How to เจาะตลาด ‘เศรษฐีจีน’ หลังโควิด-19 โดย ชฎากร ธนสุวรรณเกษม




Main Idea
 
 
  • นักท่องเที่ยวจีนคือโอกาสของผู้ประกอบการไทย แต่ในวันที่เกิดวิกฤตการณ์โควิด-19 ขาช้อปชาวจีนไม่สามารถเดินทางมาประเทศไทยได้ ถึงเวลาที่เราต้องปรับเข็มทิศพลิกกลยุทธ์บุกตลาดจีนกันใหม่
 
  • การระบาดของโควิด-19 อาจทำให้กำลังซื้อของคนชั้นล่างและชั้นกลางลดลง สภาวะการว่างงานที่สูงขึ้น รายได้ที่น้อยลง ทำให้คนสองกลุ่มนี้ชะลอหรือลดปริมาณการซื้อ ตลอดจนการลงทุนในเกือบทุกด้าน แต่ทว่า “กลุ่มเศรษฐีจีน” ยังมีกำลังซื้อสูงเช่นเดิม และมีแนวโน้มที่จะช้อปปิ้งหนักขึ้นด้วยซ้ำ
 
  • มาทำความรู้จักเศรษฐีจีนให้มากขึ้น ว่าคนกลุ่มนี้ชอบหรือไม่ชอบอะไร มีพฤติกรรมการซื้อแบบไหน และต้องใช้กลยุทธ์อะไรถึงจะพิชิตใจลูกค้ากลุ่มนี้ 



      เมื่อนักท่องเที่ยวชาวจีนไม่มาประเทศไทยหลังเกิดเหตุการณ์โควิด-19 การหากลุ่มเป้าหมายใหม่จากจีนซึ่งเป็นประเทศเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันกับ 2 ของโลก จึงเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับผู้ประกอบการไทยในวิกฤตครั้งนี้
               

       เช่นเดียวกับหลายๆ ประเทศ การระบาดของโควิด-19 ทำให้กำลังซื้อของชนชั้นล่างและชั้นกลางลดลงอย่างมาก สภาวะการว่างงานที่สูงขึ้น รายได้ที่น้อยลง ทำให้คนสองกลุ่มนี้ชะลอหรือลดปริมาณการซื้อ และการลงทุนในเกือบทุกด้าน แต่คนกลุ่ม High-net-worth individual (HNWI) เรียกแบบบ้านๆ ว่า “เศรษฐี” ยังมีกำลังการซื้อสูงเหมือนเดิม


     กลุ่มเป้าหมายนี้จึงเป็นกลุ่มที่ผู้ประกอบการไทยควรให้ความสำคัญ และศึกษามากขึ้นในช่วงสภาพตลาดไม่ปกติเช่นนี้ ซึ่งคาดว่าจะมีผลกระทบถึงปีหน้า






      สถาบันวิจัย  Agility Research & Strategy ได้ทำการสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภค HNWI (ผู้ที่มีสินทรัพย์มากกว่า 1 ล้าน USD/คน) จำนวน 1,040 คนที่เมืองจีน หลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย โดยมีหลายจุดที่น่าสนใจและผู้ประกอบการไทยสามารถประยุกต์ใช้ได้

 
  • คาดว่าตัวเองจะร่ำรวยขึ้นอีก


      57 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ให้สัมภาษณ์ คาดว่า มูลค่าทางทรัพย์สิน และการลงทุนจะเพิ่มขึ้น และ 54 เปอร์เซ็นต์ คาดว่ารายได้ที่ใช้จ่ายได้จริง (Disposable Income) จะเพิ่มขึ้นในอีก 12 เดือนข้างหน้า
               


      เนื่องจากการเดินทางไปต่างประเทศมีความยากขึ้นผู้บริโภคชาวจีนจึงหันมาช้อปปิ้งหนักขึ้นแทน





      โดย 39 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ให้สัมภาษณ์ซื้อสกินแคร์มากขึ้น, 38 เปอร์เซ็นต์  ซื้อเครื่องสำอางมากขึ้น, 37 เปอร์เซ็นต์  ซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นมากขึ้น, 35 เปอร์เซ็นต์ ซื้อเครื่องประดับมากขึ้น   และ 54 เปอร์เซ็นต์ ของ HNWI จะซื้อสินค้า Luxury ที่มีมูลค่าสูงขึ้น จำนวนต่อชิ้นอาจเหมือนเดิม แต่ยอมจ่ายราคาที่สูงขึ้น เพราะ HNWI ยุคนี้เน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ


