​บาทอ่อน...ไม่ใช่คำตอบของภาคส่งออก

 


    ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics มองว่าแม้เงินบาทอ่อนค่าจะช่วยภาคส่งออก แต่ยังมีอุตสาหกรรมบางกลุ่มได้รับผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็น พลังงาน เคมีภัณฑ์ หรือ เครื่องจักร แนะผู้ประกอบการควรขยายตลาดส่งออกเพิ่มเติมด้วยการสนับสนุนของภาครัฐและความร่วมมือของภาคเอกชน

    การส่งออกของไทยในเดือนกุมภาพันธ์หดตัวแรงกว่าที่หลายฝ่ายคาดที่ร้อยละ 6.1 ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ 3.5 การหดตัวในเดือนกุมภาพันธ์เป็นผลมาจากสินค้าโภคภัณฑ์ที่ราคาตกต่ำ ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันสำเร็จรูป เม็ดพลาสติก และยางพารา

    สินค้าที่ขยายตัวได้ดียังคงเป็นแผงวงจรไฟฟ้า โทรทัศน์ และวัสดุก่อสร้าง ส่วนตลาดสหรัฐฯ CLMV ยังคงขยายตัวได้ดี ส่วนตลาดยุโรป ญี่ปุ่น จีน และอาเซียน-5 ยังหดตัว ส่งผลให้การส่งออกไทยในช่วง 2 เดือนของไตรมาสแรกหดตัวร้อยละ 4.8

    ท่ามกลางสถานการณ์การส่งออกและนำเข้าที่ไม่สู้ดีนัก การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการทำกำไรของภาคธุรกิจ เนื่องจากผู้ส่งออกและนำเข้าของไทยใช้ดอลลาร์สหรัฐในการชำระเงินเป็นหลักสูงถึงร้อยละ 80 ของมูลค่าการส่งออกนำเข้าทั้งหมด 

    โดยศูนย์วิเคราะห์ฯ ได้พิจารณาถึงผลกระทบของการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐต่อภาคธุรกิจผ่านสัดส่วนการขายในประเทศกับการส่งออก สัดส่วนการใช้วัตถุดิบในประเทศกับการนำเข้า และอัตรากำไรขั้นต้นของแต่ละอุตสาหกรรม พบว่า ในกรณีที่เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่า สินค้าที่มีสัดส่วนการส่งออกและสัดส่วนการใช้วัถตุดิบในประเทศสูงจะได้รับผลกระทบทางลบมากที่สุด 

    สินค้าในกลุ่มนี้ได้แก่ สินค้าเกษตรกรรม ไม่ว่าจะเป็น ยางพารา ข้าว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง น้ำตาล โดยอุตสาหกรรมที่มีอัตรากำไรขั้นต้นต่ำจะทำให้ปรับราคาขายลงเพื่อแข่งขันได้ไม่มากนัก ได้แก่ ข้าว ส่วนกรณีที่เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่า สินค้าที่มีสัดส่วนการส่งออกและสัดส่วนการใช้วัถตุดิบในประเทศต่ำจะได้รับผลกระทบทางลบมากที่สุดคือ กลุ่มสินค้านำเข้า ได้แก่ เครื่องจักร เหล็ก พลังงาน และเคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมที่มีอัตรากำไรขั้นต้นต่ำที่สุดในกลุ่มนี้คือ พลังงาน ทำให้ในกรณีที่เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าจะทำให้ผู้ผลิตมีแนวโน้มผลักภาระไปยังผู้บริโภคผ่านทางการขึ้นราคาสินค้าได้

    นอกจากนี้ ความผันผวนของค่าเงินบาทส่งผลต่อภาคธุรกิจเช่นกัน โดยเฉพาะการกำหนดราคาขายของผู้ส่งออก ในปีนี้ตัวอย่างความผันผวนเกิดขึ้นช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐเคลื่อนไหวในทิศทางแข็งค่ามาอยู่ที่ 32.4 บาท จากต้นเดือนมกราคมที่ระดับ 32.9 บาท

   ต่อมาวันที่ 11 มีนาคม ธนาคารแห่งประเทศไทยลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย สวนทางกับตลาดที่คาดว่าจะคงดอกเบี้ย ทำให้ค่าเงินบาทกลับมาอ่อนค่าอยู่ในระดับเดียวกับต้นเดือนมกราคมที่ระดับ 32.8 บาทต่อ 1 กับดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งใช้เวลาเพียง 11 วันในการอ่อนค่ากลับไปที่ระดับเดิม จากความผันผวนดังกล่าว ผู้ประกอบการควรมีแผนรองรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น นอกจากการบริหารรายรับรายจ่ายที่อยู่ในรูปเงินตราต่างประเทศแล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินหลากหลายที่ช่วยลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเช่นกัน

    ทั้งนี้ การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในทิศทางอ่อนหรือแข็งค่า เปรียบเสมือนเหรียญสองด้าน กล่าวคือมีทั้งอุตสาหกรรมที่ทั้งได้ประโยชน์และเสียประโยชน์  

   ดังนั้น การดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนให้แข็งหรืออ่อนค่า ไม่ใช่เป็นการตอบโจทย์เพื่อให้เกิดความสามารถทางการแข่งขันของภาคการส่งออก แต่การผลิตสินค้าให้ตรงตามความต้องการของตลาด การขยายตลาดส่งออกเพิ่มเติมด้วยการสนับสนุนของภาครัฐและความร่วมมือของภาคเอกชน เพื่อผลักดันภาคการส่งออกให้มีทิศทางที่ดีขึ้นในปีนี้?

RECCOMMEND: MARKETING

ถอดวิธีคิดญี่ปุ่น 5 เคล็ดลับออกแบบสินค้าที่ครองใจคนทั่วโลก

เคยสงสัยไหมว่าทำไมสินค้าจากญี่ปุ่นถึงได้รับความนิยมไปทั่วโลก? ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์, แกดเจ็ต, นั่นเพราะสินค้าจากแดนปลาดิบมักจะโดดเด่นด้วยดีไซน์ที่เรียบง่ายแต่ทรงพลัง และฟังก์ชันการใช้งานที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างตรงจุด

เจาะลึกเทรนด์ร้านอาหารและเครื่องดื่มปี 2568 ที่ธุรกิจต้องรู้

 ในปี 2568 ยังคงเป็นสนามแข่งขันที่ดุเดือด ในบทความนี้ เราจะมาเจาะลึกแนวโน้มสำคัญๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในวงการอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนธุรกิจและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

เอาสินค้าเข้า Modern Trade ต้องทำยังไง? เจาะลึกทุกขั้นตอน สู่ความสำเร็จบนชั้นวางสินค้า

การก้าวเข้าสู่โลกของ Modern Trade นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย วันนี้ SME Thailand จะพาคุณไปล้วงเคล็ดลับจากวงในมาเปิดเผยแบบหมดเปลือกกัน