ลุ้นต่อ! ส่งออกปลายปี “ตู้คอนเทนเนอร์ขาด-ค่าระวางเรือสูง” วิกฤตนี้จะอยู่หรือหายไป?




     นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19  ปัญหาใหญ่ที่ผู้ส่งออกไทยต้องเผชิญยืดเยื้อมาข้ามปี คือเรื่อง ตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน ค่าระวางเรือก็พุ่งสูง และยังต้องรอคอยสินค้ากันนานหลายสัปดาห์
               

     หากมาว่ากันเรื่องตู้คอนเทนเนอร์กันก่อนว่าขาดแคลนแค่ไหน ลองเทียบดูได้จากข้อมูลของสหประชาชาติ ระบุว่า ทั่วโลกมีตู้คอนเทนเนอร์รวมกันประมาณ 180 ล้านตู้ ซึ่งในปี 2562 การบริหารจัดการตู้อยู่ที่ท่าเรือเอเชียถึง 60 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือ ท่าเรือยุโรป 15 เปอร์เซ็นต์ อเมริกาเหนือ 7 เปอร์เซ็นต์ ลาตินอเมริกา 6 เปอร์เซ็นต์ และแอฟริกา 4 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าตู้คอนเทนเนอร์เปล่าทั้งหมดจะอยู่ที่เอเชีย ยุโรป และสหรัฐฯ เป็นหลัก



               

     แต่ในช่วงโควิด-19 แพร่ระบาดรอบแรก ปี 2563 หลายประเทศได้ล็อกดาวน์ทำให้การขนส่งสินค้าทางเรือระหว่างประเทศลดลงมาก จนเกิดปัญหาตู้คอนเทนเนอร์เปล่ากระจายไปตามท่าเรือ โรงงาน หรือ หรือ Inland Container (ICD) ตามประเทศต่างๆ จึงทำให้สายเดินเรือ 3 กลุ่มใหญ่ อย่าง THE Alliance, Ocean Alliance และ 2M Alliance ต้องหยุดเดินเรือหรือจำกัดการเดินเรือมากขึ้น
               

     จนกระทั่งกลางปี 2563 สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในจีนคลี่คลาย จีนจึงเร่งส่งออกสินค้าทำให้ความต้องการใช้ตู้คอนเทนเนอร์เพิ่มมากขึ้น เป็นจุดเริ่มต้นของการขาดแคลนตู้คอนเทนเอร์และค่าระวางเรือที่สูงขึ้น ซึ่งในเวลานั้นประเทศปลายทางส่งออกอย่างสหรัฐฯ และยุโรป การแพร่ระบาดยังคงรุนแรงจึงยังไม่มีการส่งออกมากเท่าที่เคย ตู้คอนเทนเนอร์จึงตกค้างที่ท่าเรือสหรัฐฯ และยุโรปจำนวนมาก ต้องใช้เวลานานในการนำตู้คอนเทนเนอร์เปล่ากลับคืนประเทศต้นทาง



 

ผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทย
               

     เมื่อมองกลับมาดูในประเทศไทย ในปี 2562 ไทยใช้ตู้คอนเทนเนอร์ จำนวน 9.45 ล้านตู้ แบ่งเป็นขาเข้า 4.85 ล้านตู้ และขาออก 4.60 ล้านตู้ มาในปี 2563 การส่งออกและนำเข้าของไทย มีปริมาณลดลง 5.90 เปอร์เซ็นต์ และ 11.75 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ จะเห็นได้ว่าปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ในประเทศเกิดความไม่สมดุล จากการที่มีปริมาณการส่งออกมากกว่านำเข้า ประกอบกับทางจีนและเวียดนามนำตู้คอนเทนเนอร์เปล่ากลับประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการไทยเผชิญปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และค่าระวางเรือสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
               

      โดยเฉพาะค่าระวางเรือจากไทยไปยุโรป ที่เดิมเก็บ 700 – 900 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตู้ แต่ปรับขึ้นต่อเนื่องเป็น 1,000 เหรียญสหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายน 2563 เพิ่มเป็น 2,200 เหรียญสหรัฐฯ ในเดือนธันวาคม 2563 และเพิ่มสูงถึง 3,650 เหรียญสหรัฐฯ ในเดือนมกราคม 2564


     ส่วนค่าระวางเรือจากไทยไปสหรัฐฯ เดิมเก็บ 1,000-1,500 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตู้ ปรับเพิ่มเป็น 3,200 เหรียญสหรัฐฯ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2563 – มกราคม 2564 ที่ผ่านมา 



 

ผู้ส่งออกไทยยังมีความหวังในครึ่งปีหลัง 2564
               

      ในช่วงครึ่งปีแรกผู้ประกอบการไทยยังคงต้องเผชิญปัญหาค่าระวางเรือที่สูงและปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ในการบรรจุสินค้า โดยเฉพาะสินค้าเกษตร อาหาร อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องนุ่งห่ม เพราะหลายประเทศเร่งการส่งออก ทำให้มีความต้องการตู้คอนเทนเนอร์สูงมากขึ้น
               

     แต่ในช่วงครึ่งปีหลัง นับว่ายังมีความหวังว่าปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ทั่วโลกจะหมุนเวียนมากขึ้น หลังจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ทำให้สถานการณ์ส่งออกของสหรัฐฯ และยุโรปจะมีมากขึ้น ด้านผู้ผลิตตู้คอนเทนเนอร์รายใหญ่อย่างจีนจะผลิตตู้คอนเทนเนอร์เพิ่มขึ้น โดยสมาคมอุตสาหกรรมตู้คอนเทนเนอร์ของจีนระบุว่ามีการผลิตตู้คอนเทนเนอร์มากถึง 300,000 ตู้ในเดือนกันยายน 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการผลิตจำนวนสูงสุดในรอบ 5 ปี
               

     ประกอบกับค่าระวางเรือที่สูงขึ้นได้กระตุ้นให้สายเดินเรือต่างๆ เพิ่มจำนวนเรือบรรทุกสินค้ามากขึ้นด้วยนั่นเอง
 
 
เรียบเรียงข้อมูลจาก : สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย






 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MARKETING

ถอดวิธีคิดญี่ปุ่น 5 เคล็ดลับออกแบบสินค้าที่ครองใจคนทั่วโลก

เคยสงสัยไหมว่าทำไมสินค้าจากญี่ปุ่นถึงได้รับความนิยมไปทั่วโลก? ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์, แกดเจ็ต, นั่นเพราะสินค้าจากแดนปลาดิบมักจะโดดเด่นด้วยดีไซน์ที่เรียบง่ายแต่ทรงพลัง และฟังก์ชันการใช้งานที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างตรงจุด

เจาะลึกเทรนด์ร้านอาหารและเครื่องดื่มปี 2568 ที่ธุรกิจต้องรู้

 ในปี 2568 ยังคงเป็นสนามแข่งขันที่ดุเดือด ในบทความนี้ เราจะมาเจาะลึกแนวโน้มสำคัญๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในวงการอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนธุรกิจและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

เอาสินค้าเข้า Modern Trade ต้องทำยังไง? เจาะลึกทุกขั้นตอน สู่ความสำเร็จบนชั้นวางสินค้า

การก้าวเข้าสู่โลกของ Modern Trade นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย วันนี้ SME Thailand จะพาคุณไปล้วงเคล็ดลับจากวงในมาเปิดเผยแบบหมดเปลือกกัน