COD กลยุทธ์เด็ดเปิดตลาดอีคอมเมิร์ซ

 



เรื่อง : นเรศ เหล่าพรรณาราย

    
    อุปนิสัยของชาวเอเชียในการเลือกซื้อสินค้าโดยเฉพาะผ่านระบบออนไลน์มักต้องการความมั่นใจก่อนที่จะชำระเงินไม่ว่าจะเป็นการเห็นและสัมผัสสินค้าก่อนรวมถึงการรับรองความปลอดภัยก่อนเป็นเจ้าของสินค้า  เทคโนโลยี COD หรือ Cash On Delivery จึงเกิดขึ้นเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ซื้อสินค้าออนไลน์

    บริการ Cash On Delivery หรือการเรียบกเก็บเงินปลายทางจากการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางเวบไซท์ออนไลน์ โดยผู้ซื้อสินค้าสามารถจ่ายเงินค่าสินค้าที่ได้สั่งซื้อไปแล้วบนเวบไซท์เมื่อได้รับสินค้าที่สั่งแล้ว ซึ่งมีความพิเศษจากการสั่งซื้อสินค้าทางอินเทอร์เนตทั่วไปที่ผู้ซื้อจะเห็นสินค้าเพียงแค่ภาพในเวบไซท์เท่านั้น ทำให้บางครั้งเกิดข้อผิดพลาดอย่างเช่น สี ขนาด หรือไม่ได้สินค้าตามที่ต้องการทั้งที่ได้จ่ายเงินไปแล้ว การที่มีบริการ Cash On Delivery จะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ซื้อสินค้ามากขึ้น โดยเจ้าของเวบไซท์จะต้องมีบริการรับส่งสินค้าถึงบ้านเพื่อที่จะให้บริการ COD มีความสมบูรณ์
 

 
    ในต่างประเทศ  Cash On Delivery ถือเป็นบริการที่ได้รับความนิยมและมีการนำมาใช้บริการมาได้ระยะเวลาหนึ่ง แต่ในประเทศไทยซึ่งมีตลาดอีคอมเมิร์ซมาได้ 15 ปีถือว่าเป็นสิ่งใหม่ โดยมีการสำรวจพบว่าผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย 2 แสนราย มีผู้ที่นำบริการดังกล่าวมาใช้เพียงไม่ถึง 1% โดยผู้ประกอบการรายแรกที่นำบริการดังกล่าวมาใช้คือ บริษัท ราคูเทน ตลาดดดอทคอม ผู้ให้บริการเวบไซท์ตลาดดอทคอม ซึ่งเปิดให้บริการเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยช่วงแรกให้บริการส่งสินค้าเฉพาะในเขตกรุงเทพและปริมณฑล สำหรับผู้ที่สั่งสินค้าก่อน 4 โมงเย็นจะได้รับสินค้าในวันรุ่งขึ้น

    ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้งเว็บไซท์ ราคูเทน ตลาดดอทคอม กล่าวว่าบริการดังกล่าวมีส่วนช่วยให้ยอดขายสินค้าเพิ่มสูงขึ้น โดยเพียงแค่สัปดาห์แรกก็มีสัดส่วนต่อยอดขายรวมถึง 15% แล้ว โดยตั้งเป้าว่าภายในปีแรกจะต้องมีสัดส่วนอยู่ที่ 17%

    ทั้งนี้ มุมมองของผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ที่สุดของประเทศคาดว่า COD จะเป็นแนวโน้มใหม่ของธุรกิจขายสินค้าผ่านระบบออนไลน์ เนื่องจากปัญหาหลักที่ทำให้ธุรกิจดังกล่าวในประเทศไทยรวมถึงเอเชียยังไม่เติบโตเท่ากับประเทศในตะวันตกคือผู้ซื้อส่วนใหญ่ไม่ค่อยมั่นใจกับการซื้อสินค้าโดยไม่เห็นตัวสินค้าจริงๆรวมถึงความไม่มั่นใจในระบบการชำระเงิน ซึ่งทั้งหมดนี้บริการ COD จะช่วยตอบโจทย์ทั้งหมดให้ผู้ซื้อมีความมั่นใจมากขึ้นได้
 


    จากการสำรวจพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ COD พบว่ากว่า 67% เป็นสมาชิกประจำของเวบไซท์และค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการซื้อสินค้าอยู่ที่ 900-1,000 บาท ทั้งนี้เชื่อว่าบริการดังกล่าวจะช่วยเพิ่มยอดขายรวมถึงจำนวนผู้สั่งซื้อสินค้าออนไลน์หน้าใหม่ให้เพิ่มขึ้นเนื่องจากมีความมั่นใจในการชำระเงินมากขึ้น ในมุมของผู้ประกอบการสามารถนำบริการดังกล่าวมาใช้เป็นแคมเปญการตลาดได้อีกด้วย  เป้าหมายสูงสุดต้องการที่จะเพิ่มสัดส่วนการจ่ายเงินผ่าน COD ให้เป็น 40% ของยอดขายทั้งหมด

    แน่นอนว่าบริการดังกล่าวจะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในส่วนของผู้ประกอบการแต่ในระยะยาวจะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าแน่นอนเนื่องจากธุรกรรมการซื้อขายสินค้าผ่านออนไลน์มีการเติบโตขึ้นในวงกว้างทำให้มีผู้ประกอบการหน้าใหม่เกิดขึ้นจำนวนมาก ทำให้บางครั้งเกิดการหลอกหลวงกันในการซื้อขายสินค้า ซึ่ง COD จะเข้ามาแก้ไขปัญหาดังกล่าวและจะเป็นการยกระดับมาตราฐานของวงการอีคอมเมิร์ซไทยอีกด้วย

   
create by smethailandclub.com

RECCOMMEND: MARKETING

ถอดวิธีคิดญี่ปุ่น 5 เคล็ดลับออกแบบสินค้าที่ครองใจคนทั่วโลก

เคยสงสัยไหมว่าทำไมสินค้าจากญี่ปุ่นถึงได้รับความนิยมไปทั่วโลก? ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์, แกดเจ็ต, นั่นเพราะสินค้าจากแดนปลาดิบมักจะโดดเด่นด้วยดีไซน์ที่เรียบง่ายแต่ทรงพลัง และฟังก์ชันการใช้งานที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างตรงจุด

เจาะลึกเทรนด์ร้านอาหารและเครื่องดื่มปี 2568 ที่ธุรกิจต้องรู้

 ในปี 2568 ยังคงเป็นสนามแข่งขันที่ดุเดือด ในบทความนี้ เราจะมาเจาะลึกแนวโน้มสำคัญๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในวงการอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนธุรกิจและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

เอาสินค้าเข้า Modern Trade ต้องทำยังไง? เจาะลึกทุกขั้นตอน สู่ความสำเร็จบนชั้นวางสินค้า

การก้าวเข้าสู่โลกของ Modern Trade นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย วันนี้ SME Thailand จะพาคุณไปล้วงเคล็ดลับจากวงในมาเปิดเผยแบบหมดเปลือกกัน