HOW TO เจาะตลาดจีน เมื่อคนจีนไม่ชอบลองแบรนด์ใหม่ๆ ทำยังไงให้เขารักและควักเงินซื้อ




Main Idea

 
 
ไลฟ์สไตล์นักช้อปจีน
 
 
  • คนจีนมักไม่ซื้อแบรนด์ใหม่ที่ไม่รู้จัก
 
  • 50 เปอร์เซ็นต์ พึ่งข้อมูลจากคนรอบข้างในการตัดสินใจซื้อของบนออนไลน์
 
  • ดูรีวิวจาก Influencers ช่วยในการตัดสินใจซื้อ


 
 
       หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมบางแบรนด์ดูธรรมดาในประเทศตัวเอง แต่กลับเป็นที่นิยมและขายดีมากๆ ที่ประเทศจีน บางเอเจนซีอาจจะบอกคุณว่าต้องใช้งบประมาณมหาศาลในการ Create Awareness เพราะจีนเป็นประเทศที่ใหญ่ มีประชากรสูงถึง 1,400 ล้านคน และต้องสื่อสารกับผู้บริโภคในทุก Touch Points เพื่อให้เกิด Conversion หรือยอดขายมากที่สุด การทำตลาดแบบนี้มีความเสี่ยงสูง มันอาจจะเป็นจริงได้ถ้าคุณมีงบมากพอ และทำแบบถูกวิธี แต่ถ้าคุณยังไม่มั่นใจว่าสินค้านั้นเหมาะกับตลาดจีนหรือไม่ พูดง่ายๆ คือไม่รู้ว่าจะขายได้หรือเปล่า การทำ Voice Check โดย Influencers อาจเป็นตัวช่วยที่ดีในการประเมินสถานการณ์ก่อนลุยตลาดจีนแบบจริงจัง





     ก่อนอื่นเรามาถอดรหัสความสำเร็จแบรนด์ต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จในตลาดจีนว่า ส่วนมากพวกแบรนด์เหล่านี้ผ่านอะไรมาบ้าง


1.Micro influencers จีนที่อยู่ต่างประเทศเมื่อเจอสินค้าใหม่ซื้อมาลองใช้แล้วชอบจึงเขียนโพสต์ลง Social media จีน เช่น WeChat, Weibo และ Red book


2.แฟนคลับ และแม่ค้าออนไลน์เห็นจึงทำการ Repost และแชร์ต่อไป


3.Influencers ที่จีนซื้อมาลองใช้จากแม่ค้าออนไลน์ และรีวิว


4.แฟนคลับซื้อตาม และบอกต่อเพื่อน


5.แบรนด์ต่างประเทศสร้างแบรนด์และทำมาร์เก็ตติ้งบนสื่อออนไลน์จีน เพื่อให้ดูน่าเชื่อถือมากขึ้น


6.หลังจากนั้น 6-24 เดือน แบรนด์เปิด Official Flagship Store บน E-market Place เช่น T-Mall และ ขายไปยังผู้บริโภคจีนโดยตรง


     จะเห็นได้ว่า Influencers มีบทบาทที่สำคัญมากในตอนเริ่มต้น (จริง ๆ เกือบทุกขั้นตอน) แต่ถ้ามันไม่เกิดขึ้นเองแบบ Organic แบรนด์สามารถทำ Voice Check โดยจ้าง Influencers ในไทยเพื่อให้ Step 1 เกิดขึ้น และคอย Monitor ว่า Comments เป็นอย่างไร Step 2-4 ตามมาหรือเปล่า ก่อนที่จะลงงบหนักๆ ใน Step 5 และ 6





