เจาะเคล็ดลับ ทำ Social Commerce ตัวช่วย Micro SME ขายดี โตได้ แม้ไม่เปิดหน้าร้าน

               


         การช้อปปิงออนไลน์ไม่ใช่เรื่องใหม่อีกต่อไป โดยเฉพาะเมื่อเราเผชิญกับสถานการณ์โรคระบาดยิ่งทำให้อี-คอมเมิร์ซเติบโต ซึ่งวิธีที่จะเข้าสู่สนามตลาดออนไลน์ได้เร็ว ง่าย และไม่มีค่าใช้จ่าย ก็คือ ใช้โซเชียลมีเดียนี่เอง ไม่ว่าจะเป็นช่องทางเฟสบุ๊กหรือไลน์ จะเห็นได้ว่ามีแบรนด์ใหม่ๆ ที่เริ่มต้นจาก Social Commerce มากมาย
               

         เห็นได้จากสถิติของ LINE Shopping ที่ปัจจุบันมีร้านค้าในแพลตฟอร์มกว่า 2 แสนล้านรายแล้ว ซึ่งหมวดที่เติบโตเยอะที่สุดก็คือ Health & Beauty ที่เติบโตขึ้นถึง 35 เปอร์เซ็นต์ในช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายนที่ผ่านมา ในมุมของผู้บริโภค มีผู้ซื้อในระบบแล้วกว่า 7 ล้านราย และที่สำคัญที่สุดคือมีคนที่กลับมาซื้อซ้ำอย่างต่อเนื่องถึง 30 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว


         แล้วทำไมต้องใช้ Social Commerce นี่คือข้อดีที่เหล่า SME ปฏิเสธไม่ได้เลย


  1. ไม่มี GP ไม่มีค่าคอมมิชชั่นในการขาย ไม่ต้องหักส่วนแบ่งให้กับแพลตฟอร์ม

 

  1. การซื้อ-ขายเป็นการโอนเงินตรงจากผู้ซื้อค้าถึงผู้ขาย ต่อให้เป็นการจ่ายผ่านบัตรเครดิตก็ตาม เงินก็เข้าร้านค้าโดยตรง

 

  1. ลูกค้าเป็นของร้านค้าเอง ถ้าร้านค้าต้องการจะเก็บรายชื่อลูกค้าไว้ หรือต้องการติดต่อลูกค้าอีกครั้งหรือเวลาลูกค้ากลับมาซื้ออีกครั้ง ก็จะเป็นการติดต่อระหว่างร้านค้ากับลูกค้า และร้านค้าสามารถดาวน์โหลดข้อมูลลูกค้าได้

 

           ซึ่ง 3 ข้อนี้เป็นลักษณะสำคัญของโมเดลธุรกิจที่เรียกว่า direct to consumer business (D2C) ซึ่งเป็นเทรนด์ในต่างประเทศเช่นกัน


          เห็นแบบนี้แล้ว ธุรกิจที่ยังไม่ได้เริ่มทำ Social Commerce คงต้องคิดใหม่แล้วเริ่มทำการตลาดผ่านช่องทางนี้ได้แล้ว แต่ถ้าไม่รู้จะเริ่มอย่างไร เรามีคำแนะนำจาก เลอทัด ศุภดิลก หัวหน้าฝ่ายธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ LINE ประเทศไทย มาฝาก





Micro Business ผู้ได้เปรียบบนโลก Social Commerce

 


           Social Commerce เป็นเครื่องมือการตลาดสำหรับธุรกิจทุกขนาด แต่กลับเป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจขนาดเล็กจำนวนมาก แถมยังเป็นเครื่องมือสำคัญเสียด้วย ซึ่งมี 4 คุณสมบัติสำคัญที่ทำให้ธุรกิจเล็กประสบความสำเร็จในการใช้ Social Commerce ได้ดีกว่าธุรกิจขนาดใหญ่เสียอีก นั่นก็คือ
 

  1. Passionate มีแพสชั่นสูงมาก ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก ธุรกิจจะต้องสู้อยู่ตลอดเวลา ก็ต้องหาทางดิ้นรนและมีแพสชั่นในการทำธุรกิจ

 

  1. Human & Personal ธุรกิจเล็กมักจะมีการดูแลลูกค้าด้วยตัวเอง เวลาที่ขายออนไลน์แทนที่จะนึกถึงการสร้างระบบพวกเขามักจะคิดว่าทำอย่างไรจะขายได้ ฉะนั้นเขาจึงแชทกับลูกค้า มีการดูแลอย่างดี จะจำได้ว่าลูกค้าแต่ละรายเป็นใคร ซื้อบ่อยแค่ไหน จนกลายเป็นเสน่ห์และเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมผู้คนยังซื้อจากร้านค้าเหล่านี้ และเป็นเหตุผลที่ทำให้ขายดีใน social commerce ด้วย

 

  1. Agile ปรับตัวเร็ว เช่น ธุรกิจทัวร์ที่ไม่สามารถเดินทางไปไหนได้ในช่วงโควิด อาจจะเปลี่ยนธุรกิจ ในเมื่อพาคนไปต่างจังหวัด หรือต่างประเทศไม่ได้ เขาอาจจะเอาสินค้าจากจังหวัดต่างๆ มาขาย หรือสินค้าจากธุรกิจอื่นๆ มาขายให้กับลูกทัวร์ตัวเอง เพราะในแต่ละทัวร์มักจะมีกรุ๊ปไลน์หรือ line official account ที่มีคนติดตามอยู่แล้ว เรียกได้ว่ามีฐานแฟนอยู่ ทำให้สามารถปรับตัวได้เร็วเพื่อรับมือกับสถานการณ์นี้

