จับตาเทรนด์ Content Marketing ปี 2556

 

 
 
 
เรื่อง : สิปปวิชญ์ วรรณสุศรี 
           Contact@thebranddynamic.com
           www.Branddynamic.co.th
 

  หลังจากที่ได้กล่าวถึง Content Marketingในหลายๆ ประเด็นตามที่ได้นำเสนอไปในเล่มก่อนๆ แล้ว เชื่อว่าท่านผู้อ่านเริ่มเห็นแล้วว่า ยิ่งนับวัน Content Marketing จะมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะในยุคที่ผู้บริโภคถือสิทธิขาดในการเลือกบริโภคข้อมูลข่าวสารตามความสนใจได้โดยปลายนิ้วคลิกนั้น การเสริมสร้างเสน่ห์ให้กับแบรนด์ของคุณผ่านเนื้อหาและเรื่องราวที่ดึงดูดใจในการถ่ายทอดจึงมีความจำเป็นอย่างมาก
 
  ตามสถิติที่เปิดเผยโดยสถาบันวิจัยจากต่างประเทศได้เผยให้เห็นว่า นักการตลาดได้ลงทุนกับการทำ Content Marketing ถึงปีละ 25 เปอร์เซ็นต์ของงบการทำการตลาดในปีหนึ่ง และกว่า 88 เปอร์เซ็นต์ของสินค้าต่างๆ ที่มีอยู่ มีการใช้กลยุทธ์ Content Marketing กันแทบทั้งนั้น แต่ไม่ว่าจะมีผู้นิยมใช้วิธีการนี้มากเพียงใดก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้แบรนด์ที่เลือกใช้วิธีการนี้ประสบผลสำเร็จนั่นก็คือ The Power of Story การสื่อสารเรื่องราวของแบรนด์นั้นๆ ให้ได้อย่างมีพลังและอรรถรส 
 
  สำหรับทิศทางของการทำ Content Marketing ที่จะเกิดขึ้นในปี 2556 เราจะได้เห็นรูปแบบการถ่ายทอดเรื่องราวจากแบรนด์ไปสู่ผู้บริโภคที่สั้นกระชับ โดยได้ใจความมากขึ้น More Images Less Words โดยรูปแบบการใช้ภาพเป็นสื่อในการถ่ายทอด จะเป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ การใช้ภาพที่ถ่ายทอดเรื่องราวได้ดี และอธิบายสิ่งต่างๆ ผ่านภาพ อย่าง Infographic จะเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เราจะเห็นมากขึ้นเรื่อยๆ ใน ปี 2556
 
Social Media ที่เน้นการใช้ภาพเป็นหลักอย่าง Instragram หรือ Pinterest จะถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากผู้บริโภคนิยมที่จะเสพภาพ มากกว่าข้อความยาวๆ ดังนั้น จุดที่ต้องคำนึงถึงอย่างมากๆ ในกระแสนี้ คือการทำอย่างไรให้แบรนด์ของคุณยังคงความแตกต่างและโดดเด่นออกจากคู่แข่งได้ ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัด ก็คือแบรนด์ร้านอาหาร แฟชั่นอย่าง Greyhound ที่มีสไตล์ของภาพและองค์ประกอบศิลป์ที่โดดเด่นและสะท้อนถึงเอกลักษณ์ของแบรนด์ได้อย่างชัดเจน ซึ่งในจุดนี้ หลายๆ แบรนด์ควรมีการปรับตัว และเตรียมตัวที่จะสร้าง Visual หรือ Multimedia Content เป็นของตนเองให้เพิ่มมากขึ้น 
 
อีกเทรนด์หนึ่งที่จะมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในยุค Digital Content กำลังเบ่งบานนั้น ก็คือ Content Curation หรือ ปรากฏการณ์ การที่มีผู้นำเอาเนื้อหาดีๆ น่าสนใจต่างๆ ที่ถูกรวบรวมได้อย่างไม่ยากในโลกออนไลน์ มา Repackage และนำเสนอออกไปใหม่สู่สายตามผู้บริโภค หรือเรียกง่ายๆ ว่า การ Reuse Recycle Content ซึ่งในปัจจุบัน หลายๆ เว็บหลายๆ เพจใน Social Media ก็ได้มีการ Reused ข้อมูลต่างๆ ที่ตนเองได้ไปรวบรวมมาจากแหล่งต่างๆ ในโลกออนไลน์ พร้อมกับใส่ทรรศนะของแบรนด์ตนเองเพิ่มเข้าไป เพื่อนำเสนอเป็น Content ให้กับแฟนๆ ของแบรนด์ตนเอง
 
