LinkedIn เครื่องมือสร้างเครือข่ายให้ SMEs






เรื่อง  : นเรศ เหล่าพรรณาราย

    LinkedIn ถือเป็นหนึ่งในโซเชียลมีเดียที่มาแรงอย่างเงียบๆ ด้วยจุดประสงค์หลักของการใช้งานเพื่อหาคอนเนคชั่นหรือเครือข่ายในเรื่องของหน้าที่การงานเป็นหลัก แม้กระทั่งใช้ในการสมัครงาน สำหรับเอสเอ็มอีสามารถใช้คุณสมบัติดังกล่าวในการสร้างเครือข่ายธุรกิจแบบ B to B ได้เช่นกัน

    LinkedIn ก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2003 ในประเทศอังกฤษ ปัจจุบันมีจำนวนผู้ใช้งานทะลุหลัก 100 ล้านรายไปแล้ว โดยประเทศที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดคือสหรัฐอเมิรกา อินเดียและสหราชอณาจักร ส่วนประเทศไทย ยังมีจำนวนผู้ใช้งานประมาณ 8 แสนราย 

    มีคำกล่าวว่า LinkedIn คือเฟซบุ๊คสำหรับคนทำธุรกิจก็คงไม่ผิดหนัก อัตราการเติบโตเฉลี่ยแล้วทุกๆ12วันจะมีจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น 1 ล้านคน  ผู้ใช้งาน 70% มีอายุมากกว่า 35 ปี ส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป และแทบไม่มีผู้ที่อายุน้อยกว่า 20 ปีลงมาที่เป็นสมาชิกเลย ที่สำคัญสัดส่วนผู้ใช้งาน 20% มีสถานะเป็นเจ้าของกิจการและนักลงทุน Venture Capital  เท่ากับว่าผู้ใช้งาน LinkedIn แตกต่างจากโซเชียลมีเดียอื่นอย่างชัดเจน
 

    สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี LinkedIn จึงเป็นช่องทางหนึ่งที่สามารถมองหาพันธมิตรธุรกิจ คู่ค้า หรือลูกค้า ในรูปแบบของ B to B หรือธุรกิจต่อธุรกิจโดยตรง แตกต่างจากวิธีการแบบ B to C ซึ่งมองหากลุ่มลูกค้าทั่วไปหรือ Consumer 

    ผู้ใช้งานสามารถระบุประเภทธุรกิจที่ดำเนินงานอยู่ ประวัติกิจการคร่าวๆ ผลงานที่ผ่านมา  รวมถึงโพสต์ข้อความ บทความ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่กำลังดำเนินอยู่  ถ้าหากเนื้อหาที่เขียนลงไปมีความน่าสนใจก็จะเกิดการนำไปแชร์ต่อในเครือข่ายของ LinkedIn  แบบเดียวกับเฟซบุ๊ค เช่นเดียวกันเราสามารถมองหาเครือข่ายธุรกิจใหม่ๆได้ด้วยเช่นกัน

    ทั้งนี้จากการเปิดเผยของ LinkedIn  พบว่าผู้ใช้งานที่เป็นเจ้าของกิจการส่วนใหญ่อยู่ในธุรกิจด้านเทคโนโลยีเกือบ10ล้านราย รองลงมาคือบริการด้านไอที 3.7 ล้านราย การเงิน สื่อ การศึกษา ภาคการผลิต งานก่อสร้าง ธุรกิจการเกษตร ธุรกิจการขนส่ง 

    สำหรับประเทศไทย LinkedIn มีการเปิดบริการเวบไซท์ในภาคภาษาไทยมาตั้งแต่ปี 2011 แม้จะไม่โด่งดังเท่ากับเฟซบุ๊คที่มีผู้ใช้งานกว่า 10 ล้านราย  แต่สำหรับเอสเอ็มอีถือเป็นเครื่องมือที่ช่วยคัดกรองเฉพาะผู้ที่จะมาช่วยเสริมเครือข่ายธุรกิจให้กับเราได้อย่างดี โดยเคล็ดลับการใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุดมีดังนี้คือ 
 

