Multi Channel Marketing กลยุทธ์สู้ศึกค้าปลีกปี 57



 
    ภาพรวมของธุรกิจค้าปลีกปี 2557 อาจดูไม่สดใสมากนัก เพราะต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่งรอบด้านทั้ง “กำลังซื้อที่ชะลอตัวลงของผู้บริโภค” และ “สถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศ” ซึ่งเป็นตัวกำหนดทิศทางการขยายตัวของธุรกิจค้าปลีกในปีม้านี้ จึงนับว่าเป็นปีที่ท้าทายสำหรับผู้ประกอบการค้าปลีกอยู่พอสมควร ที่จะต้องมีการปรับตัวและวางแผนรับมืออย่างรัดกุม เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคออกมาใช้จ่ายและประคองภาพรวมของธุรกิจไว้ 

กลยุทธ์การตลาดแบบ “Multi Channel” รุกเข้าถึงผู้บริโภคในทุกที่ เพิ่มโอกาสสร้างยอดขาย

     จากปัจจัยเสี่ยงที่ผู้ประกอบการต้องเผชิญ การทำกลยุทธ์ทางการตลาดในรูปแบบเดิมผ่านทางจุดขายที่เป็นช่องทางหลัก อย่างลดราคาสินค้า ยืดเวลาผ่อนชำระ 0% ออกแคมเปญ ลด แลก แจก แถม ต่างๆ ดูจะไม่เพียงพอในการประคับประคองยอดขายให้ไปได้ตลอดรอดฝั่งเสียแล้ว

    เช่นนี้แล้วผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องสร้างความหลากหลายในการทำตลาดแบบ Multi-Channel Marketing เพื่อเข้าถึงสินค้าของผู้บริโภคที่ครอบคลุมมากขึ้น ซึ่งมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน


ขยายช่องทางผ่านโลกออนไลน์ (E-Commerce) 
    ในยามที่สถานการณ์ภายในประเทศยังคงไม่เป็นปกติ จนทำลายบรรยากาศจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค และความปลอดภัยในการเดินทาง ประกอบกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางด้านไอที และไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค ที่ใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตกันมากขึ้น

    การซื้อขายสินค้าและบริการออนไลน์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ดังกล่าว หรือที่เรียกว่า         “M-Commerce” น่าจะกลายเป็นช่องทางใหม่ที่มาแรง และเป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยหนุนการเติบโตของการซื้อขายออนไลน์ในระยะต่อจากนี้ไป 

    โดยจะเห็นได้จากการปรับตัวของผู้ประกอบการค้าปลีกรายใหญ่หลายๆ ราย ต่างมีการพึ่งพาการทำการตลาดและการสร้างรายได้ผ่านช่องทางออนไลน์กันมากขึ้น เพื่อให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้ตลอด 24 ชั่วโมง แต่ถึงกระนั้น ผู้ประกอบการควรมีการบริหารจัดการ ทั้งประเด็นคุณภาพของสินค้า การขนส่งและช่องทางการชำระเงินให้มีความถูกต้อง ชัดเจนและปลอดภัย ก็น่าจะทำให้การทำตลาดผ่านช่องทางออนไลน์เป็นช่องทางที่สามารถเพิ่มรายได้ให้กับผู้ประกอบการค้าปลีกได้


การจัดงาน Event ลดราคาสินค้า หรือมอบสิทธิพิเศษให้กับผู้บริโภคนอกสถานที่ 

    เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่น่าจะทำให้ผู้ประกอบการค้าปลีกสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้กว้างขวางขึ้น รวมถึงมีโอกาสในการทำยอดขายได้เพิ่มขึ้น นอกจากการซื้อขายผ่านช่องทางหลัก ซึ่งผู้ประกอบการอาจจะต้องทำ Event โรดโชว์ออกไปตามสถานที่ต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยจะต้องทำการเลือกพื้นที่และเวลาที่เหมาะสมในการทำการตลาด 

