'IDEA House' กระตุ้นคลังความคิดปิดจุดบอดสร้างเอกลักษณ์สินค้า

 
 
 
กสอ. จับมือกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 พัฒนา SME สร้างมูลค่าเพิ่มจากความคิดสร้างสรรค์และสร้างมูลค่าทางอุตสาหกรรมให้กับภูมิภาค 
 
 
 
                นายกฤษณ์ ธนาวณิช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และแม่ฮ่องสอน มีความโดดเด่นด้านทุนทางวัฒนธรรม อาทิ งานหัตถกรรม เช่น ผ้าทอ จักสาน แกะสลัก และศิลปินพื้นบ้านที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของพื้นถิ่น แต่ปัญหาของกลุ่มจังหวัดฯ คือ มีอัตลักษณ์ของศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยว แต่กลับขาดเอกลักษณ์ของตราสินค้า สินค้าประเภทเดียวกันมีความคล้ายคลึงกันหมด ไม่มีความแตกต่างที่สร้างจุดเด่นให้สินค้าของผู้ประกอบการแต่ละรายได้ ไม่เกิดมูลค่าเพิ่มของสินค้าแต่ละประเภท 
 
 
                ด้วยเหตุนี้ จึงต้องดึงศักยภาพด้านความคิดสร้างสรรค์ของผู้ประกอบการในพื้นที่ที่มีกว่า 1.6 แสนคน ออกมาและพัฒนาต่อยอดเพื่อให้เกิดการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง จึงเป็นที่มาของการร่วมมือกับศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรมและการออกแบบ หรือ “ไอเดีย เฮาส์” (IDEA House) ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาทั้ง SMEs วิสาหกิจชุมชน สถาบันการศึกษา ตลอดจนบุคคลทั่วไปให้ตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบ ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องถึงการท่องเที่ยวซึ่งเป็นรายได้หลักของกลุ่มจังหวัดด้วย ทั้งยังจะเป็นการผลักดันให้กลุ่มจังหวัดเป็นศูนย์กลางการพัฒนาฐานความรู้และปัจจัยพื้นฐานของอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ของภูมิภาค
 
 
   
                นายพรเทพ การศัพท์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า โครงการ “ไอเดีย เฮาส์” (IDEA House) นำร่องในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ซึ่งได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นการพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs วิสาหกิจชุมชน  นักออกแบบ และนักศึกษา ตลอดจนบุคคลทั่วไปได้พัฒนาทั้งได้ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ แฟชั่น กราฟฟิก และการจัดวางสินค้าให้น่าสนใจ และเรียนรู้กระบวนการทำงานร่วมกับนักออกแบบ เพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างมูลค่าเพิ่มจากความคิดสร้างสรรค์และสร้างมูลค่าทางอุตสาหกรรมให้กับภูมิภาค 
 
 
                โครงการดังกล่าวเป็นการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์แบบบูรณาการ แตกต่างจากโครงการอื่นทั่วไปที่พัฒนาในด้านใดด้านหนึ่ง โดยผู้ที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับความรู้ในกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์และสามารถนำภูมิปัญญาและเอกลักษณ์ท้องถิ่นมาปรับใช้กับความรู้ที่ได้รับเพื่อนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมและมูลค่าของสินค้าที่สูงขึ้น กว่า 20-30%   
 
 
                สำหรับผลการดำเนินโครงการ ไอเดีย เฮาส์ จะนำมาจัดแสดงในนิทรรศการแสดงศักยภาพด้านความคิดสร้างสรรค์หรือ ไอเดีย เฟส (IDEA Fest) ผ่านกิจกรรมต่างๆ 4 กิจกรรม ได้แก่

 
 
                1.กิจกรรมพัฒนานักออกแบบเพื่อผู้ประกอบการ (Design Savvy) เป็นกิจกรรมจับคู่ระหว่างนักออกแบบและ SMEs หรือ วิสาหกิจชุมชนจำนวน 100 คู่ เพื่อสร้างโอกาสในการทำงานร่วมกัน โดยมีผลงานนำมาจัดแสดง 100 ผลงาน  และผู้ประกอบการที่ผลงานโดดเด่นจะได้ไปดูงานที่ประเทศสิงคโปร์ในงาน RED DOT DESIGN MUSEAM ณ ประเทศสิงคโปร์ เพื่อสร้างประสบการณ์เรียนรู้กับนักออกแบบระดับโลก และมีโอกาสได้จัดแสดงในงาน Life Plus Style October 2017 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนา เพื่อแสดงศักยภาพด้านออกแบบในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนสู่ผู้ซื้อในระดับนานาชาติ

 
 
