จับตามาตรการเปลี่ยนเกม SME เมื่อพี่ใหญ่สหรัฐฯ สั่งตัดสิทธิ “GSP” ไทยเมษายนนี้




Main Idea
 
  • สหรัฐอเมริกา ประกาศตัดสิทธิพิเศษทั่วไปทางภาษี (GSP : Generalized System of Preferences) กับประเทศไทย โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 25 เมษายน 2563 นี้ จำนวน 573 รายการ (จากสินค้าที่ได้รับสิทธิ GSP ประมาณ 3,500 รายการ) อาทิ มอเตอร์ไซค์ แว่นสายตา เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น
 
  • เมื่อมาตรการมีผลบังคับใช้ คาดว่ามูลค่าส่งออกของไทยไปยังสหรัฐฯ จะลดลง ประมาณ 28-32 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 0.01 ของมูลค่าการส่งออกรวม และต้นทุนส่งออกของไทยจะเพิ่มขึ้นประมาณ 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เนื่องจากถูกเก็บภาษีนำเข้าสูงขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 4.5
 
  • สถานการณ์นี้ผู้ประกอบการ SME ต้องรับมืออย่างไร ไปติดตามกัน



      เป็นอีกหนึ่งโจทย์ท้าทายรับปี 2563 สำหรับกรณีประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีประกาศตัดสิทธิพิเศษทั่วไปทางภาษี (GSP : Generalized System of Preferences) กับประเทศไทย โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 25 เมษายน 2563 ที่จะถึงนี้ กับสินค้าจำนวน 573 รายการ (จากสินค้าที่ได้รับสิทธิ GSP ประมาณ 3,500 รายการ) สำหรับสินค้าสำคัญที่ถูกระงับสิทธิ GSP ก็มีอาทิ มอเตอร์ไซค์ แว่นสายตา เครื่องจักรกลและ อุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น





      จากสถานการณ์นี้เองที่ส่งผลให้คาดการณ์ว่า เมื่อมาตรการมีผลบังคับใช้มูลค่าการส่งออกของไทยไปยังสหรัฐฯ จะมีลดลงถึงประมาณ 28-32 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 0.01 ของมูลค่าการส่งออกรวมทั้งหมด นอกจากนี้ ยังคาดการณ์กันว่า การที่ไทยถูกตัดสิทธิ์ GSP จะทำให้ต้นทุนส่งออกของไทยเพิ่มขึ้นประมาณ 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เนื่องจากถูกเก็บภาษีนำเข้าสูงขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 4.5
               

      เรื่องนี้กระทบกับผู้ประกอบการ SME ที่ส่งสินค้าออก ไปตลาดใหญ่อย่างสหรัฐฯ และเป็นโจทย์ที่จะทวีความยากมากขึ้นในการทำตลาดโลกในอนาคต
               




      “ดร.สรรเสริญ สมะลาภา” ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ ให้ข้อมูลว่า ภาพรวมการส่งออกของไทยในปี 2562 มีมูลค่า 482,884 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับภาพรวมการค้าระหว่างไทย-สหรัฐอเมริกานั้น สหรัฐฯ นับเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย โดยเป็นคู่ค้าลําดับที่ 3 ด้วยมูลค่าการค้ารวม 48,649 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 10 ของการส่งออกไทยทั้งหมด โดยล่าสุด เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2561 ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีประกาศตัดสิทธิพิเศษทั่วไปทางภาษี (GSP : Generalized System of Preferences) กับประเทศไทย โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 25 เมษายน 2563 ที่จะถึงนี้ ส่งผลให้คาดการณ์ว่า การส่งออกของไทยไปยังสหรัฐฯ จะมีมูลค่าลดลง ประมาณ 28-32 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และ ทำให้ต้นทุนส่งออกของไทยเพิ่มขึ้นประมาณ 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ





       ด้าน “สมเด็จ สุสมบูรณ์” อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยถึงการหารือเพื่อจัดตั้งคณะทำงานภายในกระทรวงพาณิชย์ ระหว่างกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กรมการค้าต่างประเทศ และร่วมกับหน่วยงานภายนอก คือธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(EXIM Bank of Thailand) รวมทั้งหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการร่วมมือหาแนวป้องกันในกรณีดังกล่าว เพื่อที่จะช่วยเหลือผู้ประกอบการส่งออกไทยให้สามารถรับมือกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ตลอดจนสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับที่มาที่ไปของกรณีที่ประเทศสหรัฐอเมริกาที่ได้มีประกาศเตรียมยกเลิกสิทธิพิเศษทั่วไปทางภาษี ภายใต้ระบบ GSP กับประเทศไทยให้เข้าใจอย่างละเอียด






     กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ จึงได้วางมาตรการรับมือ 4 รูปแบบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ประกอบด้วย


      1.เร่งกระตุ้นให้เกิดความต้องการสินค้าไทย รวมถึงสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากการตัดสิทธิ GSP ในตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ โดยมีตลาดเป้าหมายในปีนี้ ได้แก่ ตลาดจีน  อินเดีย  กลุ่มประเทศ CLMV  กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง และ กลุ่มประเทศลาตินอเมริกา ซึ่งยังถือได้ว่ายังคงมีศักยภาพที่พร้อมต้อนรับสินค้าไทยในตลาดทางเลือกใหม่ๆ


      2.ผลักดันผู้ประกอบการไทย ให้สามารถใช้ประโยชน์จากการค้าออนไลน์เป็นช่องทางลัด ในการขยาดตลาดสู่ต่างประเทศ ผ่าน Thaitrade.com รวมถึงเร่งเปิด Top Thai Flagship Store ร้านขายสินค้าไทยบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซชั้นนำของต่างประเทศ (จีน อินเดีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย) ซึ่งถือได้ว่าเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันความนิยมของสินค้าไทยในตลาดซื้อขายออนไลน์ให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงสนับสนุนสินค้าคุณภาพของผู้ประกอบการ SME สัญชาติไทยให้สามารถเจาะตลาดต่างประเทศได้อย่างรวดเร็วขึ้น


      3.ให้ความรู้กับผู้ประกอบการผ่านการอบรมสัมมนา ด้วยข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาและผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น รวมถึงแนะนำข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ แก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบและต้องการหาตลาดใหม่ทดแทนตลาดสหรัฐฯ


      รวมถึงส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยในกลุ่มสินค้าที่ได้รับผลกระทบให้ได้ทราบถึงมาตรการภาครัฐ ตลอดจนมาตรการด้านสินเชื่อต่างๆ จากธนาคารรัฐ เช่น ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เป็นต้น


      4.พัฒนาและเพิ่มมูลค่าสินค้า ด้วยแบรนด์ นวัตกรรม และการตลาดอย่างต่อเนื่อง เน้นการตอบสนองต่อความต้องการของพฤติกรรมของผู้ซื้อในแต่ละประเทศ ตอบสนองต่อกระแสตลาดโลก อาทิ สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สินค้าเพื่อสุขภาพ และสินค้าที่ตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มลูกค้าเฉพาะ(Niche Market)
               



               
     การตัดสิทธิ GSP ของตลาดใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกา กระทบกับการทำธุรกิจของผู้ประกอบการไทย แต่ในเวลาเดียวกันก็เป็นโอกาสที่จะได้ SME จะได้ปรับตัว ทั้งการมองหาตลาดใหม่ ใช้ประโยชน์จากการค้าออนไลน์ พัฒนาและเพิ่มมูลค่าสินค้า ด้วยแบรนด์ นวัตกรรม และการตลาด เพื่อให้ปัญหากลายเป็นโอกาส และขับเคลื่อนธุรกิจให้ยังคงเติบโตได้ท่ามกลางความท้าทายในวันนี้
               
 


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
 

RECCOMMEND: MARKETING

ถอดวิธีคิดญี่ปุ่น 5 เคล็ดลับออกแบบสินค้าที่ครองใจคนทั่วโลก

เคยสงสัยไหมว่าทำไมสินค้าจากญี่ปุ่นถึงได้รับความนิยมไปทั่วโลก? ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์, แกดเจ็ต, นั่นเพราะสินค้าจากแดนปลาดิบมักจะโดดเด่นด้วยดีไซน์ที่เรียบง่ายแต่ทรงพลัง และฟังก์ชันการใช้งานที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างตรงจุด

เจาะลึกเทรนด์ร้านอาหารและเครื่องดื่มปี 2568 ที่ธุรกิจต้องรู้

 ในปี 2568 ยังคงเป็นสนามแข่งขันที่ดุเดือด ในบทความนี้ เราจะมาเจาะลึกแนวโน้มสำคัญๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในวงการอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนธุรกิจและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

เอาสินค้าเข้า Modern Trade ต้องทำยังไง? เจาะลึกทุกขั้นตอน สู่ความสำเร็จบนชั้นวางสินค้า

การก้าวเข้าสู่โลกของ Modern Trade นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย วันนี้ SME Thailand จะพาคุณไปล้วงเคล็ดลับจากวงในมาเปิดเผยแบบหมดเปลือกกัน