กระตุ้นยอดขายอย่างไร!! ในวันที่คนไทยยังรัดเข็มขัดและหวั่นใจกับเศรษฐกิจ





Main Idea
 
สภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวทั้งในและต่างประเทศ ส่งผลให้ในช่วงนี้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจ เริ่มจับจ่ายใช้สอยกันอย่างระมัดระวัง ทั้งประหยัดและซื้อของเฉพาะเท่าที่จำเป็น และนั่นก็ทำให้ฝั่งผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อการดำเนินธุรกิจน้อยลงด้วยเช่นกัน
 
 
มีปัจจัยหลายประการที่ทำให้ผู้ประกอบการโดยเฉพาะภาคการค้าและบริการทำรายได้ลดลง ทั้งเรื่องการตลาด เงินทุน พฤติกรรมผู้บริโภค หรือแม้แต่วิธีการบริหารจัดการธุรกิจ แต่ไม่ว่าอย่างไร ก็มีแนวทางแก้ไขสถานการณ์ให้กลับมาทำยอดขายได้อยู่ดี



 
     ภายใต้สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจชะลอตัว ส่งผลให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจ เริ่มประหยัดและใช้จ่ายเฉพาะที่จำเป็นมากขึ้น ในขณะเดียวกันฝั่งผู้ประกอบการธุรกิจก็มีความเชื่อมั่นต่อการดำเนินธุรกิจน้อยลง


     จากการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคการค้าและบริการ (TSSI) ประจำเดือนสิงหาคม 2562 ได้สำรวจกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการภาคการค้าและบริการของ SME ทั่วประเทศ พบว่า ดัชนี TSSI ประจำเดือนสิงหาคม 2562 อยู่ที่ระดับ 80.6 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนกรกฎาคม 2562 ที่อยู่ที่ระดับ 79.6 ซึ่งยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าฐานที่ 100 สะท้อนถึงผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อการดำเนินธุรกิจดีขึ้นเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลวันแม่ อย่างไรก็ตาม ประชาชนยังคงขาดความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจ และระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้นอยู่ดี




     สำหรับดัชนี TSSI คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นว่าสถานการณ์ทางการค้าและบริการจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายนที่นักท่องเที่ยวเริ่มเดินทางเข้ามายังประเทศไทยมากขึ้น มีการจองที่พักล่วงหน้าสูงขึ้น รวมไปถึงร้านค้า ร้านอาหารคาดว่าจะคึกคักมากขึ้น สถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวมคาดว่าจะดีขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ถึงแม้ผู้ประกอบการบางส่วนจะยังคงกังวลในเสถียรภาพของรัฐบาล ทำให้ไม่กล้าลงทุนเพิ่ม


 
  • ส่องปัจจัยที่ทำให้ยอดขายลด

     ในด้านผลสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการ SME ภาคการค้าและบริการ ถึงสาเหตุหลักที่ทำให้กิจการยอดขายลดลง แยกตามประเภทปัจจัย พบว่า ปัจจัยภายในที่ส่งผลกระทบต่อยอดขายคือ 1. ผู้ประกอบการยังคงใช้การตลาดแบบเดิม 2. มีทุนไม่พอในการรับรับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป 3. ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีมาช่วยขาย 4. ไม่มีการวางแผนงานการขาย และ 5 ขาดการพัฒนาสินค้า


     ทางด้านปัจจัยภายนอก ได้แก่ 1. ภาวะเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน 2. พฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป 3. คู่แข่งเพิ่มมากขึ้น 4. ช่วงนอกเทศกาลต่างๆ และ 5. เป็นธุรกิจที่กำลังจะตกเทรนด์
 
 
     นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาจากความเห็นของผู้ประกอบการในภาคค้าส่งมองว่าความเชื่อมั่นรัฐบาลและสภาพอากาศเป็นอีกสาเหตุ ที่ทำให้ยอดขายลดลง รวมถึงผู้ประกอบการในกรุงเทพและปริมณฑลมองว่าความเชื่อมั่นรัฐบาล ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นและค่าครองชีพที่สูงขึ้นเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ยอดขายลดลง ในขณะที่ผู้ประกอบการในภาคใต้มองว่าสภาพอากาศเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ยอดขายลดลง
 

     เมื่อปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ แล้วจะผู้ประกอบการจะทำอย่างไร? เพื่อแก้ไขปัญหายอดขายลดลง 


 
  •  แนวทางการแก้ไขปัญหายอดขายลดลง จากปัจจัยภายในด้านต่างๆ 

1.  การยังคงใช้การตลาดแบบเดิม แก้ไขปัญหาโดยการขยายช่องทางการขายสินค้า/บริการเพิ่มขึ้น เช่น ตลาดออนไลน์ เพื่อความสะดวกสบาย 
 
2.  การมีทุนไม่เพียงพอในการรับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป แก้ไขปัญหาโดยขอสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำระยะยาว ขอเพิ่มวงเงินในการกู้ เพื่อเสริมสภาพคล่องให้ธุรกิจหมุนเวียนได้ 
 
3.  การไม่ได้ใช้เทคโนโลยีมาช่วยขาย แก้ไขปัญหาโดยการลงทุนนวัตกรรม เทคโนโลยีให้เข้ามาช่วย  


 
  • แนวทางการแก้ไขปัญหายอดขายลดลงจากปัจจัยภายนอก
 
1.  ภาวะเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่ชะลอตัว โดยการที่รัฐบาลออกโครงการกระตุ้นการใช้จ่าย การกระจายรายได้ และส่งเสริมการท่องเที่ยว 
 
2.  พฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยนแปลง แก้ไขปัญหาโดยการปรับเปลี่ยนตามพฤติกรรมการซื้อ การใช้จ่าย และการชำระค่าสินค้าหรือบริการของลูกค้า  
 
3.  คู่แข่งที่เพิ่มมากขึ้น แก้ไขปัญหาโดยการเพิ่มช่องทางการรับลูกค้าให้มากขึ้น ปรับแผนการตลาด ปรับตัวให้ทันคู่แข่ง เพิ่มมาตรฐานของร้าน


 
 
ที่มา : สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว)
 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MARKETING

ถอดวิธีคิดญี่ปุ่น 5 เคล็ดลับออกแบบสินค้าที่ครองใจคนทั่วโลก

เคยสงสัยไหมว่าทำไมสินค้าจากญี่ปุ่นถึงได้รับความนิยมไปทั่วโลก? ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์, แกดเจ็ต, นั่นเพราะสินค้าจากแดนปลาดิบมักจะโดดเด่นด้วยดีไซน์ที่เรียบง่ายแต่ทรงพลัง และฟังก์ชันการใช้งานที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างตรงจุด

เจาะลึกเทรนด์ร้านอาหารและเครื่องดื่มปี 2568 ที่ธุรกิจต้องรู้

 ในปี 2568 ยังคงเป็นสนามแข่งขันที่ดุเดือด ในบทความนี้ เราจะมาเจาะลึกแนวโน้มสำคัญๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในวงการอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนธุรกิจและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

เอาสินค้าเข้า Modern Trade ต้องทำยังไง? เจาะลึกทุกขั้นตอน สู่ความสำเร็จบนชั้นวางสินค้า

การก้าวเข้าสู่โลกของ Modern Trade นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย วันนี้ SME Thailand จะพาคุณไปล้วงเคล็ดลับจากวงในมาเปิดเผยแบบหมดเปลือกกัน