     ที่น่าสนใจคือ 71 เปอร์เซ็นต์  เคยซื้อสินค้า Luxury ผ่านทางออนไลน์ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะกลุ่ม 21-34 ปี มีการซื้อออนไลน์สูงถึง 77 เปอร์เซ็นต์ หมายความว่าสินค้า Luxury ของไทยก็มีโอกาสขายผ่าน Cross boarder ecommerce ถึงมือลูกค้าชาวจีนได้




 
  • ความยั่งยืนเป็นสิ่งสำคัญแม้นในโลกหลังโควิด-19


      81 เปอร์เซ็นต์  ของผู้ให้สัมภาษณ์ ชื่นชอบที่จะซื้อสินค้าจาก Sustainable brands แบรนด์ผลิตภัณฑ์และบริการที่มีมูลค่าเพิ่มพิเศษในแง่ของผลประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม และถ้ามีโอกาส 78 เปอร์เซ็นต์  อยากที่จะลงทุนในบริษัท Sustainable


       เห็นไหมว่าประตูบานใหญ่เปิดต้อนรับ Green product ของประเทศไทย และตอนทำการตลาดไปยังประเทศจีนก็ต้องเน้นถึง Green marketing ด้วยเพื่อเอาใจกลุ่ม HNWI ชาวจีน




 
  • รักเงินน้อยลง รักตัวเองมากขึ้น


      คนไทยอาจจะคุ้นชิ้นกับคำว่า “เงินทองเป็นของนอกกาย” แต่การรักชีวิตตัวเองเป็นนิมิตรหมายใหม่สำหรับชาวจีนที่เชื่อว่า งานหนักไม่เคยฆ่าคน คนจีนส่วนมากทำงานกันแบบ 996 (การทำงานตั้งแต่ 9 โมงเช้า ถึง 3 ทุ่ม และทำติดต่อกัน 6 วันต่อสัปดาห์) เมื่อให้เรียงลำดับความสำคัญในชีวิตหลังโควิด เศรษฐีจีนกลับให้ค่า “การใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพดี” สูงกว่า “การเงินทองเพียงพอที่จะเกษียณ” และ”การประสบความสำเร็จทางการเงิน” สินค้าเกี่ยวกับออกกำลังกาย ผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพและสมุนไพรของประเทศไทยจึงมีโอกาสในตลาดจีนสูงกว่าที่ผ่านมา






      ในยามมรสุม ก่อนที่จะใช้กลยุทธ์สุดท้ายของซุนวู “หนี”จากตลาดจีน ลองกลยุทธ์ที่หนึ่ง “ปิดฟ้าข้ามทะเล” ก่อนไหมเพื่อมองหาสิ่งที่ในยามปกติเราไม่สังเกต อาจจะทำให้เราชนะใจผู้บริโภคจีนอีกครั้งก็ได้ และถ้าหากอยากรู้เขารู้เราให้มากขึ้นลองมาปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดดิจิทัลจีนที่ AVG Thailand  ได้
 
 










www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 

RECCOMMEND: MARKETING

ขายวันละล้าน แต่กำไรศูนย์ บทเรียนธุรกิจแสนแพง จาก PABLO Cheesetart ในไทย

ในโลกของธุรกิจอาหารและขนมหวาน ยอดขายวันละล้านบาทคือความฝันของผู้ประกอบการ แต่ใครจะเชื่อว่าเบื้องหลังตัวเลขมหาศาลนั้นอาจซ่อนความจริงที่ขมขื่น และนี่คือบทเรียนราคาแพงจาก PABLO Cheesetart ที่ เบียร์ ใบหยกไม่มีวันลืม

ทำคอนเทนต์ท่องเที่ยวให้เป็นธุรกิจเงินล้าน ถอดบทเรียนจาก Go Went Go และ อาสาพาไปหลง

พาคุณเจาะลึกเส้นทางธุรกิจของ Go Went Go และ อาสาพาไปหลง พร้อมถอดบทเรียนที่นำไปใช้ได้จริง และชี้ทางให้คุณเปลี่ยนคอนเทนต์ท่องเที่ยวเป็นธุรกิจที่ยั่งยืน โดยออกแบบให้เหมาะกับกลุ่มคนทำธุรกิจบนเฟซบุ๊ก 

Creator Commerce ตัวเปลี่ยนเกมธุรกิจ 78% ลูกค้าเชื่อรีวิวมากกว่าโฆษณาแบบเดิมๆ

รู้หรือไม่ว่า 78% ของลูกค้าดูรีวิวจากครีเอเตอร์ก่อนซื้อ นั่นแปลว่าครีเอเตอร์นั้นมีพลังมากกว่าโฆษณาแบบเก่า ดังนั้นการตลาดผ่านครีเอเตอร์ หรือ Creator Commerce จึงไม่ใช่แค่กระแส แต่กำลังกลายเป็นกลยุทธ์หลักของธุรกิจทุกขนาดในไทย