เมื่อโซเชียลมีเดียกำลังจะเป็นธนาคาร

 


เรื่อง  : นเรศ เหล่าพรรณราย

    สื่อสังคมออนไลน์ไม่เพียงแต่กำลังเป็นช่องทางสื่อสารที่สำคัญของโลก แต่โซเชียลมีเดียกำลังมีอีกบทบาทสำคัญ นั่นคือ การเป็นช่องทางสำหรับการทำธุรกรรมทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการสั่งซื้อสินค้าและสามารถชำระเงินได้ทันทีตลอดจนสามารถสั่งโอนเงินถึงกันได้  

    ในโลกไอทีกำลังจับตากระแสดังกล่าวอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของช่องทางสื่อสารระหว่างมนุษย์

    ล่าสุด ทวิตเตอร์ สื่อสังคมออนไลน์ชื่อดังได้เปิดตัวบริการโอนเงินระหว่างผู้ใช้งานเพียงแค่ทวีตข้อความหากันเท่านั้น โดยเริ่มให้บริการเฉพาะในประเทศฝรั่งเศลด้วยการจับมือร่วมกับธนาคารใหญ่อันดับสอง ลูกค้าที่ผูกบัญชีธนาคารไว้กับแอคเคาท์ของตัวเองในทวิตเตอร์สามารถโอนเงินให้กันได้ แอพลิเคชั่นดังกล่าวพัฒนาขึ้นโดย S Money ซึ่งเป็นบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบชำระเงิน
 

    บริการดังกล่าวยังให้บริการโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเฉพาะกลุ่มผู้ใช้งานทั่วไปส่วนลูกค้าองค์กรธุรกิจกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา อย่างไรก็ตามการโอนเงินระหว่างกันจะไม่เกิดขึ้นหากมีการรีทวีต โดยจะเกิดขึ้นได้จากการทวีตและการส่งข้อความระหว่างกันเท่านั้น

    ทวิตเตอร์ ถือเป็นสื่อสังคมออนไลน์ที่มุ่งมั่นกับการพัฒนาระบบชำระเงินเป็นอย่างมาก ที่ผ่านมาได้ทดลองติดตั้งปุ่ม Buy เพื่อให้ผู้ใช้งานได้กดเพื่อสั่งซื้อสินค้าผ่านไทม์ไลน์ได้ สาเหตุที่ทวิตเตอร์พยายามที่จะพัฒนาระบบการชำระเงินเพื่อที่จะหารายได้ทางอื่นนอกเหนือจากโฆษณานั่นเอง

    อีกหนึ่งโซเชียลมีเดียที่กำลังพัฒนาระบบการชำระเงินนั่นคือ แอพลิเคชั่นไลน์ (LINE) ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้แล้วกว่า 500 ราย โดยสื่อในประเทศญี่ปุ่นได้รายงานว่า ไลน์ เตรียมที่จะเปิดตัวบริการแจ้งเตือนในกรณีที่มีการฝากหรือถอนเงินออกจากธนาคารซึ่งได้ผูกบัญชีเข้ากับแอคเคานท์รวมถึงสามารถเรียกดูยอดเงินคงเหลือในบัญชีได้เช่นกัน คาดว่าจะให้บริการได้ในปี 2558 



    จุดประสงค์ที่ไลน์ รุกเข้ามายังบริการทางด้านการเงินเพื่อที่จะขยายุรกิจให้เป็นมากกว่าแอพลิเคชั่นสำหรับการแชทเท่านั้น เนื่องจากมีคู่แข่งในธุรกิจจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น วอทส์แอปที่ถูกผนึกรวมกับเฟซบุ๊คหรือผู้พัฒนาใหม่จากเกาหลีนั่นคือคาเคา ทำให้ไลน์ต้องมีการปรับตัวครั้งใหญ่

    นอกจากนี้ เฟซบุ๊ค ซึ่งเป็นผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์รายใหญ่ของโลกมีข่าวว่าเตรียมที่จะพัฒนาบริการชำระเงินผ่านบริการ Messenger รวมถึงแอปเปิล ผู้ผลิตสินค้าไอทีอย่างไอโฟนและไอแพดได้เปิดตัวระบบการชำระเงิน Apple Pay ผ่านฮาร์ดแวร์ แล้วเช่นกันหลังจากปล่อยให้แอนดรอยด์พัฒนาเทคโนโลยี NFC ไปก่อนหน้าแล้ว 