                2.กิจกรรมปลุกพลังสร้างสรรค์กระตุ้นคลังความคิด (Creative Think Tank) กิจกรรมในรูปแบบเวิร์คช็อประยะสั้นสำหรับ SMEs หรือ วิสาหกิจชุมชน โดยผลจากการดำเนินกิจกรรมนี้ออกมาในรูปแบบแบบจำลองแนวคิด /  แบบจำลองธุรกิจ /แบบจำลองการพัฒนาสินค้า เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการนำเทคนิควิธีการคิดหรือกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์ ออกแบบ และนวัตกรรม ไปใช้ในการดำเนินกิจการของตน
 
 
 
                3.กิจกรรมสนามประลองความคิดเพื่อสร้างนักคิดรุ่นใหม่ (Creative Amateur Playground : CAP) คัดเลือกนักศึกษาจำนวน 90 คน แบ่งเป็นกลุ่มๆ กลุ่มละ 6 คน จับคู่กับ SMEs หรือ วิสาหกิจชุมชนในพื้นที่เป้าหมาย โดยเป็นการประลองความคิดระหว่างนักศึกษาและวิสาหกิจ 15 ราย สร้างแนวคิดผลิตภัณฑ์ใหม่และแนวคิดในการพัฒนาย่านหัตถกรรมซึ่งก็คือบ่อสร้าง และต้นเปา ย่านหัตถกรรมทำร่มและกระดาษสาชื่อดังของเชียงใหม่ รวมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์ของฝากของที่ระลึกเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ท้องถิ่นนั้น

 
 
                4.กิจกรรมให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้นด้านการออกแบบ (Design Counseling) ดำเนินการให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้นด้านการออกแบบให้แก่ SMEs หรือ วิสาหกิจชุมชนจำนวน 250 คน ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) ด้านการออกแบบแฟชั่น (Fashion Design) ด้านการออกแบบกราฟิก (Graphic Design) และด้านการออกแบบดิสเพลย์ (Display Design) และคัดเลือก 25 กิจการ เพื่อพัฒนาต่อยอดสู่ต้นแบบผลิตภัณฑ์ ต้นแบบบรรจุภัณฑ์ หรือต้นแบบชิ้นงาน โดยผลงานที่พัฒนานั้นสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ไม่น้อยกว่า 20%
 
 
 
                ทังนี้ การดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการออกแบบด้วย 4 โครงการข้างต้น มีผู้ประกอบการ นักออกแบบและนักศึกษาเข้าร่วมโครงการกว่า 800 ราย จาก 140 กิจการ ในระยะเวลาเพียง 2 เดือน แต่สามารถดึงศักยภาพของผู้เข้าร่วมโครงการและสามารถสร้างสรรค์ผลงานออกมาได้อย่างดี ซึ่งในงานนิทรรศการไอเดีย เฟส มีผลงานนำมาจัดแสดงรวมกว่า 150 ชิ้นงาน อาทิ รถบ้านสัตว์เลี้ยงสไตล์คลาสสิค เตาประหยัดพลังงาน โคมไฟเส้นด้ายสไตล์ลอฟต์ แฟชั่นท้องถิ่นสไตล์โมเดิร์น ฯลฯ นอกจากนี้ภายในงานยังมีแฟชั่นโชว์ กิจกรรมให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้นด้านการออกแบบ และจำหน่ายสินค้าจากร้านค้าชื่อดังในท้องถิ่นซึ่งเป็นการทดสอบตลาดหลังจากพัฒนาสินค้าจากการเข้าร่วมโครงการไอเดียเฮาส์
 
 
                สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียด สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 จ.เชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-245361-2 หรือเข้าไปที่ www.dip.go.th



www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี



 

RECCOMMEND: MARKETING

ถอดวิธีคิดญี่ปุ่น 5 เคล็ดลับออกแบบสินค้าที่ครองใจคนทั่วโลก

เคยสงสัยไหมว่าทำไมสินค้าจากญี่ปุ่นถึงได้รับความนิยมไปทั่วโลก? ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์, แกดเจ็ต, นั่นเพราะสินค้าจากแดนปลาดิบมักจะโดดเด่นด้วยดีไซน์ที่เรียบง่ายแต่ทรงพลัง และฟังก์ชันการใช้งานที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างตรงจุด

เจาะลึกเทรนด์ร้านอาหารและเครื่องดื่มปี 2568 ที่ธุรกิจต้องรู้

 ในปี 2568 ยังคงเป็นสนามแข่งขันที่ดุเดือด ในบทความนี้ เราจะมาเจาะลึกแนวโน้มสำคัญๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในวงการอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนธุรกิจและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

เอาสินค้าเข้า Modern Trade ต้องทำยังไง? เจาะลึกทุกขั้นตอน สู่ความสำเร็จบนชั้นวางสินค้า

การก้าวเข้าสู่โลกของ Modern Trade นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย วันนี้ SME Thailand จะพาคุณไปล้วงเคล็ดลับจากวงในมาเปิดเผยแบบหมดเปลือกกัน