     “คนจีนมักไม่ซื้อแบรนด์ใหม่ที่ไม่รู้จัก” เป็นเรื่องที่นักการตลาดจีนทุกคนรู้กันดี ทุกสัปดาห์จะมีข่าวเกี่ยวกับสินค้าปลอม ของไม่ได้คุณภาพถูกเปิดเผย ผู้บริโภคถูกหามส่งโรงพยาบาล ถูกโกง และผู้ประกอบการถูกดำเนินคดีตลอดเวลา แม้บทลงโทษจะหนัก แต่ไม่มีแนวโน้มว่าสินค้าปลอมจะลดน้อยลง ตราบใดที่มันยังสร้างเม็ดเงินมหาศาลก็ยังมีคนเสี่ยงที่จะทำ มีคำที่คนจีนเคยกล่าวไว้ว่า “ธุรกิจเดียวที่คนจีนไม่ทำคือธุรกิจที่ขาดทุน” และไม่มีทางเลยที่ทางการหรือเจ้าของแพลตฟอร์มเช่น Alibaba หรือ JD จะมาตรวจสอบสินค้าทุกชิ้นที่ขายบนออนไลน์ได้ แล้วคำถามคือผู้บริโภคชาวจีนพิจารณาจากอะไรในกระบวนการซื้อท่ามกลางสินค้าปลอม และด้อยคุณภาพมากมาย


     ในปี 2018 Frost & Sullivan Study ได้ทำการสำรวจ Cross Border Ecommerce Buyer 1,000 คน พบว่า 50 เปอร์เซ็นต์ พึ่งข้อมูลจากคนรอบข้าง เช่น คนในครอบครัว และเพื่อน ในการตัดสินใจซื้อของบนออนไลน์ แต่ถ้าคนรอบข้างไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับสินค้านั้น Cross Border Ecommerce Buyer ก็จะดูรีวิวจาก Influencers





     ในกระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค Influencers ที่จีนมีบทบาทมากกว่าในประเทศอื่นๆ เพราะ Influencers เป็นตัวกลางระหว่างแบรนด์ และผู้บริโภค ช่วยผู้บริโภควิเคราะห์รายละเอียดสินค้า ส่วนผสม และเป็นหนูทดลองใช้สินค้าใหม่ ทำให้ผู้บริโภคเรียนรู้สินค้า และตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง เช่นเดียวกับการลงทุนทำการตลาดในประเทศจีน แต่เราก็สามารถลดความเสี่ยงได้โดยการทำ Voice Check โดยจ้าง Influencers ในไทยก่อนลุยจริงเสมอ









 
 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MARKETING

ขายวันละล้าน แต่กำไรศูนย์ บทเรียนธุรกิจแสนแพง จาก PABLO Cheesetart ในไทย

ในโลกของธุรกิจอาหารและขนมหวาน ยอดขายวันละล้านบาทคือความฝันของผู้ประกอบการ แต่ใครจะเชื่อว่าเบื้องหลังตัวเลขมหาศาลนั้นอาจซ่อนความจริงที่ขมขื่น และนี่คือบทเรียนราคาแพงจาก PABLO Cheesetart ที่ เบียร์ ใบหยกไม่มีวันลืม

ทำคอนเทนต์ท่องเที่ยวให้เป็นธุรกิจเงินล้าน ถอดบทเรียนจาก Go Went Go และ อาสาพาไปหลง

พาคุณเจาะลึกเส้นทางธุรกิจของ Go Went Go และ อาสาพาไปหลง พร้อมถอดบทเรียนที่นำไปใช้ได้จริง และชี้ทางให้คุณเปลี่ยนคอนเทนต์ท่องเที่ยวเป็นธุรกิจที่ยั่งยืน โดยออกแบบให้เหมาะกับกลุ่มคนทำธุรกิจบนเฟซบุ๊ก 

Creator Commerce ตัวเปลี่ยนเกมธุรกิจ 78% ลูกค้าเชื่อรีวิวมากกว่าโฆษณาแบบเดิมๆ

รู้หรือไม่ว่า 78% ของลูกค้าดูรีวิวจากครีเอเตอร์ก่อนซื้อ นั่นแปลว่าครีเอเตอร์นั้นมีพลังมากกว่าโฆษณาแบบเก่า ดังนั้นการตลาดผ่านครีเอเตอร์ หรือ Creator Commerce จึงไม่ใช่แค่กระแส แต่กำลังกลายเป็นกลยุทธ์หลักของธุรกิจทุกขนาดในไทย