    อย่างไรก็ตาม การจัดกิจกรรม Event ต้องคิดกลยุทธ์ที่จูงใจผู้บริโภคให้ออกมาใช้จ่าย ซึ่ง “มหกรรมลดราคาสินค้า” น่าจะเป็นโปรโมชั่นที่สำคัญและช่วยดึงดูดผู้บริโภคในยามที่เผชิญกับปัญหาค่าครองชีพที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น สวนทางกับรายได้หรือกำลังซื้อที่ชะลอตัวลงในปัจจุบัน


 


 

กลยุทธ์ที่ใช้กระตุ้นกลุ่มลูกค้าที่เป็นผู้ประกอบการหรือร้านค้าที่เช่าพื้นที่ภายในร้านค้าปลีก
    ท่ามกลางการแข่งขันของธุรกิจค้าปลีกที่มีความรุนแรง ผู้ประกอบการค้าปลีกจะต้องคัดสรรร้านค้าที่สอดคล้องกับโพสิชันนิ่งและกลุ่มลูกค้าที่วางไว้อย่างระมัดระวังมากขึ้น ตลอดจนต้องบริหารจัดการพื้นที่เช่าเพื่อดึงดูดร้านค้าต่างๆ ให้เข้ามาเช่าพื้นที่ภายในโครงการและต่ออายุสัญญาเช่ากับโครงการอย่างต่อเนื่องในระยะยาว

    ทั้งนี้ ผู้ประกอบการค้าปลีกจะต้องสร้างจุดที่น่าสนใจ และสร้างความเชื่อมั่นให้กับร้านค้าที่จะเข้ามาเปิดภายในโครงการ อาทิ เน้นชูจุดเด่นทางด้านทำเล และสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานภายในโครงการ (พื้นที่จอดรถ ระบบรักษาความปลอดภัย)

    การลดราคาค่าเช่าพื้นที่ในสภาวะที่เศรษฐกิจที่ไม่ค่อยดีนักในปัจจุบัน รวมถึงการจัด Event หรือกิจกรรมส่งเสริมการตลาดให้มีความถี่ขึ้น เพื่อดึงดูดให้ผู้บริโภคเข้ามาใช้บริการร้านค้าที่อยู่ภายในโครงการ

    เพราะท้ายที่สุด หากผู้ประกอบการค้าปลีกไม่สามารถแสดงให้ร้านค้าต่างๆ เห็นถึงโอกาสของความสำเร็จได้ ก็อาจจะไม่มีร้านค้ารายใดส นใจที่จะเข้ามาเช่าพื้นที่และเปิดร้านในโครงการ และก็จะส่งผลให้ร้านค้าอื่นๆ ไม่กล้าที่จะเข้ามาเปิดภายในโครงการดังกล่าวด้วย

ข้อมูล -- ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
Create by smethailandclub.com

RECCOMMEND: MARKETING

ฟังก์ชันแยกบิลจ่ายได้ เทรนด์ใหม่ที่ร้านอาหารต้องรู้ ลูกค้ายุคใหม่อยากจ่ายเท่าที่กินโดยไม่รู้สึกผิด

ไม่ใช่เรื่องต้องรู้สึกผิดอีกต่อไป หากไปกินอาหารกับเพื่อน แล้วอยากแยกรับผิดชอบจ่ายเฉพาะในส่วนที่ตัวเองสั่ง เทรนด์พฤติกรรมใหม่ของผู้บริโภคชาวอเมริกาที่หันมาใช้แอปพลิเคชันแยกจ่ายบิลกันมากขึ้น

ต่อยอดธุรกิจยังไงให้อยู่นานและขายดี กรณีศึกษา ALDI ซูเปอร์มาร์เก็ต ที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ALDI คือ ซูเปอร์มาร์เก็ตสัญญาติเยอรมัน มีต้นกำเนิดมาจาก 2 พี่น้องตระกูล Albrecht คือ “คาร์ล และ ธีโอ อัลเบรชต์” ที่รับช่วงต่อกิจการมาจากแม่ของเขาที่เปิดร้านขายของชำตั้งแต่ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2