เกาะเทรนด์ผู้บริโภค ‘3 SAVE’ ตัวพลิกเกมธุรกิจอาหารแห่งอนาคต

TEXT : กองบรรณาธิการ




Main Idea
 
 
  • วันนี้ธุรกิจอาหารยังคงแข่งขันกันรุนแรง และเต็มไปด้วยความท้าทายรอบด้าน แต่ในอนาคตอันไกล ความท้าทายที่จะทวีความสำคัญมากขึ้น คือ “เทรนด์ผู้บริโภค” ที่เปลี่ยนไป ซึ่งเป็นตัวกำหนดชะตาชีวิตธุรกิจอาหารแห่งอนาคต
 
  • มาทำความรู้จักกลุ่มผู้บริโภค “3 Save” ที่ประกอบด้วย “Health Save” กลุ่มที่ต้องการอาหารที่ดีต่อสุขภาพแบบเฉพาะเจาะจง “Environmental Save” มีเป้าหมายในการบริโภคเพื่อความยั่งยืน “Animal Save”  กลุ่มที่บริโภคภายใต้ความเชื่อที่จะไม่มีการเบียดเบียนสัตว์ เพื่อสร้างโอกาสใหม่ๆ ในอุตสาหกรรมอาหารกัน



     Global Food Trend 2020 คือหนึ่งในหัวข้อที่ “อนงค์  ไพจิตรประภาภรณ์” ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร หน่วยงานเครือข่ายกระทรวงอุตสาหกรรม นำมาแบ่งปันระหว่างรายงานสถานการณ์ธุรกิจเกษตรและอาหารในปัจจุบันและอนาคตเมื่อวันก่อน เพื่อชี้ทางออกและความหวังให้กับผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารไทย ว่าควรจะปรับเกมธุรกิจไปทิศทางไหน ท่ามกลางความท้าทายที่รุมเร้ารอบด้านในวันนี้


     ซึ่งหนึ่งในตัวพลิกเกมธุรกิจอาหารในอนาคต ก็คือเทรนด์ของผู้บริโภคยุคใหม่ที่เรียก “3 Save” พวกเขาเป็นคนแบบไหน มีไลฟ์สไตล์และความต้องการอย่างไร ที่สำคัญ SME ต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์แบบไหนมาตอบสนอง ไปเรียนรู้พร้อมๆ กัน
 




     “Health Save” เทรนด์คนรักสุขภาพ สร้างโอกาสในธุรกิจอาหาร
       

     เริ่มต้นด้วยผู้บริโภคกลุ่มแรก คือ Health Save หรือกลุ่มที่ต้องการอาหารที่ดีต่อสุขภาพในแบบเฉพาะเจาะจงเป็นรายบุคคลมากขึ้น (Individual Health) โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความสมดุลด้านสุขภาพ โภชนาการระดับฮอร์โมน ช่วงวัย / ช่วงอายุ หรือตามไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน
       

     ถ้าต้องการสนองตลาดกลุ่มนี้ ต้องทำสินค้าแบบไหน ฝ่ายวิจัยและข้อมูล สถาบันอาหาร ชี้แนวทางด้วยประเด็นสำคัญด้านสุขภาพ ที่ SME สามารถนำไปต่อยอดได้ นั่นคือ





     -เพื่อลดความเครียด (
Mental Health & Wellbeing) เช่น สมุนไพรจำพวกใบบัวบก ขมิ้นชัน โสม กัญชง (Hemp)
               

      -สุขภาพลำไส้ (Gut Health)  เช่น Probiotic (โยเกิร์ต ไอศกรีม อาหารหมักดอง) Prebiotic (ผลไม้หลากสี เบอร์รี่)
               

     -สุขภาพความงาม ผิวพรรณ และเส้นผม (Food for Beauty)  โดยผู้หญิงบางประเทศในยุโรป เช่น อิตาลี เชื่อว่า ส่วนผสมที่ใช้ในอาหารมีประโยชน์ต่อความงาม จึงเกิดผลิตภัณฑ์ภายใต้ความร่วมมือระหว่างอุตสาหกรรมอาหารกับเครื่องสำอางออกมาอย่างต่อเนื่อง 
               

