนไหวของคู่แข่งอย่างใกล้ชิดด้วย ซึ่งก็เหมือนกับข้อแรกที่ได้พูดไปแล้ว

5. อย่าต่อสู้ถ้ามันไม่จำเป็น

“การต่อสู้และการชนะไม่ใช่สิ่งที่เหนือที่สุด แต่สิ่งที่เหนือที่สุดคือการต่อสู้โดยไม่ต้องสู้”

ซุนวูจะสั่งให้กำลังพลโจมตีก็ต่อเมื่อเป็นฝ่ายได้เปรียบเท่านั้น เพื่อลดความบาดเจ็บของกองกำลัง

ดันนั้นในการทำธุรกิจ หากคุณพบวิธีในการเพิ่มกำไรหรือลดต้นทุน โดยไม่ต้องเสียอะไรเลย ให้ลงมือทำเลย อย่ารอช้า โอกาสของคุณมาถึงแล้ว 

     นี่เป็น 5 บทเรียนจาก The Art of War  ที่จะให้คุณเปลี่ยนแปลงแนวคิดในการทำธุรกิจไปตลอดกาล

ที่มา : https://bettermarketing.pub/5-lessons-from-2-000-years-ago-that-will-revolutionize-your-business-f4f97c7a23ad

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MARKETING

ขายวันละล้าน แต่กำไรศูนย์ บทเรียนธุรกิจแสนแพง จาก PABLO Cheesetart ในไทย

ในโลกของธุรกิจอาหารและขนมหวาน ยอดขายวันละล้านบาทคือความฝันของผู้ประกอบการ แต่ใครจะเชื่อว่าเบื้องหลังตัวเลขมหาศาลนั้นอาจซ่อนความจริงที่ขมขื่น และนี่คือบทเรียนราคาแพงจาก PABLO Cheesetart ที่ เบียร์ ใบหยกไม่มีวันลืม

ทำคอนเทนต์ท่องเที่ยวให้เป็นธุรกิจเงินล้าน ถอดบทเรียนจาก Go Went Go และ อาสาพาไปหลง

พาคุณเจาะลึกเส้นทางธุรกิจของ Go Went Go และ อาสาพาไปหลง พร้อมถอดบทเรียนที่นำไปใช้ได้จริง และชี้ทางให้คุณเปลี่ยนคอนเทนต์ท่องเที่ยวเป็นธุรกิจที่ยั่งยืน โดยออกแบบให้เหมาะกับกลุ่มคนทำธุรกิจบนเฟซบุ๊ก 

Creator Commerce ตัวเปลี่ยนเกมธุรกิจ 78% ลูกค้าเชื่อรีวิวมากกว่าโฆษณาแบบเดิมๆ

รู้หรือไม่ว่า 78% ของลูกค้าดูรีวิวจากครีเอเตอร์ก่อนซื้อ นั่นแปลว่าครีเอเตอร์นั้นมีพลังมากกว่าโฆษณาแบบเก่า ดังนั้นการตลาดผ่านครีเอเตอร์ หรือ Creator Commerce จึงไม่ใช่แค่กระแส แต่กำลังกลายเป็นกลยุทธ์หลักของธุรกิจทุกขนาดในไทย