    นักวิเคราะห์ทางด้านไอทีได้ประเมินสาเหตุที่สื่อสังคมออนไลน์ได้หันมาพัฒนาระบบการชำระเงินเสมือนกับการเป็นธนาคารย่อมๆ เนื่องจากสินทรัพย์ที่มีค่าที่สุดของโซเชียลมีเดียก็คือจำนวนผู้ใช้งาน (Account) ที่มีอยู่ในมือนับร้อยล้านรายซึ่งมีมากพอที่จะต่อรองกับพาร์ทเนอร์ในการพัฒนาบริการต่างๆได้ 

    นอกจากนี้ โมเดลความสำเร็จของ App Store และ iTune Store ของแอปเปิล ที่อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานไอโฟนและไอแพดสามารถกดเพียงปุ่มเดียวก็สามารถสั่งซื้อแอพลิเคชั่นได้ ทำให้สื่อสังคมออนไลน์มองเห็นโอกาสที่จะสร้างช่องทางให้ผู้ใช้งานสามารถจ่ยเงินซื้อสินค้าได้ง่ายและเร็วที่สุด

    ในแง่ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ที่ขายสินค้าบนโลกออนไลน์ ควรที่จะจับตากระแสดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเป็นช่องทางที่จะประชาสัมพันธ์และจำหน่ายสินค้าสู้ผู้ใช้งานกว่าร้อยล้านราย ไม่เพียงแต่ในประเทศไทยเท่านั้นแต่รวมถึงทั่วโลก 

    อย่างไรก็ตามความท้าทายของการเปลี่ยนจากโซเชียลมีเดียสู่ความเป็นธนาคารย่อมๆคือการพัฒนาระบบความปลอดภัยในการทำธุรกรรมที่ปัจจุบันตกเป็นเป้าหมายสำคัญของนักแฮกเกอร์ที่จะเจาะข้อมูลเพื่อสร้างความเสียหาย

Create by smethailandclub.com

RECCOMMEND: MARKETING

ขายวันละล้าน แต่กำไรศูนย์ บทเรียนธุรกิจแสนแพง จาก PABLO Cheesetart ในไทย

ในโลกของธุรกิจอาหารและขนมหวาน ยอดขายวันละล้านบาทคือความฝันของผู้ประกอบการ แต่ใครจะเชื่อว่าเบื้องหลังตัวเลขมหาศาลนั้นอาจซ่อนความจริงที่ขมขื่น และนี่คือบทเรียนราคาแพงจาก PABLO Cheesetart ที่ เบียร์ ใบหยกไม่มีวันลืม

ทำคอนเทนต์ท่องเที่ยวให้เป็นธุรกิจเงินล้าน ถอดบทเรียนจาก Go Went Go และ อาสาพาไปหลง

พาคุณเจาะลึกเส้นทางธุรกิจของ Go Went Go และ อาสาพาไปหลง พร้อมถอดบทเรียนที่นำไปใช้ได้จริง และชี้ทางให้คุณเปลี่ยนคอนเทนต์ท่องเที่ยวเป็นธุรกิจที่ยั่งยืน โดยออกแบบให้เหมาะกับกลุ่มคนทำธุรกิจบนเฟซบุ๊ก 

Creator Commerce ตัวเปลี่ยนเกมธุรกิจ 78% ลูกค้าเชื่อรีวิวมากกว่าโฆษณาแบบเดิมๆ

รู้หรือไม่ว่า 78% ของลูกค้าดูรีวิวจากครีเอเตอร์ก่อนซื้อ นั่นแปลว่าครีเอเตอร์นั้นมีพลังมากกว่าโฆษณาแบบเก่า ดังนั้นการตลาดผ่านครีเอเตอร์ หรือ Creator Commerce จึงไม่ใช่แค่กระแส แต่กำลังกลายเป็นกลยุทธ์หลักของธุรกิจทุกขนาดในไทย