     -สารอาหารสำหรับมารดาที่ให้นมบุตร เช่น ปลีกล้วยที่เพิ่มปริมาณน้ำนมสำหรับแม่ที่กำลังให้นมบุตร
 
               

     มาดูตัวอย่างสินค้าที่ออกมาสนองผู้บริโภคกลุ่มนี้กัน


      เช่น น้ำอัดลมที่มีสารสกัดจากกัญชงและโสมเพื่อการผ่อนคลาย (Hemp extract and ginseng)  อาหารสำหรับคุณแม่ ก่อน ระหว่าง และหลังการตั้งครรภ์ (On-the-go nutrient-dense foods) เครื่องดื่มปลีกล้วยสำหรับมารดาที่ให้นมบุตร (In RTD and instant powder mix ) และ ชาเพื่อสุขภาพเส้นผม (Tea rinse) เป็นต้น
 
       





     Environmental Save”  คนรักษ์โลก เปลี่ยนเทรนด์ธุรกิจอาหาร
       

     กลุ่มต่อมาคือ “Environmental Save” หรือกลุ่มที่มีเป้าหมายในการบริโภคเพื่อความยั่งยืน (Sustainability) เป็นหลัก ผู้บริโภคกลุ่มนี้จะเน้นธุรกิจที่ดำเนินงานในลักษณะเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน (Circular Economy) มีกระบวนการเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ (Reduce, Reuse, Recycle)
               




     สำหรับประเด็นที่ผู้ประกอบการต้องจับตาคือ


     -มาตรการบังคับภายใต้มาตรการ “Zero palm oil” ของสหภาพยุโรปที่มีผลบังคับใช้แล้วในปีนี้


     -สินค้าภายใต้บรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้ (biodegradable/compostable packaging), recycle packaging, Plastic-free เป็นต้น
 

     จากเทรนด์นี้ SME สามารถนำมาพัฒนาสินค้าไปตอบสนองได้


     เช่น Cocoa spread  ที่ปราศจากน้ำมันปาล์ม หลอดดูดที่ทำจากพาสต้า (Pasta straws) ไส้กรอกที่บรรจุภัณฑ์ 60 เปอร์เซ็นต์ มาจากธรรมชาติ (Rethink Plastic) และถุงชาย่อยสลายได้ (Compostable tea bags) เป็นต้น
 
               




     “Animal Save” อาหารยุคใหม่ต้องไม่เบียดเบียนสัตว์
               

     มาถึงผู้บริโภคกลุ่มสุดท้าย “Animal Save” หรือกลุ่มผู้บริโภคที่มีลักษณะการบริโภคภายใต้ความเชื่อที่ว่าจะไม่มีการเบียดเบียนสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม ซึ่งความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มนี้นั้น จะมีความเข้มข้นกว่าหลักสวัสดิภาพสัตว์(Animal Welfare) ที่เราคุ้นเคยกัน               
               

     ประเด็นที่เป็นแนวโน้มสำคัญด้านสวัสดิภาพสัตว์ มีดังนี้


      -สินค้าที่ผลิตภายใต้หลักสวัสดิภาพสัตว์ (Animal welfare)


     -สินค้า Plant-based food เพื่อตอบสนองกลุ่มผู้บริโภคสายวีแกน ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ


     1) เนื้อสังเคราะห์/เนื้อเทียม (Lab-grown meat, synthetic meat)


     2) โปรตีนทดแทน (Protein substitutes) ที่ทำมาจากพืช เพื่อทดแทนเนื้อสัตว์ (Meat substitutes) ทดแทนเนื้อปลา (Fish substitutes) ทดแทนนม (Milk substitutes) ทดแทนไข่ (Egg substitutes)
 