    หนึ่ง..แนะนำตัวเองอย่างมืออาชีพ โปรไฟล์ที่ใช้ควรเขียนในรูปแบบกึ่งทางการ แต่ไม่ถึงกับต้องเป็นทางการเต็มตัว ขอให้เน้นถ่ายทอดความเป็นตัวตนของธุรกิจออกมา นอกจากนี้ยังต้องระบุประเภทธุรกิจของเราให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้ใช้งานรู้จักธุรกิจของเราโดยง่าย

    สอง..ใช้ภาษาอังกฤษในการแนะนำตัวเอง เนื่องจากผู้ใช้งาน LinkedIn ส่วนใหญ่ยังเป็นชาวต่างชาติ แต่นี่คือโอกาสที่จะได้ขยายเครือข่ายธุรกิจไปยังต่างประเทศได้ โดยผู้ใช้งานในเอเชียที่เติบโตอย่างรวดเร็วคือจากฟิลิปปินส์และเวียดนาม น่าเสียดายที่ประเทศจีนยังห้ามการใช้งานอยู่ 

    สาม.โพสต์บทความอย่างต่อเนื่องและสรรหาเรื่องราวที่น่าสนใจ จะช่วยดึงดูดเครือข่ายที่มีอยู่ให้หันมาสนใจผลงานของเรามากขึ้น
 

    สี่.ขยายเครือข่ายใหม่ๆด้วยการเสียค่าบริการเพิ่ม จะช่วยให้ได้พบกับกลุ่มผู้ใช้ใหม่ๆนอกเหนือไปจากคนที่เรารู้จักเท่านั้น

    LinkedIn จึงเป็นทางเลือกสำหรับเอสเอ็มอีที่จะใช้ขยายธุรกิจและมองหาพันธมิตรรวมถึงลูกค้าเพิ่มเติม ด้วยคอนเซบท์ที่เน้นความเป็นมืออาชีพจึงมั่นใจได้ว่าจะได้พาร์ทเนอร์ที่มีศักยภาพอย่างแน่นอน

Create by smethailandclub.com

RECCOMMEND: MARKETING

Luxumer โอกาสธุรกิจปี 2025 โตสวนกระแส ไม่แคร์เศรษฐกิจ

ปรากฏการณ์ “เสพติดความลักซ์” ของคนไทยกลายเป็นประเด็นที่น่าจับตา จากพฤติกรรมต่อคิวรอซื้อ เกลี้ยงเชลฟ์ “หยุดไม่ได้ ก็ใจมันลักซ์” ของชาว Luxumer จึงกลายเป็นเทรนด์ทางการตลาดที่น่าสนใจสำหรับหลาย ๆ ธุรกิจ

เช็คเลย! ธุรกิจรุ่ง-ร่วง 2568 จะไปต่อหรือพอแค่นี้ดี

ส่งท้ายปี 2567 ด้วยการอัพเดตเทรนด์ผู้บริโภคที่ธุรกิจจะต้องปรับตัวตาม ในปี 2568 พร้อมเช็คกันว่าธุรกิจไหนจะรุ่ง-ร่วง เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกัน

ถอดวิธีคิดญี่ปุ่น 5 เคล็ดลับออกแบบสินค้าที่ครองใจคนทั่วโลก

เคยสงสัยไหมว่าทำไมสินค้าจากญี่ปุ่นถึงได้รับความนิยมไปทั่วโลก? ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์, แกดเจ็ต, นั่นเพราะสินค้าจากแดนปลาดิบมักจะโดดเด่นด้วยดีไซน์ที่เรียบง่ายแต่ทรงพลัง และฟังก์ชันการใช้งานที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างตรงจุด