 

  1. Creative Business ธุรกิจเล็กมักงบไม่มากนักเมื่อเทียบกับธุรกิจใหญ่ๆ จึงจะต้องมีความคิดสร้างสรรค์ (Creative) และนวัตกรรม (innovative) เช่น ร้านเสื้อผ้า เมื่อแฟชั่นยอดตกลงอาจจะเป็นมาขายแมสก์เพิ่มขึ้น หรือเริ่มมาขายสินค้าตกแต่งบ้าน เป็นต้น




 

อย่าลืมเปลี่ยนลูกค้าให้เป็นแฟนตัวยง

 

         และนี่คือคำแนะนำสำหรับร้านค้าที่ต้องการเริ่มต้นใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Social Commerce
 

  1. ลองทุกโซลูชั่น ทั้ง E-Market Place หรือ Social Media ต่างๆ เพราะแต่ละช่องทางมีคุณลักษณะไม่เหมือนกัน หาอะไรที่เหมาะกับธุรกิจ อาทิ อีมาร์เก็ตเพลส ช่วยทำการตลาดให้แต่มีการเก็บคอมมิชชั่น

 

  1. มองหาคนที่จะซัพพอร์ตธุรกิจได้ บางร้านอาจจะลืมไป พยายามช่วยเหลือตัวเองเพียงลำพัง ทั้งที่จริงมีคนที่สามารถช่วยได้ จากทั้งผู้ขาย เจ้าของแพลตฟอร์ม หรือกระทั่งลูกค้า เช่น ถ้าร้านมี official account อยู่แล้ว มีฐานแฟนอยู่แล้ว ถ้าต้องปรับธุรกิจก็ลองถามลูกค้าเลยก็ได้ว่ามีอะไรที่เราช่วยได้ไหม หรือคุณอาจจะได้ไอเดียว่าในธุรกิจปัจจุบันถ้าขายไม่ได้ จะขายอะไรต่อดี เช่น เราเห็นธุรกิจโรงแรมปรับตัวขายแพ็คเกจขายสปา ขายอาหาร หรือถ้ายังไม่มีฐานแฟน ลองถามเน็ตเวิร์คของตัวเอง อาจจะลองแชร์ในโซเชียลเน็ตเวิร์คส่วนตัว ขอความช่วยเหลือดูว่าเรามีสินค้าและบริการเหล่านี้ มีใครสนใจบ้าง เป็นต้น





  1. ยืนหยุ่นในสิ่งที่นำเสนอ ไม่ใช่ทุกอย่างที่ขายได้ในช่วงนี้ เช่น ธุรกิจแฟชั่นยอดขายอาจจะตกลงเพราะคนไม่ค่อยออกไปข้างนอก อาจจะเป็นเรื่องของการขายสินค้าตกแต่งบ้านแทน ปรับสิ่งที่นำเสนอให้กับลูกค้าแต่รักษาแบรนด์เอาไว้ ถ้าลูกค้าเชื่อในแบรนด์ (Trust) ก็จะสามารถเปลี่ยนสินค้าหรือบริการได้

 

  1. เก็บลูกค้าในแต่ละแพลตฟอร์มไว้เป็นฐานแฟน (convert your customers into Fans) ซึ่งธุรกิจที่สามารถทำแบบนี้ได้คือธุรกิจที่เข้าถึงลูกค้า บางธุรกิจที่ไม่มีช่องทางติดต่อลูกค้าโดยตรงเมื่อเผชิญกับวิกฤตอย่างโควิดจึงลำบากกว่าธุรกิจอื่น ต้องเริ่มต้นใหม่เพราะไม่รู้จะเข้าถึงลูกค้าอย่างไร และถ้าเปลี่ยนลูกค้าให้เป็นแฟนของแบรนด์ได้ ไม่ว่าภาวะธุรกิจจะเป็นอย่างไรก็จะสามารถเข้าถึงลูกค้าได้เสมอ และเป็นลูกค้าที่อยู่กับแบรนด์ในระยะยาว

 


 
 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MARKETING

วิกฤตสูงวัย เด็กเกิดใหม่น้อย กรณีศึกษาธุรกิจญี่ปุ่น ปรับตัวผลิตสินค้าผู้ใหญ่แทนสินค้าเด็ก

Oji Holdings ผู้ผลิตผ้าอ้อมในญี่ปุ่นประกาศยุติผลิตผ้าอ้อมเด็ก หันไปเพิ่มปริมาณการผลิตผ้าอ้อมผู้ใหญ่แทน สาเหตุมาจากอัตราการเกิดที่ลดลงและจำนวนประชากรสูงวัยของญี่ปุ่นที่เพิ่มสูงขึ้น

โอกาสโกอินเตอร์ของแบรนด์ไทย ทำงานกับนักธุรกิจระดับโลก งาน Gifts & Premium Fair ฮ่องกง

ฮ่องกงขึ้นชื่อว่าเป็นดินแดนที่มีการจัดงานแสดงสินค้าที่ยิ่งใหญ่ของโลกแห่งหนึ่ง และหนึ่งในนั้นคืองานแสดงสินค้าของขวัญและของพรีเมียมภายใต้ชื่อ Hong Kong Gifts & Premium Fair ซึ่งกำลังจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 27-30 เมษายน 2024