     แล้วอาหารแบบไหนที่ผู้บริโภคกลุ่มนี้ต้องการ


     เช่น  เบคอนที่คำนึงถึงสวัสดิภาพสัตว์ (Animal welfare bacon) นมทางเลือกจากเฮอเซลนัตสำหรับผู้บริโภคสายวีแกน  แซลมอนผักรมควันกับสารสกัดสาหร่าย (Vegetable salmon with seaweed extract) ไส้กรอกหมูจากเนื้อสังเคราะห์ (Sizzles and satisfies like pork sausages) และ เต้าหู้หมักจากถั่วเหลือง (Fermented tofu cubes) เป็นต้น
 





     อนงค์  ไพจิตรประภาภรณ์
ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร บอกเราว่า แนวทางที่อุตสาหกรรมอาหารของไทยจะต้องมุ่งไปนับจากนี้ คือ การทำอาหารที่เป็น Functional Foods  หรืออาหารฟังก์ชั่น ที่มีสารประกอบในอาหารทำหน้าที่พิเศษกว่าการให้สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายทั่วๆ ไป การไปสู่อาหารแห่งอนาคต  อาหารแปรรูป  อาหารพร้อมรับประทาน (Ready to Eat) กลุ่มเครื่องปรุงรส อาหารที่สร้างความสะดวกสบายให้กับผู้ที่ซื้อ  ตรงกับไลฟ์สไตล์ของคนปัจจุบันที่ไม่ค่อยมีเวลา หรือสอดคล้องกับวิถีชีวิตและการทำงาน 


     ในกลุ่มส่งออกต้องเน้นอาหารที่เป็นวัตถุดิบน้อยลง แต่ต้องแปรรูปมากขึ้น  และการแปรรูปนั้นต้องเป็นการแปรรูปในลักษณะที่ตรงกับไลฟ์สไตล์ของคนแต่ละกลุ่มมากขึ้น โดยต้องเน้นตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) เช่น อาหารสำหรับผู้สูงอายุ อาหารสำหรับผู้ป่วยในแต่ละโรคและอาการ หรืออาหารสำหรับผู้ที่ชอบเล่นกีฬา เหล่านี้เป็นต้น
 

     และนี่คือตัวอย่าง 3 เทรนด์ผู้บริโภค ที่กำลังจะเปลี่ยนโลกธุรกิจอาหารให้ต่างไปจากเดิม ซึ่งสิ่งที่ SME ไทยต้องทำ คือ การเรียนรู้ ศึกษาสถานการณ์ จับตาเทรนด์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด เพื่อหาโอกาสพัฒนาสินค้าและบริการมาตอบสนองผู้บริโภคแห่งอนาคตเหล่านี้ให้ได้


     เพื่อเกาะขบวนรถไฟแห่งโอกาส พลิกตลาดธุรกิจอาหารของตนเองให้เติบโตได้อีกมากในอนาคต
 



 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
 

RECCOMMEND: MARKETING

ถอดวิธีคิดญี่ปุ่น 5 เคล็ดลับออกแบบสินค้าที่ครองใจคนทั่วโลก

เคยสงสัยไหมว่าทำไมสินค้าจากญี่ปุ่นถึงได้รับความนิยมไปทั่วโลก? ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์, แกดเจ็ต, นั่นเพราะสินค้าจากแดนปลาดิบมักจะโดดเด่นด้วยดีไซน์ที่เรียบง่ายแต่ทรงพลัง และฟังก์ชันการใช้งานที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างตรงจุด

เจาะลึกเทรนด์ร้านอาหารและเครื่องดื่มปี 2568 ที่ธุรกิจต้องรู้

 ในปี 2568 ยังคงเป็นสนามแข่งขันที่ดุเดือด ในบทความนี้ เราจะมาเจาะลึกแนวโน้มสำคัญๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในวงการอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนธุรกิจและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

เอาสินค้าเข้า Modern Trade ต้องทำยังไง? เจาะลึกทุกขั้นตอน สู่ความสำเร็จบนชั้นวางสินค้า

การก้าวเข้าสู่โลกของ Modern Trade นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย วันนี้ SME Thailand จะพาคุณไปล้วงเคล็ดลับจากวงในมาเปิดเผยแบบหมดเปลือกกัน