เทรนด์สุดท้ายที่ถือเป็นการก้าวไปอีกระดับของวงการ Content Marketing Online นั่นก็คือ Personalized Content การดึงเอาเครื่องมือในทางโปรแกรมและสถิติเข้ามามีส่วนช่วยในการนำเสนอเนื้อหาที่คัดสรร ให้ตรงกับความสนใจ พฤติกรรมการเข้าชมเว็บ และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ ในอนาคตเราคงจะได้เห็นการนำเสนอเนื้อหาในเว็บ ที่มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น ราวกับว่าเว็บไซต์นั้นๆ ได้ล่วงรู้ใจผู้อ่านผู้ชมเว็บนั้นเป็นอย่างดี และได้เลือกสรรเนื้อหาต่างๆ มานำเสนอ ตามความสนใจที่ผู้ชม ผู้อ่านได้เคยแจ้งไว้ (Member Profile) ดังที่เห็นการพัฒนาต่างๆ ของ Facebook ในด้านระบบ Add to Favorite หรือ LinkedIn.com (ลิงด์อิน) เป็นเว็บไซต์ Social Network ที่เน้นไปในทางของธุรกิจ ที่เราสามารถสร้าง Profile ของเรา หรือสามารถหาเพื่อนร่วมงาน หรือหางาน หรือคู่ค้า ที่ Match ตรงกับความสนใจของเรามากที่สุด ทั้งหมดทั้งมวลนี้คงจะเป็นความเปลี่ยนแปลงที่เราคงได้เห็นในไม่ช้าในปี 2556 นี้ 
 
อ่านมาตรงถึงนี้แล้ว ท่านผู้อ่านคงเข้าใจแล้วว่า นอกจากบทบาทการเป็นนักบริหารจัดการที่ดีของท่านแล้ว อีกบทบาทหนึ่งที่จะมีส่วนช่วยสร้างความสำเร็จให้กับธุรกิจของคุณก็คือ บทบาทการเป็นนักเขียน นักเล่าเรื่อง หากท่านใดที่คิดว่าเองไม่มีพรสวรรค์ในด้านนี้เลย ก็คงไม่สายเกินไปที่จะเริ่มต้นศึกษา เพราะผมเชื่อว่า เรื่องที่คุณต้องการจะเล่า หากคุณเล่าจากประสบการณ์ ความรู้ ความถนัดจริงๆ ของคุณ เรื่องราวนั้นย่อมจะมีประเด็นความน่าสนใจที่จะดึงดูดให้คนหันมาสนใจแบรนด์คุณ ส่วนลีลา ภาพประกอบนั้น ถ้าเป็นอะไรที่เกินความสามารถ คุณยังมีผู้ช่วยอย่างเหล่าผู้ทำงานเบื้องหลังโฆษณา หรือความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ มาเป็นทีมงานได้ด้วยเช่นกัน 
 
 

RECCOMMEND: MARKETING

ฟังก์ชันแยกบิลจ่ายได้ เทรนด์ใหม่ที่ร้านอาหารต้องรู้ ลูกค้ายุคใหม่อยากจ่ายเท่าที่กินโดยไม่รู้สึกผิด

ไม่ใช่เรื่องต้องรู้สึกผิดอีกต่อไป หากไปกินอาหารกับเพื่อน แล้วอยากแยกรับผิดชอบจ่ายเฉพาะในส่วนที่ตัวเองสั่ง เทรนด์พฤติกรรมใหม่ของผู้บริโภคชาวอเมริกาที่หันมาใช้แอปพลิเคชันแยกจ่ายบิลกันมากขึ้น

ต่อยอดธุรกิจยังไงให้อยู่นานและขายดี กรณีศึกษา ALDI ซูเปอร์มาร์เก็ต ที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ALDI คือ ซูเปอร์มาร์เก็ตสัญญาติเยอรมัน มีต้นกำเนิดมาจาก 2 พี่น้องตระกูล Albrecht คือ “คาร์ล และ ธีโอ อัลเบรชต์” ที่รับช่วงต่อกิจการมาจากแม่ของเขาที่เปิดร้านขายของชำตั้งแต่ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2