'ตลาดออนไลน์' อาวุธ SMEs ฟัดบิ๊กเนม

 
 
 
 
ปัจจัยเวียดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในยุคปัจจุบัน เป็นสิ่งท้าทายในการดำเนินธุรกิจ แต่นั่นยังหมายถึงรวมโอกาสก้อนโตสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ด้วยเช่นกัน  หากสามารถมองเห็นช่องทางและศักยภาพในการตอบสนองต่อแนวโน้มกระแสบริโภคในยุคเทคโนโลยีได้ โดยเฉพาะเรื่องของตลาดออนไลน์ที่จะกลายเป็นเครื่องมือสร้างยอดขายที่สำคัญให้กับ SMEs  และเป็นอาวุธใช้สู้กับบริษัทขนาดใหญ่ได้อย่างสมน้ำสมเนื้อ
 
เหตุผลที่ตลาดออนไลน์จะเป็นอาวุธคู่ใจ SMEs ในการฟาดฟันกับบิ๊กแบรนด์ได้อย่างไม่เสียเปรียบ จุดหนึ่งมาจากวิถีชีวิตและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ปรับเปลี่ยนไป อิทธิพลของเครือข่ายสังคมออนไลน์ (social network) เริ่มเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตมากขึ้น เพราะปฏิเสธได้ยากเหลือเกินว่าทุกวันนี้การเสพข้อมูลต่างๆไม่ว่าเพศใดวัยใด สื่อออนไลน์เป็นทางเลือกที่สะดวก เสียค่าใช้จ่ายน้อย แต่กลับได้รับข้อมูลอย่างครบถ้วน
 
ใครอยากได้อะไร หรือสนใจสินค้าประเภทใด ก็มักใช้อินเตอร์เน็ตเป็นตัวหลักในการค้นหาข้อมูล นอกจากนี้ การก่อตัวกันเป็นกลุ่มก้อนสังคมในโลกอินเตอร์ที่เป็นกลุ่มเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์มือถือ เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า เหล่านี้ล้วนมีการจัดตั้งสังคมให้เกิดขึ้นทั้งสิ้้น ซึ่งสังคมในลักษณะนี้นี่แหละ จะเป็นช่องทางอันทรงประสิทธิภาพที่ SMEs ควรใช้บิกร่องสินค้าของตัวเองให้เป็นที่รู้จัก ยิ่งถ้าคุณภาพดี ราคาสมน้ำสมเนื้อ เชื่อแน่ว่าการแนะนำเมื่อมีคนเข้ามาตั้งคำถามจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
 
 
 
นอกจากสังคมเหล่านี้แล้ว ปัจจุบันเราได้เห็นการใช้ประโยชน์จาก social network ยอดฮิตอย่าง Facebook และ Twitter ในเชิงธุรกิจกันอย่างแพร่หลาย ทั้งในแง่ของการอัพเดทข้อมูลข่าวสาร การโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการ รวมไปถึงการขยายฐานลูกค้าใหม่ๆ และเพิ่มยอดขาย เหล่านี้ล้วนงบ่งชี้ว่าแนวโน้มช่องทางการสื่อสารทางการตลาดกำลังก้าวเข้าสู่ยุคของสื่อ digital media อย่างแท้จริง ซึ่งหาก SMEs หยิบมาใช้อย่างจริงจัง ก็จะช่วยประหยัดงบประมาณและทรัพยากรด้านอื่นๆ ลง และช่วยให้สามารถบริหารจัดการธุรกิจเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย 
 
ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ค่อนข้างชัดเจนคือ ธุรกิจขายเสื้อผ้าออนไลน์ผ่านทาง Facebook ซึ่งเป็นธุรกิจที่กำลังได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการ SMEs จำนวนมากในไทย แม้ว่าปัจจุบันจะเริ่มมีการแข่งขันในธุรกิจประเภทนี้สูงมากขึ้นแล้วก็ตาม แต่เชื่อว่ายังคงมีช่องว่างให้เติบโตได้อีกมากในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเสื้อผ้าแฟชั่นสตรีที่มีราคาไม่สูงมากนัก 
 
