ก่อนบับเบิลจะล้นโลก รู้จักกับซองกันกระแทกแบบอีโค ที่ยักษ์ใหญ่ Amazon ใช้

 


         การเติบโตของอี-คอมเมิร์ซสร้างขยะที่มาจากบรรจุภัณฑ์จำนวนมาก หนึ่งในนั้นกระคือซองกันกระแทกสำหรับบรรจุเอกสาร หนังสือ หรือสินค้าชิ้นแบนๆ ซึ่งภายในซองก็บุด้วยบับเบิลพลาสติกนั่นเอง ซึ่งในตอนนี้ทั้งผู้บริโภคและผู้ค้าต่างมองหาบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน รีไซเคิลกันมากขึ้น เช่นเดียวกับยักษ์ใหญ่อย่าง Amazon ที่ได้สรรหาซองกันกระแทกแบบใช้กระดาษล้วน รีไซเคิลได้ 100 เปอร์เซ็นต์มาใช้จนได้
               

         ซองกันกระแทกที่ว่านี้เป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัทจอร์เจีย-แปซิฟิก เพิ่งเปิดโรงงานแห่งใหม่ในรัฐแอริโซนาในเดือนพฤษภาคมเพื่อผลิต “ซองกันกระแทกแบบรีไซเคิลได้” โดยเฉพาะ โดยมี Amazon เป็นลูกค้ารายสำคัญสำหรับธุรกิจ



               

         Kim Houschens ผู้อำนวยการฝ่ายประสบการณ์บรรจุภัณฑ์ของลูกค้าของ Amazon ได้กล่าวว่า การผลิตซองชนิดนี้ต้องใช้ความเฉลียวฉลาดของนักวิทยาศาสตร์วิศวกรและช่างเทคนิคที่ห้องทดลองบรรจุภัณฑ์และวัสดุเพื่อจะเปลี่ยนบับเบิลพลาสติกที่บุอยู่ด้านให้เป็นกระดาษรีไซเคิล ตามความตั้งใจที่จะลดขยะของธุรกิจ ซึ่งตั้งแต่ปี 2015 ได้ลดน้ำหนักบรรจุภัณฑ์ที่ออกไปได้ถึง 33 เปอร์เซ็นต์ และกำจัดวัสดุบรรจุภัณฑ์ได้มากกว่า 810,000 ตัน หรือเทียบเท่ากล่องพัสดุประมาณ 1.5 พันล้านกล่องเลยทีเดียว
               

            ซองกันกระแทกรุ่นใหม่นี้ผสมผสานวัสดุที่ขยายตัวได้ ไม่มีพลาสติกระหว่างชั้นกระดาษคราฟท์ แต่ได้สร้างช่องว่างที่ทำให้เกิดจุดโค้งงอตามธรรมชาติสามารถกระจายการกันกระแทกได้อย่างสม่ำเสมอทั่วทั้งซองโดยไม่ลดทอนประสิทธิภาพที่ควรจะเป็นของซองกันกระแทก





           ซึ่งซองนี้สามารถคว้ารางวัลนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ระดับเพชรในงาน Henkel’s Packaging and Consumer Goods Division in 2019 และยังได้รับฉลาก Widely Recyclable จาก How2Recycle ซึ่งผ่านการทดสอบในห้องปฏิบัติการไฟเบอร์รีไซเคิล ซึ่งนั่นหมายความว่าหากใช้งานแล้วสามารถทิ้งลงในถังขยะรีไซเคิลที่ตั้งอยู่ริมทางถังใดก็ได้
               

           ในขณะที่ Amazon เป็นลูกค้าหลักก็จริง แต่จอร์เจีย-แปซิฟิกก็วางแผนที่จะนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่นี้ให้กับบริษัทอื่นด้วยเช่นกัน ถ้าเมืองไทยมีใช้กับเขาบ้าง ก็คงลดขยะพลาสติกไปได้ไม่น้อยทีเดียว


 
 
 
 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MARKETING

ฟังก์ชันแยกบิลจ่ายได้ เทรนด์ใหม่ที่ร้านอาหารต้องรู้ ลูกค้ายุคใหม่อยากจ่ายเท่าที่กินโดยไม่รู้สึกผิด

ไม่ใช่เรื่องต้องรู้สึกผิดอีกต่อไป หากไปกินอาหารกับเพื่อน แล้วอยากแยกรับผิดชอบจ่ายเฉพาะในส่วนที่ตัวเองสั่ง เทรนด์พฤติกรรมใหม่ของผู้บริโภคชาวอเมริกาที่หันมาใช้แอปพลิเคชันแยกจ่ายบิลกันมากขึ้น

ต่อยอดธุรกิจยังไงให้อยู่นานและขายดี กรณีศึกษา ALDI ซูเปอร์มาร์เก็ต ที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ALDI คือ ซูเปอร์มาร์เก็ตสัญญาติเยอรมัน มีต้นกำเนิดมาจาก 2 พี่น้องตระกูล Albrecht คือ “คาร์ล และ ธีโอ อัลเบรชต์” ที่รับช่วงต่อกิจการมาจากแม่ของเขาที่เปิดร้านขายของชำตั้งแต่ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2