เพราะนอกจากช่องทางนี้จะช่วยให้สามารถเข้าถึงผู้บริโภคจำนวนมากโดยไม่จำกัดสถานที่และเวลาแล้ว ผู้ประกอบการยังไม่ต้องมีต้นทุนในการเปิดร้านหรือเช่าร้าน รวมทั้งต้นทุนในการสต็อกสินค้าเพื่อโชว์ที่หน้าร้านอีกด้วย ขณะที่งบโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์ก็ยังนับว่าถูกกว่าการโฆษณาผ่านช่องทางปกติค่อนข้างมาก 
 
 
 
สิ่งหนึ่งที่สะท้อนถึงความนิยมและความสำเร็จของช่องทางขายเสื้อผ้าออนไลน์ของผู้ประกอบการ SMEs คือ จำนวนกด “like” โดยพบว่า SMEs ไทยรายหนึ่งที่ขายเสื้อผ้าผ่านทาง Facebook มียอดกด like จาก fan page สูงถึงกว่า 1 ล้าน like แล้ว เทียบกับเสื้อผ้าแบรนด์เนมชื่อดังอีกรายที่มียอดกด like เพียง 6 พันกว่ารายเท่านั้น! 
 
จำนวน like ที่แตกต่างกันราวฟ้ากับดิน เป็นตัวพิสูจน์ได้อย่างดีว่าในประเทศไทยนั้น สินค้าที่ไม่มีแบรนด์หรือเป็นแบรนด์ของไทยแต่มีดีไซน์ที่สวยงาม กลับทำตลาดได้ง่ายกว่าสินค้าแบรนด์เนม และมียอดการสั่งซื้อที่สม่ำเสมอมากกว่า ซึ่งมองได้ว่าของแบรนด์เนมบางครั้งต้องอาศัยความมั่นใจพอดูทีเดียวในการสั่งซื้อ เพราะราคาค่อนข้างสูง เทียบกับแบรนด์ไทยที่ราคาต่ำกว่ากันมาก ทำให้การตัดสินใจซื้อนั้นง่ายกว่า และหากถูกโกงก็ไม่เสียหายไม่เท่าไรนัก
 
มาถึงตรงนี้แล้วถ้า SMEs คนไหนยังมองว่าการทำตลาดออนไลน์เป็นสิ่งที่ "เอาไว้ก่อน" ก็ได้ ขอฟันธงได้เลยว่า "คิดผิดอย่างแรง"
 

 

RECCOMMEND: MARKETING

ฟังก์ชันแยกบิลจ่ายได้ เทรนด์ใหม่ที่ร้านอาหารต้องรู้ ลูกค้ายุคใหม่อยากจ่ายเท่าที่กินโดยไม่รู้สึกผิด

ไม่ใช่เรื่องต้องรู้สึกผิดอีกต่อไป หากไปกินอาหารกับเพื่อน แล้วอยากแยกรับผิดชอบจ่ายเฉพาะในส่วนที่ตัวเองสั่ง เทรนด์พฤติกรรมใหม่ของผู้บริโภคชาวอเมริกาที่หันมาใช้แอปพลิเคชันแยกจ่ายบิลกันมากขึ้น

ต่อยอดธุรกิจยังไงให้อยู่นานและขายดี กรณีศึกษา ALDI ซูเปอร์มาร์เก็ต ที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ALDI คือ ซูเปอร์มาร์เก็ตสัญญาติเยอรมัน มีต้นกำเนิดมาจาก 2 พี่น้องตระกูล Albrecht คือ “คาร์ล และ ธีโอ อัลเบรชต์” ที่รับช่วงต่อกิจการมาจากแม่ของเขาที่เปิดร้านขายของชำตั้งแต่ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2